ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โอดะ โนบูนางะ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Novaskosia (คุย | ส่วนร่วม)
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 28:
นอกจากนี้โนะบุนะงะยังได้มีโอกาสได้สัมผัสกับอาวุธชนิดใหม่ในขณะนั้น คือ ปืน ซึ่งผลิตและนำเข้าโดยชาวโปรตุเกสที่เกาะทะเนะงะชิมะ ทางตอนใต้ของ[[เกาะคีวชู]]
 
ในค.ศ. 1551 โนะบุฮิเดะผู้เป็นบิดาถึงแก่กรรม โนะบุนะงะได้อาละวาดกลางงานศพของบิดาของตน ทำให้บรรดาข้ารับใช้ของตระกูลโอะดะไม่พอใจเป็นอย่างยิ่ง และทำให้มะซะฮิเดะรู้สึกผิดอย่างมากที่ทำการสั่งสอนโนะบุนะงะไม่ดีพอ จึงกระทำการ''เซ็ปปุกุ''เสียชีวิตเพื่อชดใช้ความผิด เหตุการณ์นี้ทำให้โนะบุนะงะเสียใจอย่างมาก เมื่อขึ้นดำรงตำแหน่งไดเมียวแห่งโอะวะิริวแห่งโอะวะริ โนะบุนะงะยังคงอ่อนด้อยประสบการณ์ ทำให้การปกครองของแคว้นตกอยู่ในมือของโอะดะ โนะบุโตะโมะ ({{nihongo2|織田信友|Oda Nobutomo}}) ผู้ซึ่งมาจากสาขาย่อยของตระกูลโอะดะและเป็นผู้ปกครองปราสาทคิโยะซุ ({{nihongo2|清洲城|Kiyosu-jō}}) ในค.ศ. 1554 ชิบะ โยะชิมุเนะ ({{nihongo2|斯波義統|Shiba Yoshimune}}) ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็น''ชูโง''แห่งแคว้นโอะวะริ (ได้รับการแต่งตั้งมาจาก[[รัฐบาลโชกุนมุโระมะชิ]]) ทราบว่าโนะบุโตะโมะวางแผนลอบสังหารโนะบุนะงะ จึงนำความมาบอกแก่โนะบุนะงะ เมื่อโนะบุโตะโมะทราบว่าแผนของตนรั่วไหลจึงสังหารโยะชิมุเนะไป แต่ในปีต่อมาค.ศ. 1555 โนะบุนะงะได้ชิงลงมือทำการลอบสังหารโนะบุโตะโมะเสียก่อนที่ปราสาทคิโยะซุ
 
ปีต่อมาค.ศ. 1556 ไซโต โยะชิตะซึ ({{nihongo2|斎藤義龍|Saitō Yoshitatsu}}) ทำการก่อกบฏต่อบิดาของตนคือไซโตโดซัง ไซโตโดซังขอให้โนะบุนะงะผู้เป็นลูกเขยยกทัพเข้าไปยังแคว้นมิโนะเพื่อช่วยเหลือตนแต่ไม่ทันการ โดซังถูกสังหารในที่รบและโยะชิตะซึจึงขึ้นเป็นไดเมียวแห่งมิโนะคนใหม่ ในปีเดียวกันนั้นเองน้องชายของโนะบุนะงะคือ โอะดะ โนะบุยุกิ ({{nihongo2|織田信行|Oda Nobuyuki}}) ก่อกบฏหมายจะขึ้นเป็นผู้นำตระกูลโอะดะด้วยการสนับสนุนของ[[ชิบะตะ คะซึอิเอะ]] ({{nihongo2|柴田勝家|Shibata Katsuie}}) ฮะยะชิ ฮิเดะซะดะ ({{nihongo2|林秀貞|Hayashi Hidesada}}) รวมทั้งมารดาของโนะบุนะงะเอง โนะบุนะงะสามารถเอาชนะทัพของน้องชายตนเองได้ในยุทธการอิโน ({{nihongo2|稲生の戦い|Inō no tatakai}}) โนะบุนะงะไว้ชีวิตขุนพลทั้งสองแต่ต้องการที่จะสังหารโนะบุยุกิน้องชาย แต่ด้วยการร้องขอของมารดาโนะบุนะงะจึงได้ไว้ชีวิตโนะบุยุกิ ปรากฏว่าในปีต่อมาค.ศ. 1557 โนะบุยุกิวางแผนยึดอำนาจอีกครั้ง โนะบุนะงะจึงแกล้งว่าป่วยให้โนะบุยุกิมาพบตนที่ปราสาทคิโยะซุ แล้วทำการสังหารโนะบุยุกิไปเสีย
บรรทัด 36:
ในค.ศ. 1560 [[อิมะงะวะ โยะชิโมะโตะ]] ({{nihongo2|今川義元|Imagawa Yoshimoto}}) ไดเมียวผู้ทะเยอทะยานแห่งตระกูลอิมะงะวะซึ่งปกครองดินแดนทางตะวันออกของโอะวะริ ต้องการที่จะยกทัพไปยึดอำนาจยังเมือง[[เกียวโต]] ซึ่งเส้นทางเดินทัพจะต้องผ่านแคว้นโอะวะริ ขุนพลคนสำคัญทั้งหลายแห่งตระกูลโอะดะต่างมีความเห็นว่าตระกูลอิมะงะวะมีกำลังอำนาจควรจะปล่อยให้เดินทัพผ่านโอะวะริไปโดยสวัสดิภาพ แต่โนะบุนะงะยืนกรานที่จะเข้าขัดขวางทัพของโยะชิโมะโตะ ในระหว่างที่ทัพของโยะชิโมะโตะกำลังพักอยู่นั้น โนะบุนะงะได้นำทัพเข้าโจมตีอย่างไม่ทันตั้งตัว ใน[[ยุทธการโอะเกะฮะซะมะ]] ({{nihongo2|桶狭間の戦い|Okehazama-no-tatakai}}) เป็นเหตุให้โยะชิโมะโตะถูกสังหาร เหตุการณ์ในครั้งนี้ทำให้โนะบุนะงะมีชื่อเสียงไปทั่วญี่ปุ่น เนื่องจากเป็นเพียงแค่ไดเมียวของแคว้นเล็กแต่สามารถยับยั้งการยึดอำนาจของไดเมียวผู้ทรงอำนาจอย่างอิมะงะวะ โยะชิโมะโตะได้
 
ปีต่อมาค.ศ. 1561 ไซโต โยะชิตะซึ ไดเมียวแห่งมิโนะถึงแก่กรรม ไซโต ทะซึโอะกิ ({{nihongo2|斎藤龍興|Saitō Tatsuoki}}) ผู้เป็นบุตรชายอายุเพียงสิบสี่ปีและไร้ความสามารถขึ้นเป็นไดเมียวแห่งมิโนะคนต่อมา โนะบุนะงะเห็นเป็นโอกาสจึงนำทัพเข้ารุกรานแคว้นมิโนะ จนสามารถเข้ายึดปราสาทอินะบะยะมะ ({{nihongo2|稲葉山|Inaba-yama}}) อันเป็นที่มั่นของตระกูลไซโตได้ในค.ศ. 1567 ทำให้โนะบุนะงะสามารถเข้าครอบครองแคว้นมิโนะได้ แล้วจึงเปลี่ยนชื่อปราสาทใหม่เป็น ปราสาทกิฟุ ({{nihongo2|岐阜|Gifu}}) [[จังหวัดกิฟุ]]ในปัจจุบัน โนะบุนะงะพำนักที่ปราสาทกิฟุ และประกาศนโยบายรวบรวมญี่ปุ่นที่แตกแยกออกเป็นแคว้นต่างๆให้เป็นหนึ่งเดียวภายใต้การปกครองของตน พร้ิอมพร้อมคติพจน์ที่ว่า '''เท็งกะ ฟุบุ''' ({{nihongo2|天下布武|Tenka fubu}}) แปลว่า '''ปกครองแผ่นดินด้วยการทหาร'''
 
