ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระที่นั่งไกรสรสีหราช (พระที่นั่งเย็น)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Rotlink (คุย | ส่วนร่วม)
fixing dead links
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:King Narai Eclipse April 1688.JPG|thumb|สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ขณะทอดพระเนตรปรากฏการณ์จันทรุปราคา ณ พระตำหนักชุบศร]]
 
'''พระที่นั่งไกรสรสีหราช''' หรือ '''พระที่นั่งเย็น''' หรือ '''พระตำหนักทะเลชุบศร'''<ref>[http://web.archive.org/20100827031246/www.archae.go.th/index.asp สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม]</ref><ref>[http://archive.is/20121204180442/www.gis.finearts.go.th/gisweb/viewer.asp ระบบภูมิสารสนเทศ โครงการสำรวจแหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรม กรมศิลปากร]</ref> เป็น[[พระที่นั่ง]]ที่ประทับอีกแห่งหนึ่งของ[[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]] ณ เมือง[[ลพบุรี]] สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงสร้างเพื่อทรงสำราญพระราชอิริยาบถ โดยสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นก่อน [[พ.ศ. 2228]] นับเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์[[ดาราศาสตร์]]ของประเทศไทย เนื่องจากสมเด็จพระนารายณ์มหาราชใช้เป็นสถานที่ศึกษา[[จันทรุปราคา]] เมื่อวันที่ [[11 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2228]] ร่วมกับบาทหลวงเยซูอิตและบุคคลในคณะทูตชุดแรกที่[[พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส]] ส่งมาเจริญสัมพันธไมตรี
 
เหตุที่ใช้พระที่นั่งเย็นเป็นที่ศึกษาจันทรุปราคามีบันทึกของ[[ชาวฝรั่งเศส]]ว่าเป็นสถานที่ที่เหมาะสมมองท้องฟ้าได้ทุกด้าน มีพื้นที่กว้างพอในการติดตั้งเครื่องมือ มีหลักฐานภาพวาดการศึกษาจันทรุปราคาที่วาดโดยชาวฝรั่งเศสแสดงภาพสมเด็จพระนารายณ์ทรงสวมลอมพอก ทรงกล้องยาวบนขา ตั้งทอดพระเนตร[[ดวงจันทร์]]จากสีหบัญชรและตรงเฉลียงหน้าสีหบัญชรด้านหนึ่งมีขุนนางหมอบกราบ อีกด้านหนึ่งมีนักดาราศาสตร์กำลังสังเกตการณ์โดยใช้กล้องส่องดาว<ref>ภูธร ภูมะธน. '''สมเด็จพระนารายณ์มหาราช: พระมหากษัตริย์ผู้สนพระทัยและองค์อุปถัมภ์การศึกษาดาราศาสตร์ตะวันตกในสยามพระองค์แรก.''' กรุงเทพฯ:อมรินทร์พริ้นท์ติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2555, หน้า 66</ref> กล่าวได้ว่าการศึกษา[[ดาราศาสตร์]]เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย ณ พระที่นั่งเย็นเมืองลพบุรีนี่เอง ปัจจุบัน พระที่นั่งไกรสรสีหราชมีราษฎรบุกรุกสร้างบ้านเรือนอยู่ในเขตรัศมีใกล้ชิด[[โบราณสถาน]]