ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ดินแดนปาเลสไตน์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ขอวุ้นด่วน!
KengSiri (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 117:
== ประวัติศาสตร์ ==
[[File:1947-UN-Partition-Plan-1949-Armistice-Comparison.svg|thumb|left|upright|alt=Map comparing the borders of the 1947 partition plan and the armistice of 1949.|{{Partition Plan-Armistice Lines comparison map legend}}]]
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ดร.คาอิม ไวช์มันน์ นักเคมีชาวยิวสมาชิกกลุ่ม[[ไซออนนิสต์]] เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวัตถุระเบิด และได้เปลี่ยนสัญชาติจากลัตเวียมาเป็นอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1910 ได้ทำการคิดค้นดินระเบิดประสิทธิภาพสูง ซึ่งสามารถผลิตเองได้โดยใช้วัตถุดิบที่หาได้ง่าย เนื่องจากก่อนหน้านั้นกองทัพอังกฤษใช้ดินระเบิด[[คอร์ไดท์]] ซึ่งอังกฤษผลิตเองได้แต่จำเป็นต้องใช้วัตถุดิบสำคัญคือ [[อาซีโทน]] (Acetone) โดยอาซีโทนนี้จำเป็นต้องสั่งเข้าจากเยอรมันซึ่งเป็นคู่สงคราม เมื่อไม่มีวัตถุดิบ อังกฤษจึงประสบปัญหาใหญ่ในการทำสงคราม จนกระทั่งได้ ดร.คาอิม มาช่วย อังกฤษจึงยังคงสามารถเข้าร่วมรบในสงครามโลกต่อไปได้
 
จากการช่วยเหลือของ ดร.คาอิม (ต่อมาได้ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ กระทรวงทหารเรือของอังกฤษ ในช่วงปี 1916-1919) ทำให้อังกฤษซึ่งมีอิทธิพลเหนือดินแดนตะวันออกกลางในช่วงนั้น ตอบแทนโดยการมอบดินแดนปาเลสไตน์ให้เป็นที่พักพิงถาวรของชาวยิว โดย ลอร์ด อาร์เธอร์ เจมส์ บัลฟอร์ (Lord. Arthur James Balfour) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอังกฤษในขณะนั้น เป็นผู้ลงนามใน "[[สนธิสัญญาบัลฟอร์]]" เมื่อปีค.ศ.1917 ซึ่งถือเป็นการมอบที่แปลกพิศดารและอัปยศที่สุดในประวัติศาสตร์ เพราะผู้มอบไม่ใช่เป็นเจ้าของที่แท้จริง ในขณะที่ผู้รับมอบเองก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะรับ ส่วนเจ้าของที่แท้จริงไม่มีสิทธิ์แม้กระทั่งเรียกร้องโดยวาจา ได้แต่มองด้วยสายตาอันน่าเวทนา
 
ขณะเดียวกันก็เกิดสนธิสัญญาขึ้นซ้อนอีกหนึ่งฉบับที่ลงนามโดย [[เซอร์เฮนรี่ แม็กมาฮอน]] (Sir. Henry McMahon) ข้าหลวงใหญ่ของอังกฤษในอียิปต์ ซึ่งไปตกลงกับชาวอาหรับว่า หากชาวอาหรับช่วยอังกฤษทำสงครามกับเยอรมันแล้ว อังกฤษจะยกดินแดนบางส่วน รวมถึงปาเลสไตน์คืนให้แก่ชาวอาหรับ แต่เมื่อสิ้นสงคราม อังกฤษก็ยังคงยึดครองปาเลสไตน์โดยมิได้มอบให้แก่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด เนื่องด้วยฝ่ายยิวและอาหรับต่างก็อ้างสนธิสัญญาที่ตนเองถือเป็นข้ออ้างในการครอบครองดินแดน
 
ปี ค.ศ. 1923 [[องค์การสันนิบาตชาติ]] มอบหมายให้อังกฤษเป็นผู้ดำเนินการส่งมอบดินแดนปาเลสไตน์ให้แก่ชาวยิว แต่อังกฤษก็ยังคงครอบครองดินแดนไว้เพื่อใช้ต่อรองกับกลุ่มชาติอาหรับ ในการทำสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งแน่นอนว่าภายหลังสงคราม ดินแดนเจ้าปัญหานี้ก็ยังไม่ได้ถูกส่งมอบให้แก่ฝ่ายไหนอยู่ดี อีกทั้งปัญหาการอพยพเข้ามาของชาวยิวจำนวนมากก็ยังทวีความวุ่นวายเข้าไปทุกขณะ โดยมีกลุ่มชาติอาหรับแสดงท่าทีไม่พอใจอย่างเห็นได้ชัด
 
