ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกิพีเดีย:แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: {{แนวปฏิบัติ}} บทความวิกิพีเดียควรยึด'''แหล่งข้อมูลตีพิมพ์ที่...
 
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 12:
 
แนวปฏิบัติในหน้านี้อภิปรายความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลหลากชนิด นโยบายว่าด้วยแหล่งข้อมูล คือ [[WP:V|วิกิพีเดีย:การพิสูจน์ยืนยันได้]] ซึ่งต้องการการอ้างอิงในบรรทัดสำหรับเนื้อหาใด ๆ ที่ถูกคัดค้านหรือมีแนวโน้มจะถูกคัดค้าน และสำหรับข้อกล่าวอ้าง (quotation) ทั้งหมด นโยบายนี้บังคับใช้อย่างเข้มงวดกับทุกเนื้อหาในเนมสเปซหลัก บทความ รายชื่อ และส่วนหนึ่งส่วใดของบทความ โดยไม่มีข้อยกเว้น และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง [[WP:BLP|ชีวประวัติของบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่]]
 
== ภาพรวม ==
บทความควรยึดแหล่งข้อมูลตีพิมพ์บุคคลภายนอก (third-party) ที่น่าเชื่อถือ ซึ่งมีชื่อเสียงในการตรวจสอบข้อเท็จจริงและความแม่น หมายความว่า เราเพียงแต่เผยแพร่ความคิดเห็นของผู้ประพันธ์ที่น่าเชื่อถือ มิใช่ความคิดเห็นของชาววิกิพีเดียที่อ่านและตีความเนื้อหาแหล่งข้อมูลปฐมภูมิเอง การอ้างอิงอย่างเหมาะสมขึ้นอยู่กับบริบทเสมอ สามัญสำนึกและการวินิจฉัยเชิงอัตวิสัย (editorial judgment) เป็นส่วนหนึ่งของขบวนการที่ขาดมิได้
 
คำว่า "ตีพิมพ์" เกี่ยวข้องมากที่สุดกับเนื้อหาที่เป็นข้อความ ไม่ว่าจะในรูปแบบตีพิมพ์ดั้งเดิมหรือออนไลน์ อย่างไรก็ดี เนื้อหาเสียง วีดิทัศน์และมัลติมีเดียที่ถูกบันทึกแล้วแพร่สัญญาณ แจกจ่ายหรือเก็บไว้โดยผู้ที่น่าเชื่อถือ (reputable party) ยังอาจเข้าเกณฑ์ที่จำเป็นที่จะถูกพิจารณาว่าเป็นแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เช่นเดียวกับแหล่งข้อมูลที่เป็นข้อความ แหล่งข้อมูลสื่อต้องถูกผลิตโดยบุคคลภายนอกที่น่าเชื่อถือ และมีการอ้างอิงอย่างเหมาะสม ยิ่งไปกว่านั้น ต้องมีสำเนาที่เก็บไว้ของสื่อนั้นอยู่ด้วย จะเป็นการสะดวกสำหรับสำเนาที่เก็บไว้ที่เข้าถึงได้ผ่านอินเทอร์เน็ต แต่ไม่จำเป็น
 
{{โครงวิกิพีเดีย}}