ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปางสมาธิ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
Portalian (คุย | ส่วนร่วม)
จัดรูปแบบ +เก็บกวาดด้วยสคริปต์จัดให้
บรรทัด 2:
 
'''ปางสมาธิ''' เป็นชื่อเรียก[[พระพุทธรูป]]ลักษณะนั่ง[[สมาธิ]] นั่งลำพระองค์ตั้งตรงพระบาท(เท้า)ทั้งสองซ้อนกัน โดยพระบาทขวาซ้อนทับอยู่บนพระบาทซ้าย พระหัตถ์ทั้งสองวางซ้อนหงายกันบนพระเพลา (ตัก) โดยวางพระหัตถ์ขวาซ้อนหงายอยู่บนพระหัตถ์ซ้าย (ท่าสมาธิราบ ขาขวาทับขาซ้าย)จัดเป็น "ปฐมปาง" หรือปางที่ให้กำเนิดองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยพระองค์ทรงอยู่ในพระอิริยาบถนี้ในคืนวันตรัสรู้ เรียกได้อีกอย่างว่าปางตรัสรู้ หรือเป็นพระพุทธรูปในอิริยาบทประทับนั่งสมาธิโดยใช้ข้อพระบาททั้งสองข้างขัดกันซึ่งเรียกว่า([[ปางขัดสมาธิเพชร]])
== ประวัติ ==
'''เป็นท่านั่งสมาธิ'''หลังจากพระพุทธเจ้าทรงกำจัดพระยามาร และเสนามารให้ปราชัยไปแล้ว ด้วยพระบารมีตั้งแต่เวลาเย็นก่อนพระอาทิตย์ตก ([[ปางมารวิชัย]]) ทรงเจริญสมาธิภาวนาด้วยท่านั่งสมาธินี้จนทำจิตให้ปราศจาก[[อุปกิเลส]] บรรลุ[[ปฐมฌาน]] [[ทุติยฌาน]] [[ตติยฌาน]] และ[[จตุถฌาน]] ซึ่งเป็นส่วนของ[[รูปสมาบัติ]] ที่เรียกว่า "เข้า[[ฌานสมาบัติ]]" จากนั้นก็ใช้ฌานสมาธิที่แน่วแน่นั้น เจริญปัญญา หรือองค์[[วิปัสสนา]] จนได้บรรลุ "[[ญาณ]]" (คือ ความรู้แจ้ง) ที่เรียกว่า "[[อภิญญาญาณ]]" (ความรู้แจ้งอันประเสริฐสุด) ทั้งสามประการคือ ทรงบรรลุญาณที่หนึ่ง ในตอนปฐมยาม (ประมาณ 3 ทุ่ม) ญาณนี้เรียกว่า "[[บุพเพนิวาสานุสติญาณ]]" หมายถึง ความรู้แจ้งถึงอดีตชาติหนหลังทั้งของตนและของคนอื่น พอถึงมัชฌิมยาม (ประมาณเที่ยงคืน) ก็ได้บรรลุญาณที่สอง ที่เรียกว่า "[[จุตูปปาตญาณ]]" หมายถึง ความรู้แจ้งถึงความจุติ คือ ดับและเกิดของสัตว์โลก ตลอดจนถึงความต่างกันที่เรียกว่า "กรรม" พอถึงปัจฉิมยาม (หลังเที่ยงคืนล่วงแล้ว) ทรงบรรลุญาณที่สาม คือ "[[อาสวักขยญาณ]]" หมายถึง ความรู้แจ้งถึงความสิ้นไปของ[[กิเลส]] และ[[อริยสัจสี่]] คือความทุกข์ ([[ทุกข์]]) เหตุเกิดของความทุกข์ ([[สมุทัย]]) ความดับทุกข์ ([[นิโรธ]]) วิธีดับทุกข์ ([[มรรค]]) และกำจัด[[อวิชชา]]ไปจนสิ้นจากกมลสันดาน
 
== ความเชื่อและคตินิยม ==
# เป็นพระพุทธรูปประจำวันเกิดของคนเกิดวันพฤหัสบดี
# '''พระคาถาบูชา''' สวด 19 จบ
'''ปูเรนตัม โพธิสัมภาเร นิพพัตตัง โมระโยนิยัง เยนะ สังวิหิตารักขัง มะหาสัตตัง วะเนจะราฯ'''
'''จิรัสสัง วายะมันตาปิ เนวะ สักขิงสุ คัณหิตุง พรัหมะ มันตินติ อักขาตัง ปะริตตัน ตัมภะฌามะเหฯ'''
 
== พระพุทธรูปที่แสดงปางนี้ ==
<gallery>
ภาพ:PhraBuddhaDeva Pratimakorn.JPG|[[พระพุทธเทวปฏิมากร]]
</gallery>
 
== อ้างอิง ==
# สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ [[กรมพระยาดำรงราชานุภาพ]]. '''[[ตำนานพุทธเจดีย์]]'''. ธนบุรี : ศิลปาบรรณาคาร โรงพิมพ์รุ่งวัฒนา, 2513.
# เรื่องพระพุทธรูปปางต่างๆ หลวงบริบาลบุรีรัตน์ และนายเกษมบุญศรี (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์ขึ้นเพื่อพระราชทานในงานพระราชกุศลราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2500)
# สกุลศิลปพระพุทธรูปในประเทศไทย อาจารย์จิตร บัวบุศย์
# ศิลปในประเทศไทย ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิสกุล
# [http://www.dhammathai.org/pang/pang.php เว็บไซต์ธรรมะไทย]
# [http://www.lekpluto.com/index02/special06.html เว็บไซต์เล็กพลูโต]
# [http://www.banfun.com/ เว็บไซต์บ้านฝัน]
 
{{ปางพระพุทธรูป}}
[[หมวดหมู่:ปางพระพุทธรูป]]
{{โครงพระพุทธรูป}}