ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กรมขุนสุนทรภูเบศร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 22:
กรมขุนสุนทรภูเบศร์ แต่เดิมเป็นเศรษฐีเมืองบางปลาสร้อย มีพระนามเดิมว่า "เรือง" หรือ "จีนเรือง" ที่เป็นผู้มีอุปการะแด่[[สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี]] เมื่อเสด็จยกทัพไปตี[[จังหวัดจันทบุรี|เมืองจันทบูร]] จีนเรืองมีความสนิทชิดเชื้อกับ[[สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท]]มาก ถึงขั้นร่วมสาบานเป็นภราดรภาพคือเป็นพี่น้องร่วมสาบานกัน<ref>{{cite web |url=http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=3025|title=พระเจ้าวรวงศ์เธอ (ตอนที่ ๓)|author=|date=26 พฤษภาคม พ.ศ. 2552|work= |publisher=ราชกิจจานุเบกษา|accessdate=16 พฤษภาคม 2557}}</ref>
 
ครั้นเมื่อ[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก]]ทรงปราบดาภิเษปราบดาภิเษก จึงโปรดเกล้าฯ สถาปนา "จีนเรือง" ขึ้นเป็นเจ้านายเป็น "หม่อมเรือง" ต่อมาได้สถาปนาเป็นเจ้าราชินิกุลด้วยความชอบด้านสงครามว่า "เจ้าบำเรอภูธร" (บ้างว่า หม่อมเจ้าบำเรอภูธร)<ref name= "ราชสกุลวงศ์"/>, "กรมหมื่นสุนทรภูเบศร์"<ref name= "ราชสกุลวงศ์"/> และจนท้ายที่สุดได้สถาปนาที่พระยศเป็น "กรมขุนสุนทรภูเบศร์"<ref name="จีนเรือง">[[จุลลดา ภักดีภูมินทร์]]. "จีนกุน จีนเรือง จีนมั่วเส็ง," ''เวียงวัง''. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : อักษรโสภณ, 2551. หน้า 38-43.</ref> ตามลำดับ ดังพระราชประสงค์ของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท<ref name= "ราชสกุลวงศ์"/> ภายหลังพระราชทานให้ทรงสร้างวังอยู่ปากคลอง[[วัดชนะสงคราม]] (หรือปากคลองโรงไหม) ตรงข้ามวังหน้า
 
กรมขุนสุนทรภูเบศร์ สิ้นพระชนม์เมื่อใดไม่ปรากฏทราบแต่เพียงว่าน่าจะสิ้นพระชนม์หลังปี พ.ศ. 2348 เพราะมีหลักฐานว่าในปีนั้นพระองค์ยังมีชีวิตอยู่<ref>''ประกาศเรื่องบำเพ็ญพระราชกุศลเทศน์มหาชาติในรัชชกาลที่ 1''. พระนคร:ราชบัณฑิตยสภา. 2474, หน้า 3</ref> หลังการสิ้นพระชนม์ วังปากคลองโรงไหมได้ตกเป็นของเจ้าฟ้าอิศราพงศ์ ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] รัชกาลที่ 3