ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สงครามรัสเซีย–ญี่ปุ่น"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 85:
=== การรบที่แม่น้ำยาลู ===
[[ไฟล์:Battle_of_Yalu_River_1904.jpg|220px|left|thumb|ภาพวาดสมรภูมิแม่น้ำยาลู วาดโดยวะตะนะเบะ โนะบุกะซุ ในปี ค.ศ. 1904]]
{{บทความหลัก|สมรภูมิแม่น้ำยาลู ค.ศ. 1904}}
วันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1904 สมรภูมิแม่น้ำยาลูกลายเป็นการรบภาคพื้นดินครั้งแรกของสงคราม กองพลที่หนึ่งแห่งจักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งเคลื่อนพลจากเกาหลีได้ข้าม[[แม่น้ำยาลู]]เพื่อมุ่งหน้าเข้าสู้แมนจูเรียได้บุกโจมตีที่ตั้งของรัสเซีย โดยการวางแผนอย่างดีโดยพลเอกคุโระกิ รัสเซียซึ่งพ่ายแพ้ทางกลยุทธ์ของญี่ปุ่นและมีกำลังทางทหารที่น้อยกว่าจึงได้รับคำสั่งให้ถอยทัพ จากความพ่ายแพ้ของกองกำลังเฉพาะกิจรัสเซียตะวันออก ได้ทำให้รัสเซียล้มเลิกความคิดที่ว่า การทำสงครามกับญี่ปุ่นนั้นเป็นเรื่องง่ายและรัสเซียจะได้รับชัยชนะในเวลาอันสั้น<ref>Connaughton, p.65</ref> ทหารญี่ปุ่นได้รุดหน้าต่อไปยังอีกหลายจุดบนชายฝั่งดินแดนแมนจูเรีย และขับไล่รัสเซียให้ถอยร่นกลับไปพอร์ตอาเธอร์ ซึ่งเมื่อกองทัพญี่ปุ่นตามไปถึงพอร์ตอาเธอร์ในวันที่ 25 พฤษภาคมแล้ว ก็เกิดการรบขึ้นที่เรียกว่า [[การรบที่หนานชาง]] ซึ่งกองทัพญี่ปุ่นได้รับชัยชนะ แต่ก็ต้องสูญเสียกำลังพลไปจำนวนมากจากความพยายามในการรักษาฐานที่มั่นของรัสเซีย
 
เส้น 146 ⟶ 145:
เมื่อการรบสิ้นสุดลง มีเรือรัสเซียเพียง 3 ลำเท่านั้นที่หนีรอดไปถึงวลาดิวอสต็อก ส่วนที่เหลือถูกญี่ปุ่นจมและยึด กำลังพลรัสเซียเสียชีวิตกว่า 5,000 นาย และถูกจับเป็นเชลยกว่า 6,000 นายส่วนกำลังพลญี่ปุ่นเสียชีวิต 117 นาย ข่าวที่กองเรือบอลติกพ่ายแพ้หมดสภาพในเวลาแค่วันเดียว สร้างความตกตะลึงไปทั่วทั้งรัสเซียและยุโรป รัสเซียซึ่งขนะนี้ไม่เหลือศักยภาพที่จะสู้รบกับญี่ปุ่นได้อีก จึงยอมจำนน และนำไปสู่การลงนาม[[สนธิสัญญาพอร์ตสมัท]] เป็นอันสิ้นสุดสงคราม กองทัพเรือรัสเซียได้ถูกตำหนิอย่างรุนแรงและเกิดความไม่พอใจรัฐบาลขึ้นในหมู่ประชาชน เป็นจุดเริ่มต้นของความตกต่ำของ[[ราชวงศ์โรมานอฟ]] กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นได้ประจักษ์แสนยานุภาพต่อนานาชาติ และขึ้นมาแทนที่อันดับของกองทัพเรือจักรวรรดิรัสเซีย
 