ปี ค.ศ. 1947 [[สมัชชาสหประชาชาติ]] ลงมติแบ่งดินแดนปาเลสไตน์ให้กับชาวยิว โดยแบ่งเอาดินแดนบางส่วนของซีเรียและอียิปต์ไปด้วย โดยมติดังกล่าวไม่ได้ขอความเห็นชอบจากชาวปาเลสไตน์เลยแม้แต่น้อย โดยการแบ่งดินแดนในครั้งนั้น ทำให้ปาเลสไตน์ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งเป็นที่อาศัยของชาวยิว และอีกส่วนหนึ่งเป็นที่อาศัยของชาวมุสลิมอาหรับ
 
ปี ค.ศ. 1948 มีการจัดตั้งรัฐยิวขึ้นอย่างเป็นทางการบนแผ่นดินปาเลสไตน์โดยมี [[เดวิด เบนกูเรียน]] (David Bengurion) เป็นผู้นำคนแรก โดยตั้งชื่อว่า รัฐอิสราเอล นับแต่นั้นมา อิสราเอลก็เริ่มปรากฏในแผนที่โลกในฐานะประเทศ ทั้งที่ก่อนหน้านี้พวกเขาไม่มีแผ่นดินครอบครองเลย
 
รัฐอิสราเอลถูกสร้างขึ้น เพื่อเป็นยามเฝ้าน้ำมันในตะวันออกกลางของอังกฤษ ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา อิสราเอลมีหน้าที่หลักในการเป็นพันธมิตรของตะวันตกเพื่อสกัดกั้นและไล่กัดกระแสชาตินิยมอาหรับที่ต้องการควบคุมน้ำมันเพื่อประโยชน์ของคนในพื้นที่ แทนประโยชน์ของบริษัทข้ามชาติตะวันตก
บรรทัด 139:
การประชุดสุดยอดสันนิบาตอาหรับปี 1974 กำหนดให้องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์เป็น "ผู้แทนชาวปาเลสไตน์โดยชอบด้วยกฎหมายแต่ผู้เดียว" และยืนยันอีกครั้งถึง "สิทธิของพวกเขาในการสถาปนารัฐที่มีเอกราชอย่างเร่งด่วน"<ref name="al -Madfai">{{cite book | author = al Madfai, Madiha Rashid | year = 1993 | title = Jordan, the United States and the Middle East Peace Process, 1974–1991 | series = Cambridge Middle East Library | volume = 28 | location = Cambridge | publisher = [[Cambridge University Press]] | isbn = 978-0-521-41523-1 | page = 21}}</ref> องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ได้รับสถานะผู้สังเกตการณ์ในสหประชาชาติเป็น "องค์การมิใช่รัฐ" (non-state entity) ตั้งแต่วันที่ 22 พฤศจิกายน 1974<ref>{{cite web | author = [[United Nations General Assembly|UN General Assembly]] | url=http://www.thejerusalemfund.org/www.thejerusalemfund.org/carryover/documents/resolution3237.html |title= UN General Assembly Resolution 3237 |publisher= [[United Nations General Assembly|UN General Assembly]] (via [[The Jerusalem Fund]]) |date= 22 November 1974 |accessdate=2011-09-29}}</ref><ref name=Geldenhuysp155>{{cite book|title=Isolated States: A Comparative Analysis| series = Cambridge Studies in International Relations | volume = 15 | page=155| author = Geldenhuys, Deon | location = Cambridge | publisher= [[Cambridge University Press]] |year=1990|isbn= 978-0-521-40268-2}}</ref> ซึ่งให้สิทธิพูดในสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้ แต่ไม่มีสิทธิออกเสียง หลังคำประกาศอิสรภาพ สมัชชาใหญ่สหประชาชาติ "รับรอง" คำประกาศดังกล่าวอย่างเป็นทางการ และออกเสียงให้ใช้ชื่อ "ปาเลสไตน์" แทน "องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์" เมื่อเอ่ยถึงผู้สังเกตการณ์ถาวรปาเลสไตน์<ref name="Unispal.un.org">{{cite web|url=http://unispal.un.org/UNISPAL.NSF/0/146E6838D505833F852560D600471E25 | author = [[United Nations General Assembly|UN General Assembly]] | title=United Nations General Assembly Resolution 43/177 |publisher= [[United Nations Information System on the Question of Palestine|UN Information System on the Question of Palestine]] |date= 9 December 1988 |accessdate=2011-09-29}}</ref><ref name=Hillierp205>Hillier, 1998, [http://books.google.ca/books?id=ukWq9mMUeesC&pg=PA205&dq=%22state+of+palestine%22+%22recognition%22&lr=&cd=1#v=onepage&q=%22state%20of%20palestine%22%20%22recognition%22&f=false p. 205] (via [[Google Books]]).</ref> แม้จะมีคำวินิจฉัยนี้ องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ก็มิได้เข้าร่วมสหประชาชาติในขีดความสามารถที่เป็นรัฐบาลของรัฐปาเลสไตน์<ref>[http://www.undemocracy.com/generalassembly_55/meeting_54 General Assembly Session 55 meeting 54]: "Moreover, we are confident that in the near future we will truly be able to join the international community, represented in [[United Nations Organization|the Organization]] as Palestine, the State ..."</ref> วันที่ 29 พฤศจิกายน 2012 สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติผ่าน[[ข้อมติสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่ 67/19|ข้อมติที่ 67/19]] ยกระดับปาเลสไตน์จาก "องค์การผู้สังเกตการณ์" (observer entity) เป็น "รัฐผู้สังเกตการณ์ที่มิใช่สมาชิก" ในระบบสหประชาชาติ ซึ่งถือเป็นการรับรองอธิปไตยขององค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์โดยปริยาย<ref>{{cite news|url=http://www.reuters.com/article/2012/11/29/us-palestinians-statehood-idUSBRE8AR0EG20121129|title=Palestinians win implicit U.N. recognition of sovereign state|date=29 November 2012|publisher=Reuters|accessdate=29 November 2012}}</ref><ref>{{cite news| url= http://www.3news.co.nz/LIVE-STREAM-Palestine-asks-United-Nations-for-a-birth-certificate-ahead-of-vote/tabid/417/articleID/278702/Default.aspx|work=3 News NZ | title= UN makes Palestine nonmember state| date=November 30, 2012}}</ref><ref name="saeb">{{cite news |title=General Assembly grants Palestine non-member observer State status at UN |url=http://www.un.org/apps/news/story.asp?NewsID=43640&Cr=palestin&Cr1=#.ULx5U4agTeo |publisher=United Nations News Centre |date=29 November 2012 |accessdate=2012-12-03 }}</ref>
 
