ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ลูเธอร์ แวนดรอส"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
2T (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 26:
 
==ประวัติ==
===ชีวิตช่วงแรกและอาชีพ===
ลูเธอร์ แวนดรอส มีชื่อเต็มว่า Luther Ronzoni Vandross, Jr. เขาเกิดเมื่อวันที่ [[20 เมษายน]] [[ค.ศ. 1951]] ที่นคร[[นิวยอร์ก]] พ่อเป็นช่างทำเก้าอี้ มีงานอดิเรกเป็นนักร้องครวญเพลงสแตนดาร์ดในวงบิ๊กแบนด์ ส่วนแม่เป็นนักร้องร้องเพลงกอสเปลกับคณะนักร้องประสานเสียง ลูเธอร์มีพี่สาวคนหนึ่งชื่อว่า Pat เป็นสมาชิกนักร้องคณะ The Crests (มีเพลงอันดับ 2 ในอเมริกา คือเพลง 16 Candles)
 
เส้น 44 ⟶ 45:
ลูเธอร์ แวนดรอส ไม่เพียงแต่ทำงานร้องแบ็กอัพให้กับศิลปินคนอื่น เขายังทำงานเขียนจิงเกิลเพลงโฆษณา ทั้งร้องนำ ร้องแบ็กอัพให้กับสินค้าหลายตัว มีตั้งแต่สถานีโทรทัศน์เครือข่าย NBC, บริษัท AT&T, อาหารฟาสต์ฟู้ดอย่าง Burger King, KFC น้ำอัดลมอย่าง[[เป๊ปซี่]], [[โคล่า]], [[เซเว่นอัพ]] แม้แต่ กองทัพอเมริกายังมาจ้างลูเธอร์ แวนดรอส เขียนจิงเกิลเพลงประชาสัมพันธ์ด้วย สิ่งนี้แหละที่สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้กับแวนดรอส เขาเคยให้สัมภาษณ์ว่า ปีหนึ่งๆ เขามีรายได้จากงานเหล่านี้ไม่ต่ำกว่าห้าแสนเหรียญฯ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้สร้างความพอใจให้กับตัวเขา จริงๆ แล้วลูเธอร์ แวนดรอส อยากเป็นนักร้องนำ มีบริษัทแผ่นเสียงมีชื่อมาเซ็นสัญญาให้อยู่ในสังกัดมากกว่าสิ่งอื่น
 
===ศิลปินเดี่ยวและการประสบความสำเร็จ===
สังกัดอิปิค เรคคอร์ดส์ เซ็นสัญญากับ ลูเธอร์ แวนดรอส ในปี ค.ศ.1981 ซิงเกิลแรกและอัลบั้มชุดแรกชื่อ Never Too Much ทั้งสองชุดแวนดรอสรับเป็นโปรดิวเซอร์ เมื่อออกจำหน่ายอัลบั้มขายได้กว่าหนึ่งล้านก๊อบปี้ ส่วนซิงเกิลติดอันดับ Top 20 ในอาร์แอนด์บีชาร์ต ลูเธอร์ แวนดรอส เริ่มเป็นที่รู้จักของแฟนเพลง ได้รับเชิญให้ไปเป็นศิลปินเปิดวงให้กับโรเบอต้า แฟลค ร้องเพลง A House Is Not A Home ของเบิร์ต บัคคาราค กับ ฮัล เดวิด นักวิจารณ์เพลงหลายคนบอกว่าเพลงนี้ที่แวนดรอสถ่ายทอดอารมณ์ ความโดดเดี่ยวได้ดีกว่าศิลปินคนอื่นที่นำไปคัฟเวอร์ จากนั้นลูเธอร์ แวนดรอส ออกอัลบั้มอย่างต่อเนื่องชุด Forever For Always, For Love (1982) ชุด Busy Body(1983) เป็นโปรดิวเซอร์ให้กับ[[ดิออน วอร์วิค]] ในซิงเกิล How Many Time Can We Say goodbye (1983) ที่แวนดรอสร้องดูเอตกับดิออน วอร์วิค จากนั้นตามด้วยอัลบั้มชุด I Fell In Love (1985) กับ Give Me The Reason (1986) ทั้งสองชุดได้รับความนิยมในอังกฤษเกินคาด ซิงเกิลฮิตที่ออกตามมา อาทิ I Really Didn't Mean It กับ Stop To love ได้รับความนิยมติดอันดับ TOP 30 ในอังกฤษ ส่วนอัลบั้ม Give Me The Reason ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง[[รางวัลแกรมมี่]] ลูเธอร์ แวนดรอส กลายเป็นศิลปินยอดนิยมฉายาว่า "THE PAVAROTTI OF POP"
 
