ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยุทธการที่เดียนเบียนฟู"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{บทความคัดสรร}}
{{กล่องข้อมูล การรบ
| ชื่อการรบ = ยุทธการที่เดียนเบียนฟู
| สงคราม = [[สงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง]]
| รูปภาพ = [[ไฟล์:Dien bien phu castor or siege deinterlaced.png|280px]]
บรรทัด 29:
}}
 
'''ยุทธการที่เดียนเบียนฟู''' ({{lang-fr|Bataille de Diên Biên Phu}}; {{lang-vi|Chiến dịch Điện Biên Phủ}}) เป็นการเผชิญหน้าครั้งสำคัญสุดยอดใน[[สงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง]] ระหว่าง[[กองทัพรบนอกประเทศภาคพื้นตะวันออกไกลฝรั่งเศส|กองทัพรบนอกประเทศภาคพื้นตะวันออกไกล]]ของ[[สหภาพฝรั่งเศส]]และนักปฏิวัติคอมมิวนิสต์-ชาตินิยม[[เวียดมินห์]] ยุทธการนี้เกิดขึ้นระหว่างเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม ค.ศ. 1954 และสิ้นสุดลงด้วยความพ่ายแพ้อย่างกว้างขวางของฝรั่งเศสซึ่งส่งอิทธิพลต่อการเจรจาเหนืออนาคตของ[[คาบสมุทรอินโดจีน]]ที่กรุง[[เจนีวา]] นักประวัติศาสตร์การทหาร มาร์ติน วินโดรว์ เขียนว่า เดียนเบียนฟูเป็น "''ครั้งแรกซึ่งขบวนการเรียกร้องเอกราชอาณานิคมวิวัฒนาผ่านทุกขั้นตอนจากกองโจรไปเป็นกองทัพซึ่งจัดระเบียบและติดอาวุธตามแบบจนสามารถเอาชนะเจ้าอาณานิคมตะวันตกสมัยใหม่ในการรบแบบที่ตั้งมั่น'' (pitched battle)"<ref>Quotation from Martin Windrow. Kenney, Michael. "British Historian Takes a Brilliant Look at French Fall in Vietnam". ''Boston Globe'', 4 January 2005.</ref>
 
ผลจากความผิดพลาดในกระบวนการตัดสินใจของฝรั่งเศส ทำให้ฝรั่งเศสเริ่มปฏิบัติการเพื่อสนับสนุนทหารของตนที่[[เดียนเบียนฟู]] ลึกเข้าไปในหุบเขาทางตะวันตกเฉียงเหนือของเวียดนาม จุดประสงค์ของปฏิบัติการนี้เพื่อตัดเส้นทางเสบียงของเวียดมินห์ที่เข้าสู่[[ราชอาณาจักรลาว]]ที่เป็นประเทศเพื่อนบ้านและพันธมิตรของฝรั่งเศส และเพื่อดึงให้เวียดมินห์มาเผชิญหน้าครั้งสำคัญที่จะทำลายศักยภาพของเวียดมินห์ในทางยุทธวิธี อย่างไรก็ดี เวียดมินห์ ภายใต้การบังคับบัญชาของพลเอก [[หวอ เงวียน ซ้าป]] ได้ปิดล้อมฝรั่งเศส โดยที่ฝรั่งเศสไม่ทราบมาก่อนว่าเวียดมินห์มีปืนใหญ่หนัก รวมทั้ง[[ปืนต่อสู้อากาศยาน]]อยู่ในครอบครอง ตลอดจนความสามารถของเวียดมินห์ในการเคลื่อนย้ายอาวุธดังกล่าวผ่านภูมิประเทศทุรกันดารยิ่งมายังยอดเขาที่มองไปเห็นที่มั่นของฝรั่งเศส เวียดมินห์ได้ยึดครองที่สูงรอบเดียนเบียนฟูและยิงปืนใหญ่ถล่มที่มั่นของฝรั่งเศส ได้เกิดการรบภาคพื้นดินอย่างยืนหยัดขึ้นตามมา ซึ่งคล้ายกับ[[การสงครามสนามเพลาะ]]ใน[[สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง]] ทหารฝรั่งเศสได้ขับไล่การโจมตีที่มั่นของฝ่ายเวียดมินห์หลายครั้ง เสบียงและกำลังหนุนถูกส่งเข้ามาทางอากาศ แต่ก็ถูกขัดขวาง เพราะที่ตั้งฝรั่งเศสถูกยึดและได้รับความสูญเสียจากปืนต่อสู้อากาศยาน ทำให้มีเสบียงไปถึงทหารน้อยลงทุกขณะ หลังจากการล้อมนานสองเดือน ที่มั่นของฝรั่งเศสได้ถูกยึดและกำลังฝรั่งเศสส่วนใหญ่ยอมจำนน มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่สามารถหลบหนีไปยังประเทศลาวได้ รัฐบาลฝรั่งเศสลาออกและนายกรัฐมนตรีคนใหม่ [[ปีแยร์ ม็องแด็ส-ฟร็องส์]] ฝ่ายซ้ายกลาง สนับสนุนการถอนทหารฝรั่งเศสออกจากอินโดจีน
บรรทัด 71:
 