===เส้นทางสู่เกียวโต===
กล่าวถึงเหตุการณ์ในเมืองเกียวโต [[รัฐบาลโชกุนอะชิกะงะ]]ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของตระกูลมิโยะชิ ค.ศ. 1565 โชกุน[[อะชิกะงะ โยะชิเตะรุ]] ({{nihongo2|足利義輝|Ashikaga Yoshiteru}}) ได้ถูกสองขุนพลได้แก่ มะซึนะงะ ฮิซะฮิเดะ ({{nihongo2|松永久秀|Matsunaga Hisahide}}) และมิโยะชิ โยะชิซึงุ ({{nihongo2|三好義継|Miyoshi Yoshitsugu}}) ยกทัพมาสังหารยังที่พัก โนะบุนะงะพำนักอยู่ที่ปราสาทกิฟุได้หนึ่งปี จนกระทั่งในค.ศ. 1568 [[อะชิกะงะ โยะชิอะกิ]] ({{nihongo2|足利義昭|Ashikaga Yoshiaki}}) ผู้เป็นน้องชายของโชกุนโยะชิเตะรุได้ร้องขอให้โนะบุนะงะยกทัพไปยังเกียวโตเพื่อทำการแก้แค้นให้แก่พี่ชายของตนโดยการสังหารขุนพลทั้งสอง
 
โนะบุนะงะจึงเตรียมการยกทัพไปยึดเมืองเกียวโต แต่เส้นทางเดินทัพไปยังเกียวโตต้องผ่านแคว้นโอมิ ({{nihongo2|近江|Ōmi}}) [[จังหวัดชิงะ]]ในปัจจุบัน ซึ่งมีไดเมียวตระกูลรกกะกุ ({{nihongo2|六角|Rokkaku}}) ปกครองอยู่และปฏิเสธที่จะให้ทัพของโนะบุนะงะผ่านแคว้นของตน โนะบุนะงะจึงทำสงครามกับตระกูลรกกะกุและสามารถเอาชนะและกำจัดตระกูลรกกะกุออกไปได้ในเวลาอันรวดเร็ว และเดินทัพสามารถเข้ายึดเมืองเกียวโตได้ในฤดูหนาวค.ศ. 1568 ฮิซะฮิเดะและตระกูลมิโยะชิเข้าสวามิภักดิ์ต่อโนะบุนะงะ โนะบุนะงะจึงตั้งให้โยะชิอะกิเป็นโชกุนคนใหม่เพื่อที่จะเป็นหุ่นเชิดของตน จากความดีความชอบในการช่วยเหลือโชกุนโยะชิอะกิในครั้งนี้โนะบุนะงะได้รับข้อเสนอเป็นตำแหน่งในราชสำนักเกียวโตและใน''บะกุฟุ''ซึ่งโนะบุนะงะปฏิเสธไปทั้งหมด และมีความเห็นว่าการเป็นผู้ชักใยอยู่เบื้่องหลังเบื้องหลังที่แท้จริงนั้นสำคัญกว่าตำแหน่งทางพิธีการ
 
===รวมอำนาจในภูมิภาคคันไซ===
แต่ทว่าโชกุนโยะชิอะกิไม่พอใจการที่ตนตกอยู่ภายใต้อำนาจของโนะบุนะงะ และต้องการที่จะมีอำนาจเต็มในการปกครอง จึงได้ร้องขอไปยังอะซะกุระ โยะชิกะเงะ ({{nihongo2|朝倉義景|Asakura Yoshikage}}) ไดเมียวแห่งแคว้นเอะจิเซง [[จังหวัดฟุกุอิ]] ในปัจจบัน ให้ยกทัพมาขับไล่โนะบุนะงะออกจากเกียวโตและคืนอำนาจให้แก่โชกุน ความทราบถึงโนะบุนะงะ จึงส่งฮะชิบะ ฮิเดะโยะชิ (ต่อมาคือ [[โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ]]) นำทัพเข้าบุกแคว้นเอะจิเซงและเอาชนะตระกูลอะซะกุระได้ในยุทธการคะเนะงะซะกิ ({{nihongo2|金ヶ崎の戦い|Kanegasaki no Tatakai}}) ค.ศ. 1570
 