เส้น 50 ⟶ 52:
ค.ศ. 1988 ลูเธอร์ แวนดรอส ออกอัลบั้มชุด Any Love (1988) มาได้รับความนิยมจริงๆ จากแฟนๆ ในอเมริกาเมื่อออกซิงเกิล Here And Now ในปี ค.ศ. 1989 ได้รับความนิยมขึ้นถึงอันดับ 6 ในป็อปชาร์ต ขณะเดียวกันแวนดรอสเกิดปัญหาด้านสุขภาพ น้ำหนักตัวขึ้นลงระหว่าง 190 กับ 340 ปอนด์ อีกทั้งมีโรคเบาหวานเข้าแทรก สิ่งที่เกิดขึ้นไม่เคยล้มเลิกความตั้งใจในการปรากฏตัวต่อแฟนๆ ปี ค.ศ. 1989 คอนเสิร์ตที่สนามกีฬาเวมเบลย์ ในอังกฤษ กับ[[เมดิสันสแควร์การ์เดน]]ในนิวยอร์ก บัตรจำหน่ายหมดทั้ง 4 รอบ จากนั้นออกอัลบั้มรวมฮิต The Best Of Luther Vandross...The Best Of Love ขายดีขนาดได้รับรางวัลแพลตินั่มสองแผ่น ส่วนซิงเกิลที่ออกตามมาได้รับความนิยมติด TOP 10 อาทิ Power Of Love / Lovepower (# 4), Don't Want To Be A Fool (# 9) รวมทั้ง The Best Things In Life Are Free(# 10) ที่ร้องกับ[[เจเน็ต แจ็กสัน‎]] ส่วนอัลบั้มชุด Power Of Love ได้รับรางวัลแกรมมี่สองรางวัล ช่วงนี้ลูเธอร์ แวนดรอส มีปัญหากับบริษัทโซนี่มิวสิก ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของอิปิคเรคคอร์ดส์ เริ่มจากปี ค.ศ. 1991 ที่แวนดรอสขอปลีกตัวออกแต่ยังติดสัญญา ขณะเดียวกันยังออกอัลบั้มกับอิปิค ที่ประสบความสำเร็จอีกชุดคือชุด Songs (1994) เป็นงานเพลงคัฟเวอร์ทั้งอัลบั้ม อัลบั้มขึ้นถึงอันดับหนึ่งในอังกฤษ อันดับห้าในอเมริกา แถมซิงเกิล Endless Love ที่ร้องดูเอตกับ[[มารายห์ แครี]] ได้รับความนิยมขึ้นถึงอันดับ 3 ทั้งในอเมริกาและอังกฤษ
 
หลังจากสิ้นสุดกับสัญญากับโซนี่มิวสิกในปี ค.ศ. 1998 ลูเธอร์ แวนดรอส เซ็นสัญญาเข้าอยู่กับสังกัดเวอร์จินเรคคอร์ดส์ ออกอัลบั้มอยู่ชุดหนึ่ง ไม่ประสบความสำเร็จตามที่คาดหวัง แวนดรอสจึงย้ายมาอยู่กับสังกัด J Records ที่มี[[ไคลว์ เดวิส ]]เป็นเจ้าของ ออกอัลบั้มชุด Luther Vandross (2001) ขายได้กว่าหนึ่งล้านก๊อบปี้ ถัดมาในปี ค.ศ. 2002 ลูเธอร์ แวนดรอส กลับมาทัวร์อังกฤษอีกครั้ง บัตรการแสดงขายหมดตามเคย

===ป่วยและการจากไป===
ก่อนจะถึงวันคล้ายวันเกิดครบ 52 ปีสี่วัน ลูเธอร์ แวนดรอส เกิดอาการปัจจุบันทันด่วน (Stroke) ต้องหยุดพักรักษาตัว ช่วงนี้เป็นช่วงที่กำลังออกอัลบั้มชุดใหม่ Dance With My Father เมื่อออกจำหน่ายอัลบั้มทำสถิติขายสูงสุดติดอันดับหนึ่ง อีกทั้งได้รับรางวัลแกรมมี่ 4 รางวัล
 
เนื่องจากปัญหาด้านน้ำหนัก ด้าน[[โรคเบาหวาน]] กับอาการปัจจุบันทันด่วน (Stroke) ที่เกิดขึ้นถึงสองครั้ง ทำให้ลูเธอร์ แวนดรอส กลายเป็นคนทุพพลภาพ หยุดพักรักษาตัวจนกระทั่งเสียชีวิตลงเมื่อวันที่ [[1 กรกฎาคม]] [[ค.ศ. 2005]] ขณะมีอายุ 54 ปี