== ทำเนียบกำลังรบ ==
{{บทความหลัก|ทำเนียบกำลังรบในยุทธการที่เดียนเบียนฟู}}
 
ฝ่ายเวียดนาม ภายใต้การบังคับบัญชาของพลเอก [[หวอ เงวียน ซ้าป]] ประกอบด้วยหน่วยทหารราบและปืนใหญ่ จำนวน 4 กองพล 1 กองพลหนัก (ปืนใหญ่) และ 1 กรมทหารอิสระ กำลังพลรวมฝ่ายลำเลียงยุทโธปกรณ์ 80,000 นาย
บรรทัด 162:
}}</ref> ที่ซึ่งพวกเขาจะถูกผสมเข้ากับทหารเวียดมินห์เพื่อขัดขวางการทิ้งระเบิดของฝรั่งเศส ทหารหลายร้อยนายเสียชีวิตด้วยโรคระบาดระหว่างทาง ทหารที่ได้รับบาดเจ็บได้รับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นจนกระทั่ง[[กาชาด]]มาถึง ซึ่งนำตัวทหารออกไป 858 นาย ซึ่งได้รับความช่วยเหลือดีกว่าทหารที่เหลือ ทหารที่ได้รับบาดเจ็บและมิได้ถูกนำตัวไปโดยกาชาดจะถูกส่งตัวไปกักกัน<ref>[http://www.dienbienphu.org/english/html/captivite/captivity.htm The Long March]. Dienbienphu.org, Retrieved on January 12, 2009</ref>
 
