ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชนกรรมาชีพ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 5:
 
ในทฤษฎีลัทธิมากซ์ ขอบเขตระหว่างชนกรรมาชีพกับ[[ชนชั้นนายทุนน้อย]] (petite bourgeoisie) บางส่วน ซึ่งอาศัยการจ้างตนเอง (self-employment) ณ รายได้ซึ่งเท่ากับหรือน้อยกว่าค่าจ้างปกติเป็นหลักแต่ไม่ใช่ทั้งหมด กับ[[Lumpenproletariat|ลุมเพนโพรเลทารีอัท]] (Lumpenproletariat) ซึ่งไม่อยู่ในการจ้างงานตามกฎหมาย ไม่จำเป็นต้องนิยามชัดเจน ขณะที่มักเป็นการยากที่จะตัดสินว่าปัจเจกบุคคลอยู่ในชนชั้นใด จากจุดยืนของสังคมทั้งหมด การแบ่งชนชั้นนั้นไม่อาจแย้งได้ หลักฐานยืนยันว่ามีการแบ่งชนั้ชนที่ง่ายที่สุด คือ [[การต่อสู้ระหว่างชนชั้น]] เช่น [[การนัดหยุดงาน]] แม้ลูกจ้างคนหนึ่งอาจไม่แน่ใจว่าตัวอยู่ในชนชั้นใดในความรู้สึกแห่งตน แต่เมื่อเพื่อนร่วมงานของเขานัดหยุดงาน ในทางวัตถุพิสัย (objectively) เขาถูกบังคับให้ปฏิบัติตามชนชั้นหนึ่ง (คือ เพื่อนร่วมงานของเขา หรือชนกรรมาชีพ) มากกว่าอีกชนชั้นหนึ่ง (คือ ชนชั้นกระฎุมพี) มากซ์กำหนดข้อแตกต่างชัดเจนระหว่างชนกรรมาชีพซึ่งเป็นคนงานได้เงินเดือน ซึ่งเขามองว่าเป็นชนชั้นก้าวหน้า กับลุมเพนโพรเลทารีอัท "ชนกรรมาชีพผ้าขี้ริ้ว" (rag-proletariat) คือ ผู้ยากจนที่สุดในสังคมและผู้ที่สังคมไม่ยอมรับ (outcast) เช่น ขอทาน นักหลอกลวง ผู้ให้ความบันเทิง (entertainer) ผู้แสดงขอเงิน (busker) อาชญากรและโสเภณี ซึ่งเขามองว่าเป็นชนชั้นเสื่อม (retrograde) พรรคการเมืองสังคมนิยมมักมีความยุ่งยากต่อคำถามว่าพวกเขาควรแสวงการจัดระเบียบและเป็นตัวแทนของชนชั้นล่างทั้งหมด หรือเฉพาะชนกรรมาชีพลูกจ้าง
 
ตามลัทธิมากซ์ [[ทุนนิยม]]เป็นระบบซึ่งตั้งอยู่บนการแสวงหาประโยชน์จากชนกรรมาชีพโดยชนชั้นกระฎุมพี การแสวงหาประโยชน์ดังกล่าวเกิดขึ้นดังนี้: คนงาน ซึ่งไม่เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต ต้องใช้ปัจจัยการผลิตซึ่งเป็นทรัพย์สินของผู้อื่นเพื่อผลิต ผลคือ เพื่อหารายได้ประทังชีพ แทนที่จะจ้างปัจจัยการผลิตเหล่านั้น เขากลับถูกนายทุนจ้างและทำงานผลิตสินค้าหรือบริการให้ สินค้าและบริการเหล่านี้กลายเป็นทรัพย์สินของนายทุน ซึ่งไปขายที่ตลาด
 
[[หมวดหมู่:ชนชั้นทางสังคม]]