ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แรงงานเกณฑ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: '''กอร์เว''' ({{lang-fr|''corvée''}}) เป็นแรงงานไม่เสรี มักไม่ได้รับค่าจ้าง ซึ...
 
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''กอร์เว''' ({{lang-fr|''corvée''}}) เป็นแรงงานไม่เสรี มักไม่ได้รับค่าจ้าง ซึ่งต้องอาศัยบุคคลที่มีฐานะทางสังคมต่ำ และรัฐหรือผู้ที่เหนือกว่า (เช่น ชนชั้นสูงหรือขุนนาง) กอร์เวเป็นการเก็บ[[ภาษี|ภาษีอากร]]รูปแบบเก่าแก่ที่สุดและแพร่หลายที่สุด สืบย้อนไปได้ถึงกำเนิด[[อารยธรรม]] กอร์เวเป็นการใช้แรงงานบังคับที่กำหนดโดยรัฐต่อชาวนาที่ยากจนกว่าจะจ่ายภาษีรูปแบบอื่น<ref>{{cite book|title=A History of Taxation and Expenditure in the Western World|authors=Carolyn Webber and Aaron B. Wildavsky|date=1986|page=68|quote=Corvée, the mandatory contribution of personal labor to the state, was the earliest form of taxation for which records exist; indeed, in the ancient Egyptian language the word "labor" was a synonym for taxes.}}</ref> แต่บางครั้งบุคคลที่มีทรัพยากรเงินก็ยังถูกเกณฑ์อยู่ดี
 
แรงงานในระบบกอร์เวยังมีอิสระโดยสมบูรณ์ในหลายด้าน นอกเหนือจากการใช้แรงงานของตน และงานนั้นมีเว้นระยะโดยปกติ ซึ่งมีกำหนดเป็นจำนวนวันหรือเดือนที่แน่นอนในแต่ละปี กอร์เวเป็นแรงงานไม่สรีที่กรรมกรไม่ได้รับการชดเชยหรือได้รับการชดเชยไม่เต็มที่ ระบบกอร์เวไม่จำเป็นต้องอาศัยประชากรที่มีที่ดิน พืชผลหรือเงิน ฉะนั้น กอร์เวจึงมักเป็นที่นิยมในเศรษฐกิจที่ขาดแคลนเงิน กอร์เวยังพบมากในเศรษฐกิจที่[[การแลกเปลี่ยน]]ยังเป็นวิธีการค้าเป็นปกติ หรือในเศรษฐกิจยังชีพ
 
คำนี้ใช้อ้างอิงถึงยุโรปยุคกลางหรือยุคใหม่ตอนต้น ที่ซึ่งเจ้าเรียกร้องจากข้า หรือพระมหากษัตริย์ทรงเรียกร้องจากคนในบังคับ อย่างไรก็ดี การใช้คำนี้ไม่จำกัดเฉพาะเวลาหรือสถานที่นั้น การปฏิบัติมีแพร่หลาย ตั้งแต่อียิปต์ โรม จีนและญี่ปุ่น ฝรั่งเศส อารยธรรมอินคา ฯลฯ รวมถึงประเทศไทยในอดีตด้วย
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
 
[[หมวดหมู่:ภาษี]]