กล่าวถึงตระกูลอะซะกุระ มีพันธมิตรสำคัญเป็นตระกูลอะซะอิแห่งแคว้นโอมิ ซึ่งขณะนั้นมีผู้นำคือไดเมียว[[อะซะอิ นะงะมะซะ]] ({{nihongo2|浅井長政|Azai Nagamasa}}) ผู้เป็นน้องเขยของโนะบุนะงะเนื่องจากนะงะมะซะได้สมรสกับนาง[[โออิจิ]] ({{nihongo|お市|Ōichi}}) ผู้เป็นน้องสาวของโนะบุนะงะ โนะบุนะงะคาดหวังว่านะงะมะซะจะเห็นแก่นางโออิจิไม่มาทำสงครามกับตน แต่นะงะมะซะเห็นแก่พันธมิตรกับตระกูลอะซะกุระจึงเข้าช่วยตระกูลอะซะกุระในการสงครามกับโนะบุนะงะ โนะบุนะงะสามารถเอาชนะทัพของทั้งสองตระกูลได้ในยุทธการอะเนะงะวะ ({{nihongo2|姉川の戦い|Anegawa-no-tatakai}}) อีกสามปีต่อมา ค.ศ. 1573 โนะบุนะงะนำทัพเข้าล้อมปราสาทฮิกิดะ ({{nihongo2|疋壇城|Hikida-jō}}) ของโยะชิกะเงะ และปราสาทโอะดะนิ ({{nihongo|小谷城|Odani-jō}}) ของนะงะมะซะ และโนะบุนะงะสามารถเข้ายึดปราสาททั้งสองได้ในที่สุด โยะชิกะเงะหลบหนีไปยังปราสาทอิชิโจดะนิ ({{nihongo|一乗谷城|Ichijōdani-jō}}) ส่วนนะงะมะซะกระทำการ''เซ็ปปุกุ''เสียชีวิต โนะบุนะงะยกทัพตามไปปิดล้อมปราสาืทอิชิโจดะนิปราสาทอิชิโจดะนิ จนกระทั่งเข้ายึดปราสาทได้ และโยะชิกะเงะกระทำการ''เซ็ปปุกุ''เสียชีวิตไปเช่นเดียวกับนะงะมะซะ
 
นอกจากนี้ โนะบุนะงะยังทำการปราบปรามกบฎ[[อิกโก อิกกิ]] ({{nihongo|一向一揆|Ikkō-ikki}}) อันเป็นการรวมตัวกันของพระสงฆ์และชาวบ้านท้องถิ่นเพื่อต่อต้านการปกครองของชนชั้นซะมุไร มีฐานที่มั่นอยู่ที่วัดฮงงัง ({{nihongo|本願寺|Hongan-ji}}) บนเขาอิชิยะมะ ({{nihongo|石山|Ishiyama}}) เมือง[[โอซะกะ]]ในปัจจุบัน ในค.ศ. 1570 โนะบุนะงะยกทัพเข้าทำการปิดล้อมเขาอิชิยะมะแต่ถูกทัพของอิกโก-อิกกิขับไล่ออกไปได้ ปีต่อมาค.ศ. 1571 โนะบุนะงะยกทัพเข้าโจมตีเมืองนะงะชิมะ ({{nihongo|長島|Nagashima}}) [[จังหวัดมิเอะ]]ในปัจจุบัน อันเป็นฐานที่มั่นอีกแห่งหนึ่งของอิกโก-อิกกิ หลังการโจมตีหลายครั้งในที่สุดเมืองนะงะชิมะก็เสียให้แก่โนะบุนะงะในค.ศ. 1574 ในค.ศ. 1576 โนะบุนะงะยกทัพเข้าทำการปิดล้อมเขาอิชิยะมะอีกครั้ง จนกระทั่งโนะบุนะงะสามารถเข้ายึดวัดฮงงังบนเขาอิชิยะมะได้ในค.ศ. 1580 หลังจากการปิดล้อมอยู่นานถึงสี่ปี เป็นการปิดล้อมครั้งยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น กบฎอิกโก-อิกกิจึงถูกปราบลงได้สำเร็จ