ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2495"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2495''' นับเป็น '''การเลือกตั้งทั่วไปเป็นครั้งที่ 8 ของประเทศไทย''' การเลือกตั้งครั้งนี้ มีขึ้นในวันที่ [[26 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2495]] สืบเนื่องจากการที่ [[จอมพล ป. พิบูลสงคราม]] [[นายกรัฐมนตรีไทย|นายกรัฐมนตรี]] ได้กระทำ[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2494|การรัฐประหารตัวเอง]]ในวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494]] โดยอ้างเหตุว่า [[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492|รัฐธรรมนูญฉบับปีรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2492]] ที่ใช้อยู่ขณะนั้นไม่สะดวกแก่การบริหารประเทศชาติ และไปใช้[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475|รัฐธรรมนูญฉบับ ปีรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2475]] อันเป็น[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย]]ฉบับแรกแทน โดยได้แก้ไขเพิ่มเติม ในปี พ.ศ. 2495 ส่งผลให้ฝ่ายนิติบัญญัติกลับมามีระบบสภาเดียว ประกอบด้วยสมาชิกสภา 2 ประเภท โดยคณะรัฐประหารได้แต่งตั้งบุคคลในคณะรัฐประหารและข้าราชการทหาร พลเรือน เป็นสมาชิกสภาประเภทที่ 2 ทำหน้าที่เป็น[[ส.ส.|ผู้แทนราษฎร]] (ส.ส.) ในสภาผู้แทนราษฎรร่วมกับสมาชิกสภาประเภทที่ 1 ซึ่งมีที่มาจากการเลือกตั้ง
 
ผลการเลือกตั้งทำให้ได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 123 คน โดยมีผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งสิ้น 7,602,591 คน มีผู้มาใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งจำนวน 2,961,291 คน คิดเป็น[[ร้อยละ]] 38.36 จังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งมากที่สุดคือ [[จังหวัดสระบุรี]] คิดเป็นร้อยละ 77.78 และจังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งน้อยที่สุดคือ [[จังหวัดพระนคร]] คิดเป็นร้อยละ 23.03 <ref>[[สุจิต บุญบงการ]], ''การพัฒนาการเมืองของไทย: ปฏิสัมพันธ์ระหว่างทหาร สถาบันทางการเมือง และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน'', กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, [[พ.ศ. 2531|2531]]</ref>
 
แต่ก่อนการเลือกตั้งครั้งนี้ไม่นาน พรรคฝ่ายค้าน คือ [[พรรคประชาธิปัตย์]] ได้มีมติ[[คว่ำบาตร]]การเลือกตั้งครั้งนี้และไม่ร่วมสังฆกรรมกิจกรรมทางการเมืองใด ๆ กับทางรัฐบาลมาตั้งแต่ตอนรัฐประหาร สมาชิกพรรคคนสำคัญ ๆ ได้แก่ นาย[[ควง อภัยวงศ์]] หัวหน้าพรรค และ[[หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช]] รองหัวหน้าพรรค ไม่ร่วมลงรับสมัครเลือกตั้ง โดยเฉพาะ ม.ร.ว.หม่อมราชวงศ์เสนีย์ นั้นถึงกับยุติบทบาททางการเมืองไปเลย จนกระทั่งถึงในปี [[พ.ศ. 2511]] ถึงได้หวนคืนกลับมารับตำแหน่งหัวหน้าพรรค หลังถึงแก่อสัญกรรมของนายควง หัวหน้าพรรคคนแรก แต่ว่าเสียชีวิต แต่ก็ได้มีสมาชิกพรรคหลายคนได้ลงรับสมัครเลือกตั้งในครั้งนี้ เพียงแต่มิได้ลงรับสมัครในนามของพรรค ซึ่งก็สมาชิกพรรคที่ได้รับเลือกตั้งมาด้วย ได้แก่ นาย[[ไถง สุวรรณทัต]] [[จังหวัดธนบุรี]], นาย[[เทียม ไชยนันท์]] [[จังหวัดตาก]], นาย[[ถัด พรหมมาณพ]] [[จังหวัดพัทลุง]], นาย[[บุญเท่ง ทองสวัสดิ์]] [[จังหวัดลำปาง]], นาย[[คล้าย ละอองมณี]] [[จังหวัดสงขลา]] และ พันตำรวจตรี [[หลวงเจริญตำรวจการ]] [[จังหวัดอุทัยธานี]] <ref>หน้า 197, ''นายควง อภัยวงศ์ กับ พรรคประชาธิปัตย์'' โดย ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม ([[พ.ศ. 2522]])</ref> <ref>หน้า 109, ''มาร์ค เขาชื่อ...อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ'' โดย สำนักพิมพ์วิถีไทย ([[พ.ศ. 2548]]) ISBN 974-93358-1-3</ref>
 
== ดูเพิ่ม ==