ในข้อตกลง[[กรุงออสโล]]ปี 1993 อิสราเอลรับรองคณะผู้เจรจาขององค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ว่า "เป็นผู้แทนของชาวปาเลสไตน์" ตอบแทนการที่องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์รับรองสิทธิของอิสราเอลที่จะดำรงอยู่อย่างสันติ กรยอมรับข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 242 และ 338 และปฏิเสธ "ความรุนแรงและการก่อการร้าย"<ref>Murphy, Kim (10 September 1993). "[http://articles.latimes.com/1993-09-10/news/mn-33546_1_mutual-recognition "Israel and PLO, in Historic Bid for Peace, Agree to Mutual Recognition&nbsp;- Mideast&nbsp;- After Decades of Conflict, Accord Underscores Both Sides' Readiness To Coexist&nbsp;- Arafat Reaffirms the Renunciation of Violence in Strong Terms"]. ''[[Los Angeles Times]]''. Retrieved 2011-9-27.</ref> ผลคือ ในปี 1994 องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์สถาปนาการปกครองดินแดน ซึ่งบริหารหน้าที่รัฐบาลบ้างในบางส่วนของ[[เวสต์แบงก์]]และ[[ฉนวนกาซา]]<ref name="UN_ARES52250">{{UN document |docid=A-RES-52-250 |type=Resolution |body=General Assembly |session=52 |resolution_number=250 |accessdate=2010-09-21}}</ref><ref name="icj_wall_palestine_written">pp. 44-49 of the [http://www.icj-cij.org/docket/files/131/1555.pdf written statement submitted by Palestine] ([[Portable Document Format|PDF]] format; requires [[Adobe Acrobat|Adobe Reader]]), 29 January 2004, in the [[International Court of Justice]] [http://www.icj-cij.org/docket/index.php?p1=3&p2=2 Advisory Proceedings] on the [http://www.icj-cij.org/docket/index.php?p1=3&p2=4&code=mwp&case=131&k=5a Legal Consequences of the Construction of a Wall in the Occupied Palestinian Territory], [http://www.icj-cij.org/docket/files/131/1497.pdf referred to the court] ([[Portable Document Format|PDF]] format; requires [[Adobe Acrobat|Adobe Reader]]) by U.N. General Assembly resolution A/RES/ES-10/14 (A/ES-10/L.16) adopted on 8 December 2003 at the 23rd Meeting of the Resumed Tenth Emergency Special Session.</ref>
 
ในปี 2007 การยึดฉนวนกาซาโดย[[ฮามาส]] แบ่งชาวปาเลสไตน์ทั้งทางการเมืองและดินแดน โดย[[ฟาตาห์]]ของ[[มาห์มูด อับบาส]]ยังปกครองเวสต์แบงก์ส่วนใหญ่และนานาประเทศรับรองว่าเป็น[[องค์การบริหารปาเลสไตน์]]<ref name=alarabiya0701>{{cite web|author= |url=http://english.alarabiya.net/articles/2012/01/07/186930.html |title=Hamas leader’s Tunisia visit angers Palestinian officials |publisher=English.alarabiya.net |date=2012-01-07 |accessdate=2012-09-01}}</ref> ขณะที่ฮามาสรักษาการควบคุมฉนวนกาซาไว้ ในเดือนเมษายน 2011 พรรคการเมืองปาเลสไตน์ลงนามความตกลงปรองดอง แต่การนำไปปฏิบัติหยุดไปนับแต่นั้น