ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกิพีเดีย:แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 21:
== แหล่งข้อมูลบางชนิด ==
บทความวิกิพีเดียหลายบทอาศัยเนื้อหาวิชาการ เมื่อหาได้ สิ่งตีพิมพ์วิชาการและที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรอง (peer review) เอกสารเฉพาะเรื่องเชิงวิชาการและตำราเรียนโดยทั่วไปเป็นแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือที่สุด อย่างไรก็ดี เนื้อหาวิชาการบางอย่างอาจล้าสมัย แข่งขันกับทฤษฎีทางเลือก หรือเป็นที่พิพาทในสาขาที่เกี่ยวขข้อง พยายามอ้างความเห็นส่วนใหญ่เชิงวิชาการที่เป็นปัจจุบันเมื่อหาได้ แต่ยอมรับว่าเหตุการณ์นี้มักไม่เกิดขึ้น แหล่งข้อมูลมิใช่เชิงวิชาการที่น่าเชื่อถือยังอาจใช้ในบความเกี่ยวกับประเด็นวิชาการได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อหาจากสิ่งพิมพ์เผยแพร่กระแสหลักคุณภาพสูง การตัดสินใจว่าแหล่งข้อมูลใดเหมาะสมขึ้นอยู่กับบริบท เนื้อหาควรมีการอ้างอิงในเนื้อความ (in-text) เมื่อแหล่งข้อมูลขัดแย้งกัน
 
=== วิชาการ ===
* บทความควรยึดแหล่งข้อมูลทุติยภูมิเมื่อใดก็ตามที่หาได้ ตัวอย่างเช่น บทความปฏิทัศน์ เอกสารเฉพาะเรื่องหรือตำราเรียนดีกว่างานวิจัยปฐมภูมิ เมื่อยึดแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ แนะนำให้ใช้ความระมัดระวังอย่างยิ่ง ชาววิกิพีเดียควรไม่ตีความเนื้อหาของแหล่งข้อมูลปฐมภูมิด้วยตนเอง
* เนื้อหาอย่างบทความ หนังสือ เอกสารเฉพาะเรื่อง หรืองานวิจัยที่ผ่านการกรอง (vet) โดยชุมชนวิชาการถือว่าน่าเชื่อถือ หากเนื้อหานั้นถูกพิมพ์เผยแพร่ในแหล่งข้อมูลที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองทีน่าเชื่อถือหรือโดยสิ่งตีพิมพ์วิชาการที่ได้รับการยอมรับ โดยทั่วไปจะผ่านการกรองโดยนักวิชาการหนึ่งคนหรือกว่านั้น
* วาทนิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ซึ่งถูกเขียนขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งต้องการปริญญาเอก ซึ่งสาธารณะเข้าถึงได้ นักวิชาการถือว่าเป็นสิ่งพิมพ์เผยแพร่ และสามารถอ้างอิงในเชิงอรรถได้หากวาทนิพนธ์นั้นแสดงว่าเข้าสู่วจนิพนธ์วิชาการกระแสหลัก ฉะนั้นจึงได้รับการกรองโดยชุมชนวิชาการ การแสดงว่าวาทนิพนธ์นั้นเข้าสู่วจนิพนธ์กระแสหลักดูได้จากการตรวจสอบการอ้างอิงวิชาการที่วาทนิพนธ์นั้นได้รับในดัชนีการอ้างอิง บทแทรก คือ วารสารที่ไม่รวมอยู่ในดัชนีการอ้างอิง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาที่ดัชนีดังกล่าวมีขอบเขตครอบคลุมดี ควรใช้ด้าวยความระมัดระวัง และเฉพาะเมื่อเข้าเกณฑ์อื่น เช่น ชื่อเสียงของนักวิชาการ สนับสนุนการใช้เท่านั้น วาทนิพนธ์ที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ยังไม่ผ่านการกรอง และไม่ถือว่าตีพิมพ์แล้ว ฉะนั้นจึงไม่เป็นแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือตามกฎ วาทนิพนธ์ระดับปริญญาโทและวิทยานิพนธ์จะถือว่าน่าเชื่อถือได้หากสามารถแสดงให้เห็นว่ามีอิทธิพลทางวิชาการอย่างสำคัญ
 
{{โครงวิกิพีเดีย}}