ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกิพีเดีย:แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 25:
* บทความควรยึดแหล่งข้อมูลทุติยภูมิเมื่อใดก็ตามที่หาได้ ตัวอย่างเช่น บทความปฏิทัศน์ เอกสารเฉพาะเรื่องหรือตำราเรียนดีกว่างานวิจัยปฐมภูมิ เมื่อยึดแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ แนะนำให้ใช้ความระมัดระวังอย่างยิ่ง ชาววิกิพีเดียควรไม่ตีความเนื้อหาของแหล่งข้อมูลปฐมภูมิด้วยตนเอง
* เนื้อหาอย่างบทความ หนังสือ เอกสารเฉพาะเรื่อง หรืองานวิจัยที่ผ่านการกรอง (vet) โดยชุมชนวิชาการถือว่าน่าเชื่อถือ หากเนื้อหานั้นถูกพิมพ์เผยแพร่ในแหล่งข้อมูลที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองทีน่าเชื่อถือหรือโดยสิ่งตีพิมพ์วิชาการที่ได้รับการยอมรับ โดยทั่วไปจะผ่านการกรองโดยนักวิชาการหนึ่งคนหรือกว่านั้น
* วาทนิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ซึ่งถูกเขียนขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งต้องการหลักสูตรปริญญาเอก ซึ่งสาธารณะเข้าถึงได้ นักวิชาการถือว่าเป็นสิ่งพิมพ์เผยแพร่ และสามารถอ้างอิงในเชิงอรรถได้หากวาทนิพนธ์นั้นแสดงว่าเข้าสู่วจนิพนธ์วิชาการกระแสหลัก ฉะนั้นจึงได้รับการกรองโดยชุมชนวิชาการ การแสดงว่าวาทนิพนธ์นั้นเข้าสู่วจนิพนธ์กระแสหลักดูได้จากการตรวจสอบการอ้างอิงวิชาการที่วาทนิพนธ์นั้นได้รับในดัชนีการอ้างอิง บทแทรก คือ วารสารที่ไม่รวมอยู่ในดัชนีการอ้างอิง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาที่ดัชนีดังกล่าวมีขอบเขตครอบคลุมดี ควรใช้ด้าวยความระมัดระวัง และเฉพาะเมื่อเข้าเกณฑ์อื่น เช่น ชื่อเสียงของนักวิชาการ สนับสนุนการใช้เท่านั้น วาทนิพนธ์ที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ยังไม่ผ่านการกรอง และไม่ถือว่าตีพิมพ์แล้ว ฉะนั้นจึงไม่เป็นแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือตามกฎ วาทนิพนธ์ระดับปริญญาโทและวิทยานิพนธ์จะถือว่าน่าเชื่อถือได้หากสามารถแสดงให้เห็นว่ามีอิทธิพลทางวิชาการอย่างสำคัญ
* การศึกษาเอกเทศโดยทั่วไปถือว่ายังไม่แน่นอน และอาจเปลี่ยนแปลงได้หากมีการวิจัยทางวิชาการเพิ่มเติม ความน่าเชื่อถือของการศึกษาเอกเทศขึ้นอยู่กับสาขา การศึกษาที่เกี่ยวข้องกับสาขาที่ซับซ้อนและยากจะเข้าใจ อย่างแพทยศาสตร์ จะมีความสมบูรณ์น้อยกว่า หลีกเลี่ยงการให้น้ำหนักอย่างไม่เหมาะสมเมื่อใช้การศึกษาเอกเทศในสาขาเหล่านี้ ควรเลือกการวิเคราะห์อภิมาน ตำราเรียนและบทความที่ได้รับการทบทวนทางวิชาการแทนเมื่อหาได้ เพื่อให้บริบทที่่เหมาะสม
* ควรระมัดระวังกับวารสารที่มีอยู่เพื่อสนับสนุนมุมมองใดมุมมองหนึ่งเป็นหลัก การอ้างว่าผ่านการพิจารณากลั่นกรองมิใช่ตัวบ่งชี้ว่าวารสารนั้นได้รับความน่าเชื่อถือ หรือมีการพิจารณากลั่นกรองที่มีความหมายเกิดขึ้นแต่อย่างใด วารสารที่ไม่ได้รับการพิจารณากลั่นกรองโดยชุมชนวิชาการอย่างกว้างขวางไม่ควรถือว่าน่าเชื่อถือ ยกเว้นเพื่อแสดงให้เห็นมุมมองของกลุ่มที่วารสารเหล่านั้นเป็นตัวแทน
 
{{โครงวิกิพีเดีย}}