ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรคหวัด"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 77:
ในสหราชอาณาจักร หน่วยโรคหวัดถูกตั้งขึ้นโดยสภาวิจัยการแพทย์ในปี 2489 และมีการค้นพบไรโนไวรัสที่นั่นเองในปี 2499<ref>Eccles Pg.20</ref> ในคริสต์ทศวรรษ 1970 หน่วยโรคหวัดสาธิตว่าการรักษาด้วย[[อินเตอร์เฟียรอน]]ระหว่างระยะฟักของการติดเชื้อไรโนไวรัสป้องกันต่อโรคบ้าง<ref name="pmid2438740">{{cite journal | author = Tyrrell DA | title = Interferons and their clinical value | journal = Rev. Infect. Dis. | volume = 9 | issue = 2 | pages = 243–9 | year = 1987 | pmid = 2438740 | doi = 10.1093/clinids/9.2.243 }}</ref> แต่ไม่สามารถพัฒนาการรักษาภาคปฏิบัติ หน่วยดังกล่าวถูกปิดในปี 2532 สองปีหลังเสร็จสิ้นการวิจัยยาอมซิงค์กลูโคเนตในการป้องกันโรคและการรักษาโรคหวัดไรโนไวรัส เป็นการรักษาที่ประสบความสำเร็จครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ของหน่วย<ref>{{cite journal | author = Al-Nakib W | title = Prophylaxis and treatment of rhinovirus colds with zinc gluconate lozenges | journal = J Antimicrob Chemother. | volume = 20 | issue = 6 | pages = 893–901 | year = 1987 | month = December | pmid = 3440773 | doi = 10.1093/jac/20.6.893 | last2 = Higgins | first2 = P.G. | last3 = Barrow | first3 = I. | last4 = Batstone | first4 = G. | last5 = Tyrrell | first5 = D.A.J. }}</ref>
 
== ผลกระทบของโรคหวัดต่อสังคมทางเศรษฐกิจ ==
[[ไฟล์:The Cost Of The Common Cold & Influenza.jpg|thumb|ใบปิดประกาศของอังกฤษสมัย[[สงครามโลกครั้งที่สอง]]อธิบายราคาของโรคหวัด<ref>{{cite web |title=The Cost of the Common Cold and Influenza |work=Imperial War Museum: Posters of Conflict |publisher=vads|url=http://vads.bath.ac.uk/flarge.php?uid=33443&sos=0}}</ref>]]
ผู้ที่เป็นโรคหวัดอาจจะต้องขาดเรียนหรือลางานได้, ซึ่งส่งผลกระทบต่อ[[เศรษฐกิจ]]ได้พอสมควร นอกจากนี้ ยังมีคาใช้จ่ายในการซื้อยาไม่ว่าจะเป็น[[ยาแผนปัจจุบัน]]หรือยาพื้นบ้านก็ตามที โรคหวัดยังเป็นถูกกล่าวว่าเป็นโรคที่ติดต่อจากคนสู่คนที่พบได้มากและธรรมดาที่สุด แทบทุกคนมักเป็นหวัดอย่างน้อยหนึ่งครั้งต่อปี โดยเฉพาะใน[[ฤดูฝน]] โรคหวัดยังได้ถูกนำไปเกี่ยวข้องในทาง[[วรรณกรรม]] โดยเป็นตัวแปลงโครงเรื่องเมื่อตัวละครใดๆ ในเรื่องเป็นหวัด หรือติดหวัดมาจากตัวละครอื่น
ผลกระทบทางเศรษฐกิจของโรคหวัดยังไม่เป็นที่เข้าใจดีในพื้นที่ส่วนใหญ่ของโลก<ref name="EcclesPg_a" /> ในสหรัฐอเมริกา โรคหวัดทำให้มีการพบแพทย์ 75–100 ล้านครั้งต่อปี โดยประเมินราคาเบื้องต้น 7,700 ล้าน[[ดอลล่าร์สหรัฐ]]ต่อปี ชาวอเมริกันใช้เงิน 2,900 ล้านดอลล่าร์สหรัฐไปกับยาที่ไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์และอีก 400 ล้านดอลล่าร์สหรัฐไปกับยาตามใบสั่งเพื่อบรรเทาอาการ<ref name=Frend03>{{cite journal | author = Fendrick AM, Monto AS, Nightengale B, Sarnes M | title = The economic burden of non-influenza-related viral respiratory tract infection in the United States | journal = Arch. Intern. Med. | volume = 163 | issue = 4 | pages = 487–94 | year = 2003 | pmid = 12588210 | doi = 10.1001/archinte.163.4.487 }}</ref> กว่าหนึ่งในสามของผู้ที่มาพบแพทย์ได้รับใบสั่งยาปฏิชีวนะ ซึ่งส่อว่าอาจมีการดื้อยาปฏิชีวนะเกิดขึ้นได้<ref name=Frend03/> มีการประเมินว่ามีการขาดเรียน 22–189 ล้านวันทุกปีเนื่องจากโรคหวัด ผลคือ ผู้ปกครองเสียวันทำงาน 126 ล้านวันเพื่ออยู่บ้านดูแลบุตรของตน เมื่อรวมกับวันทำงานอีก 150 ล้านวันที่ลูกจ้างป่วยเป็นโรคหวัด ผลกระทบความสูญเสียทางเศรษฐกิจรวมของงานที่เกี่ยวข้องกับโรคหวัดเกิน 20,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐต่อปี<ref name="NIAID2006"/><ref name=Frend03/> ซึ่งคิดเป็น 40% ของเวลาทำงานที่เสียไปในสหรัฐอเมริกา<ref>{{cite journal | author = Kirkpatrick GL | title = The common cold | journal = Prim. Care | volume = 23 | issue = 4 | pages = 657–75 | year = 1996 | month = December | pmid = 8890137 | doi = 10.1016/S0095-4543(05)70355-9 }}</ref>
 
