ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นครรัฐน่าน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 50:
น่านเป็นนครรัฐในหุบเขาพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา มีที่ราบลุ่ม[[แม่น้ำน่าน]]ทางตอนบนขนาดเล็กเป็นตอน ๆ ในลักษณะแนวยาวทิศเหนือ-ใต้ซึ่งอยู่ระหว่าง[[เทือกเขาผีปันน้ำ]]ทางตะวันออกและ[[เทือกเขาหลวงพระบาง]]<ref name="ภูมิศาสตร์">สรัสวดี อ๋องสกุล. ''ประวัติศาสตร์ล้านนา''. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:อมรินทร์, 2552. หน้า 106</ref> ที่ราบแบ่งได้เป็นสองตอน คือตอนเหนือเป็นที่ราบขนาดเล็กต้นแม่น้ำน่านเป็นที่ตั้งของเมืองปัว และที่ราบตอนล่างอันเป็นตั้งของเมืองน่านซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์กว่า สามารถติดต่อค้าขายกับเมืองทางใต้ได้อย่างสะดวก นอกจากนี้น่านยังมีที่ราบขนาดเล็กอีกหลายแห่งกระจายตัวในหุบเขาอีกด้วย<ref name="ภูมิศาสตร์"/>
 
ด้วยเหตุที่น่านถูกโอบล้อมด้วยเทิอกเขาเทือกเขาสามารถติดต่อเมืองอื่น ๆ ได้ยาก ทำให้น่านเป็นเมืองโดดเดี่ยว<ref name="ภูมิศาสตร์"/> มีพัฒนาการที่ล่าช้ากว่ารัฐจารีตที่รายรอบ<ref name="พัฒนา"/> และ ''พื้นเมืองน่าน'' ซึ่งเป็นตำนานพื้นเมืองของน่านช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 19 ก็ไม่ได้กล่าวถึงอาณาจักรสุโขทัยหรือล้านนาช่วงนั้นเลย โลกของผู้เขียนตำนานขีดวงไว้เพียงแถบลุ่มแม่น้ำน่านเท่านั้น<ref name="กาว">สรัสวดี อ๋องสกุล. ''ประวัติศาสตร์ล้านนา''. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:อมรินทร์, 2552. หน้า 108</ref> อย่างไรก็ตามน่านตั้งอยู่บนและควบคุมเส้นทางการติดต่อระหว่างล้านนาตะวันออกกับหลวงพระบางในแนวตะวันออกถึงตะวันตก<ref name="ภูมิศาสตร์"/> และเป็นปราการที่สำคัญของล้านนาด้วย ดังปรากฏในรัชสมัย[[พระเจ้าติโลกราช]] เวียดนามได้คุกคามหลวงพระบางและน่าน โดยน่านได้ต่อต้านอย่างเข้มแข็งจนเวียดนามพ่ายไปในที่สุด<ref>ประพฤทธิ์ ศุกลรัตนเมธี และวินัย ศรีพงศ์เพียร. "บทบาทของล้านนาในวิกฤตการณ์การเมืองระหว่างรัฐในราชอาณาจักรลาว พ.ศ. 2002-2024", ใน ''รวมบทความประวัติศาสตร์'' ฉบับที่ 16, พ.ศ. 2537, หน้า 98-110</ref>
 
== ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ==