ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แคว้นพะเยา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{| style="float: right;"
|-
|
{{กล่องข้อมูล อดีตประเทศ
| native_name = แคว้นพะเยา
| country = ไทย
| status = นครรัฐ<ref name="สรัส">สรัสวดี อ๋องสกุล. ''ประวัติศาสตร์ล้านนา''. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:อมรินทร์, 2552. หน้า 65</ref>
| government_type = [[สมบูรณาญาสิทธิราชย์]]
| year_start = พุทธศตวรรษที่ 17
| year_end = พุทธศตวรรษที่ 18
| event_start = สถาปนา
| date_start =
| event_end = ถูกผนวกเข้ากับล้านนา
| date_end =
| event1 =
| date_event1 =
| event2 =
| date_event2 =
| p1 =
| s1 = อาณาจักรล้านนา
|image_flag =
|image_coat =
|image_map = Map-of-southeast-asia_1300_CE.png
|image_map_caption = แคว้นพะเยา (สีเทา)
| capital = [[อำเภอเมืองพะเยา|พะเยา]]<br><small>(เวียงน้ำเต้าและเวียงลูกตะวันตก)</small>
| common_languages =
| leader1 = [[ราชวงศ์พะเยา]]
| year_leader1 = พุทธศตวรรษที่ 17 - 18
| title_leader = พระมหากษัตริย์
| today = [[จังหวัดพะเยา]]
}}
|-
|
{{ประวัติศาสตร์ไทย}}
|}
 
'''แคว้นพะเยา'''<ref>สรัสวดี อ๋องสกุล. ''ประวัติศาสตร์ล้านนา''. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:อมรินทร์, 2552. หน้า 256</ref> หรือ '''รัฐพะเยา'''<ref>สรัสวดี อ๋องสกุล. ''ประวัติศาสตร์ล้านนา''. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:อมรินทร์, 2552. หน้า 113</ref> เป็นเมืองโบราณนครรัฐอิสระ<ref name="สรัส"/>ใน[[จังหวัดพะเยา]] มีอายุราว 900 ปี ตั้งอยู่ใกล้[[แม่น้ำอิง]]ซึ่งไหลลงมาจาก[[เทือกเขาผีปันน้ำ]] เป็นอาณาจักรร่วมสมัยเดียวกับยุคปลายของ[[หิรัญนครเงินยางเชียงแสน]]

แคว้นพะเยาเจริญรุ่งเรืองสูงสุดในรัชกาล[[พญางำเมือง]] เคยขยายอำนาจปกครอง[[นครรัฐน่าน]]ระยะหนึ่ง และมีความสัมพันธ์อันดีกับ[[อาณาจักรล้านนา]] และ[[อาณาจักรสุโขทัย]] แต่ภายหลังในช่วงปี พ.ศ. 1877-1879 พะเยาถูกผนวกเข้ากับล้านนาในสมัย[[พญาคำฟู]]ที่เข้าปล้นพะเยาจากความร่วมมือของนครรัฐน่าน<ref>สรัสวดี อ๋องสกุล. ''ประวัติศาสตร์ล้านนา''. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:อมรินทร์, 2552. หน้า 66</ref>

== ประวัติ โดย==
พญาจอมธรรมปฐมกษัตริย์ของภูกามยาวเป็นพระราชโอรสองค์รองของพญาลาวจงกษัตริย์ในหิรัญนครเงินยางเชียงแสน หลังจากพญาลาวจงแต่งตั้งพญาจอมผาเรือง พระโอรสองค์โตให้ครองหิรัญนครเงินยางเชียงแสน พญาจอมธรรมก็ได้รับการแต่งตั้งจากพระราชบิดาให้มาครองเมืองภูกามยาว ซึ่งในขณะนั้นมีฐานะเป็นหัวเมืองฝ่ายใต้ของหิรัญนครเงินยางเชียงแสน พญาจอมธรรมได้เกณฑ์ไพร่พลพัฒนาเมืองภูกามยาว มีการทำแนวเขตเมือง คูน้ำ คันดิน จวบจนพ้นปีที่ 24 ในรัชกาล พญาจอมธรรมก็สิ้นพระชนม์ลง พญาเจืองพระโอรสได้ขึ้นครองแทนพระราชบิดา ในรัชกาลของพญาเจืองนี้ ได้มีทัพ[[แกว]]([[ญวน]])ยกทัพมาตีเมืองหิรัญนครเงินยางเชียงแสน พญาเจืองได้ยกทัพจากภูกามยาวไปช่วย[[พระปิตุลา]](ลุง) คือพญาจอมผาเรือง รบกับทัพแกวจนได้รับชัยชนะ พญาจอมผาเรืองซึ่งในขณะนั้นได้มีพระชันษามากแล้ว ได้[[สละราชสมบัติ]]ให้[[พระนัดดา]](หลาน) คือพญาเจือง ขึ้นครองหิรัญนครเงินยางเชียงแสนแทน ส่วนเมืองภูกามยาวนั้น พญาเจืองได้แต่งตั้งพญาลาวเงินเรืองพระราชโอรสขึ้นครองเมืองแทน
 
ภูกามยาวรุ่งเรืองถึงขีดสุดในยุคสมัยของ[[พญางำเมือง]] กษัตริย์รัชกาลที่เก้า ยุคสมัยของพระองค์ตรงกับรัชกาลของ[[พญามังราย]]ซึ่งเป็นปฐมกษัตริย์ของ[[ราชวงศ์มังราย]]และ[[พ่อขุนรามคำแหง]] กษัตริย์แห่งเมือง[[สุโขทัย]] อาณาจักรใหญ่ทางด้านใต้ของ[[ล้านนา]] พญางำเมืองถือเป็นพระญาติใน[[ราชวงศ์เชียงแสน]]ของพญามังราย ความสัมพันธ์ของภูกามยาวกับพญามังรายจึงเป็นไปในแนวทางที่ราบรื่นฉันญาติมิตร เมื่อยุคสมัยของหิรัญนครเงินยางเชียงแสนสิ้นสุดลง หลังพญามังรายดำริที่จะสร้างเมืองใหม่ทางด้านทิศตะวันตกของหิรัญนครเงินยางเชียงแสน พญามังรายทดลองสร้าง[[เวียงกุมกาม]]แต่ล้มเหลว เนื่องจาก[[แม่น้ำปิง]]เปลี่ยนเส้นทางไหล [[น้ำ]]และ[[โคลน]]มหาศาลใน[[ฤดูน้ำหลาก]] ได้เข้ามาฝังเวียงกุมกามจนล่ม พญามังรายได้เชิญพญางำเมืองไปปรึกษาการสร้างเมืองใหม่ที่[[ทิศตะวันตก]]ของแม่น้ำปิง พระองค์ได้เลือกชัยภูมิเหมาะสมบริเวณที่ราบที่ด้านล่างของ[[ดอยอ้อยช้าง]] พญามังรายได้พระราชทานชื่อเมืองใหม่นี้ว่า[[นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่]] และภูกามยาวก็ถือเป็นเมืองพี่เมืองน้องของเชียงใหม่นับตั้งแต่นั้นมา