นักโทษผู้รอดชีวิตชาวฝรั่งเศสจากยุทธการที่เดียนเบียนฟู ถูกอดอาหาร เฆี่ยนตี และถูกกดขี่ข่มเหง ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก<ref>{{cite web
| url = http://www.dienbienphu.org/english/html/captivite/camp_n1.htm
| title = At camp #1
บรรทัด 175:
[[การประชุมเจนีวา (1954)|การประชุมเจนีวา]]เริ่มขึ้นในวันที่ 8 พฤษภาคม เพียงหนึ่งวันหลังฝรั่งเศสยอมจำนน [[โฮจิมินห์]]เข้าสู่ที่ประชุมในวันเปิดประชุมพร้อมกับพาดหัวข่าวชัยชนะของเวียดมินห์ตามหนังสือพิมพ์ ผลการเจรจาได้แบ่งเวียดนามออกเป็นสองเขตชั่วคราว ทางเหนือเป็น[[เวียดนามเหนือ|สาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม]] ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ และทางใต้เป็น[[รัฐเวียดนาม]]ที่ฝรั่งเศสสนับสนุน ทหารสหภาพฝรั่งเศสหน่วยสุดท้ายถูกถอนออกจากอินโดจีนใน ค.ศ. 1956 ผลการแบ่งแยกประเทศดังกล่าวควรเป็นไปชั่วคราวเท่านั้น และพื้นที่ทั้งสองควรจะรวมเข้าด้วยกันอีกครั้งหลังการเลือกตั้งทั่วประเทศใน ค.ศ. 1956 แต่หลังฝรั่งเศสได้ถอนตัวออกไป สหรัฐอเมริกาได้ให้การสนับสนุนรัฐบาลฝ่ายใต้ ภายใต้[[สมเด็จพระจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย แห่งเวียดนาม|จักรพรรดิบ๋าว ดั่ย]] และนายกรัฐมนตรี[[โง ดิ่ญ เสี่ยม]] ซึ่งขัดต่อความตกลงเจนีวา และอ้างว่ากองกำลังของโฮจิมินห์จากทางเหนือได้ฆ่าประชาชนผู้รักชาติทางเหนือและคุกคามประชาชนเวียดนามทั้งเหนือและใต้ เวียดนามเหนือได้รับการสนับสนุนจากทั้งจีนและ[[สหภาพโซเวียต]] การจัดการดังกล่าวได้พิสูจน์แล้วว่า ไม่มีความหมายและจะบานปลายเป็น[[สงครามเวียดนาม]] (สงครามอินโดจีนครั้งที่สอง) ซึ่งทำให้ทหารสหรัฐกว่า 500,000 นายต้องถูกส่งตัวไปใน[[เวียดนามใต้]]
 
ความพ่ายแพ้ของฝรั่งเศสในอินโดจีน ประกอบกับการที่กองทัพฝรั่งเศสถูกทำลายโดยเยอรมนีเมื่อ 14 ปีก่อนหน้านี้ ได้บั่นทอนเกียรติภูมิของฝรั่งเศสใน[[จักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศส|จักรวรรดิอาณานิคมของตน]]แห่งอื่นอย่างร้ายแรง เช่นเดียวกับอิทธิพลภายในพันธมิตร[[นาโต้]] และที่สำคัญที่สุด กับสหรัฐอเมริกา ภายในจักรวรรดิฝรั่งเศส ความพ่ายแพ้ในอินโดจีนจุดประกายให้เกิดขบวนการเคลื่อนไหวเรียกร้องเอกราชขึ้นในอาณานิคมอื่น ๆ ที่มีชื่อเสียงได้แก่ ในอาณานิคมแอฟริกาเหนือ ที่ซึ่งทหารที่รบป้องกันเดียนเบียนฟูถูกเกณฑ์มาเป็นจำนวนมาก หกเดือนหลังจากยุทธการที่เดียนเบียนฟูยุติ [[สงครามแอลจีเรีย]]ได้เริ่มต้นขึ้น และภายใน ค.ศ. 1956 ทั้ง[[รัฐในอารักขา]]โมร็อกโกและ[[ตูนิเซีย]]ได้รับเอกราช คณะกรรมการสอบสวน ซึ่งถูกเรียกว่า [[คณะกรรมการกาทรู]] ได้รับการจัดตั้งขึ้นในภายหลังเพื่อสืบสวนสาเหตุของความพ่ายแพ้
 
ยุทธการดังกล่าวได้รับการพรรณนาถึงใน[[แหกค่ายนรก เดียน เบียน ฟู]] ภาพยนตร์ละครกึ่งสารคดี ถ่ายทำใน ค.ศ. 1992 โดยมีเนื้อหาอัตชีวประวัติหลายส่วน ร่วมกับกองทัพเวียดนามโดยผู้กำกับภายพนตร์ฝรั่งเศสซึ่งเป็นทหารผ่านศึกเดียนเบียนฟู Pierre Schoendoerffer