== ภายหลังสงคราม ==
=== สนธิสัญญาพอร์ตสมัท ===
{{บทความหลัก|สนธิสัญญาพอร์ตสมัท}}
แม้ว่าทางพฤตินัย การรบจะสิ้นสุดลงตั้งแต่รัสเซียพ่ายแพ้ในยุทธนาวีช่องแคบชิสึมะ แต่ในทางนิตินัยถือว่าสงครามได้ยุติลง เมื่อทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพ (สนธิสัญญาสงบศึก) รัสเซียภายหลังแสงครามอย่างสิ้นเชิง ก็เผชิญกับกระแสการ[[ปฏิวัติ]] ปนะชาชนขยาดต่อสงคราม แท้จริงแล้ว ภายหลังยุทธนาวีช่องแคบชิสึมะ ทางรัฐบาลพระเจ้าซาร์จะส่งทหารเข้าไปรบต่ออีกก็ย่อมได้ แต่ด้วยสภาพเศรษฐกิจ, สถานะการคลังของรัฐบาล ตลอดจนความพ่ายแพ้ในศึกครั้งผ่านๆมาทั้งทางบกและทางทะเลต่อญี่ปุ่นได้สร้างความอับอายเกินกว่าที่จะรับได้อีก เช่นนั้นแล้ว จักรพรรดิซาร์นีโคลัสที่ 2 จึงทรงเลือกที่จะเจรจาสันติภาพกับญี่ปุ่น (ยอมจำนน) เพื่อที่รัฐบาลกลางจะได้มีสมาธิในการจัดการความยุ่งยากและความปั่นป่วนภายในประเทศที่เริ่มปะทุขึ้น
 
ประธานาธิบดี[[ธีโอดอร์ โรสเวลต์]] แห่งสหรัฐอเมริกา ได้เสนอให้สหรัฐอเมริกาเป็นคนกลางในการจัดเจรจาสันติภาพนี้ขึ้น ซึ่งทำให้เขาได้รับ[[รางวัลโนเบล]]สาขาสันติภาพในเวลาต่อมา ฝ่ายรัสเซียได้ส่ง เซรกี วิตเต เป็นหัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายรัสเซีย ในขณะที่ฝ่ายญี่ปุ่นมี โคะมุระ จุตะโร ที่จบการศึกษาจาก[[มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด]] เป็นหัวหน้าคณะฝ่ายญี่ปุ่น และได้ลงนามในสันธิสัญญาสันติภาพ ในวันที่ 5 กันยายน 1905 ณ อู่ทัพเรือพอร์ตสมัท ในตำบลพอร์ทสมัท ของ[[รัฐนิวแฮมป์เชียร์]] ทำให้สนธิสัญญานี้ถูกรู้จักกันในชื่อ "สนธิสัญญาพอร์ตสมัท" ในการนี้รัสเซียให้การยอมรับว่าเกาหลีเป็นเขตใต้อิทธิพลของญี่ปุ่น และรัสเซียตกลงที่จะย้ายออกจากเกาหลีไปแมนจูเรีย นอกจากนี้ ภายหลังลงนาม ประธานาธิบดี[[ธีโอดอร์ โรสเวลต์]] ยังสนับสนุนให้รัสเซีย ปฏิเสธการจ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่ญี่ปุ่น
 
รัสเซียยังยุติสัญญาสิทธิ25ปีในการเช่าพอร์ตสมัท ตลาดจนน่านน้ำและคาบสมุทรในบริเวณนั้น และมอบครึ่งหนึ่งส่วนใต้ของ[[เกาะซาฮาลิน]]แก่ญี่ปุ่น ซึ่งต่อมา ญี่ปุ่นได้เสียดินแดนส่วนนี้แก่[[สหภาพโซเวียต]]ภายหลังพ่ายแพ้[[สงครามโลกครั้งที่สอง]]
== อ้างอิง ==
{{คอมมอนส์-หมวดหมู่|Russo-Japanese War|สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น}}