บริษัทส่วนใหญ่ยังเสนอวันที่ลางานได้โดยได้รับเงินค่าจ้างเต็มจำนวนต่อปี เพื่อหลีกเลี่ยงความผิดพลาดระหว่างการทำงาน และการติดต่อโรคหวัดในที่ทำงาน
 
ในสหรัฐอเมริกา นักวิจัยจาก[[มหาวิทยาลัยมิชิแกน]] [[ดร. เอ. มาร์ค เฟนดริค]] (Dr. A. Mark Fendrick) ได้ตีพิมพ์บทความใน [[พ.ศ. 2546]] เกี่ยวกับผลกระทบของโรคหวัดต่อคน จากการศึกษาพบว่าโรคหวัดทำให้ประชากรต้องไปพบแพทย์ถึง 100 ล้านครั้งต่อปี และเสียค่าใช้จ่ายจำนวน 7.7 พันล้าน[[ดอลลาร์สหรัฐ]] ต่อปี (ประมาณ 3 แสนล้าน[[บาท]]) โดยมีผู้ป่วยถึงหนึ่งในสามเห็นว่าแพทย์ได้สั่งยาปฏิชีวนะมาให้แก่พวกเขา โดยเฟนดริคกล่าวว่าไม่เพียงแต่นี่จะเป็นการเสียค่าใช้จ่ายโดนไม่จำเป็นเท่านั้น แต่การทานยาปฏิชีวนะเข้าไปบ่อยๆ อาจทำให้เกิดการดื้อยาเมื่อเกิดโรคชนิดอื่นอีกด้วย
 
การศึกษายังพบอีกว่าชาวอเมริกันเสียเงินจากการซื้อยาที่ร้านขายยาทั่วไปถึง 2.9 พันล้านดอลลาร์ (ประมาณ 1.2 แสนล้านบาท) และอีก 4 ร้อยล้านดอลลาร์ (1.6 หมื่นล้านบาท) ไปกับยาที่แพทย์สั่งเพื่อบรรเทาอาการ นอกจากนี้ ผู้ป่วยเป็นโรคหวัดยังเสียค่าใช้จ่ายอีก 1.1 พันล้านดอลลาร์ต่อปี (4.4 หมื่นล้านบาท) ไปกับยาปฏิชีวนะประมาณ 41 ชนิด แม้ว่ายาปฏิชีวนะจะไม่มีผลใดๆ กับเชื้อไวรัสไข้หวัดเลย
 
จากการศึกษาได้รายงานว่า มีประชากรเด็กขาดเรียนรวมกันถึง 189 ล้านวันเนื่องจากโรคหวัด ด้วยเหตุดังกล่าว จึงทำให้พ่อแม่ของเด็กต้องลางานรวมกันถึง 126 ล้านวันเพื่ออยู่ที่บ้านและคอยดูแลลูกที่ป่วยเป็นหวัด ซึ่งเมื่อรวมกับลูกจ้างที่ลางานเนื่องจากเป็นหวัดแล้ว ผลกระทบโดยรวมของโรคหวัดต่อเศรษฐกิจเฉพาะในสหรัฐอเมริกานั้น รวมเป็นเงินถึง 2 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือ 8 แสนล้านบาทเลยทีเดียว
 
== อ้างอิง ==