ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ระบบฟิวดัล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 23:
 
ระบบเจ้าขุนมูลนายตะวันตกที่วิวัฒนาการขึ้นในขณะที่บ้านเมืองอยู่ในสภาพอันระส่ำระสายในคริสต์ศตวรรษที่ 8 ในฝรั่งเศสเป็นระบบที่ทำให้สร้างความมีกฎมีระเบียบขึ้นบ้าง การเป็นเจ้าของดินแดนก็อาจจะได้มาโดยการยินยอมหรือการยึดครอง ผู้ครองดินแดนใหญ่ๆ อาจจะได้รับหน้าที่ทางกฎหมายและทางการปกครองจากรัฐบาลกลางพอสมควร เมื่อมาถึงระดับดินแดนในปกครองผู้ครองดินแดนก็อาจจะทำข้อตกลงกับเจ้าของดินแดนที่ย่อยลงไปอื่นๆ ในการก่อตั้งกองทหารท้องถิ่นเพื่อการป้องกันตนเอง ระบบศักดินาเป็นระบบที่มีกฎหมายและจารีตที่เป็นของตนเองที่มามีบทบาทอันสำคัญในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของยุโรปในยุคกลาง ระบบศักดินานำเข้ามาใช้ในอังกฤษโดย[[พระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ]]ในปี พ.ศ. 1609 แต่ทรงลิดรอนอำนาจจากขุนนางที่เป็นบริวารของพระองค์เป็นอันมากและใช้ระบบการบริหารจากส่วนกลาง ระบบศักดินามีองค์ประกอบสามอย่าง: เจ้าของที่ดิน, ที่ดิน และ รัฐบาล สมาชิกในระบบศักดินารวมทั้งพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของระบบ แต่ละคนต่างก็มีอภิสิทธิ์แตกต่างกันไปตามที่ระบุตามกฎระบบศักดินาในการรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่กำหนด
 
=== ระดับชั้นในระบบ ===
ระบบเจ้าขุนมูลนายของยุโรปนี้แตกต่างจากระบบศักดินาไทยอย่างสิ้นเชิง เพราะเป็นระบบดังกล่าวข้างต้น ที่มีนาย และข้า ถัดลงไปตามลำดับ โดยระดับสูงคือ[[จักรพรรดิ]]ที่อาจมีรัฐบริวาร (Vassal) รองลงมาคือ [[กษัตริย์]] และ [[อาร์ชดยุก]] เช่นใน[[จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์]] กษัตริย์ก็มีข้ารองลงมา ปกครองดินแดนย่อยลงไปคือ [[ดยุก]] และถัดไปตามลำดับ ขุนนางและผู้ครองดินแดนของยุโรปแบ่งออกเป็น 5 ระดับดังนี้
 
# [[ดยุก]]
# [[มาร์ควิส]]
# [[เอิร์ล]] (อังกฤษ) หรือ [[เคานต์]] หรือ [[มาร์เกรฟ]] (ภาคพื้นยุโรป)
# [[ไวเคานต์]]
# [[บารอน]]
 
ตำแหน่งต่างๆ เหล่านี้ ส่วนใหญ่เป็นตำแหน่งสืบสกุล พระมหากษัตริย์มีสิทธิที่จะพระราชทานตำแหน่งใหม่ หรือเพิกถอน หรือผนวกดินแดนเป็นของหลวง แต่ละตระกูลจะสืบสกุลไปจนกว่าจะสิ้นบุตรชายหรือถูกปลดหรือถูกผนวกโดยดินแดนอื่น ลักษณะของดินแดนที่ครองก็เปลี่ยนไปตามความผันผวนทางการเมือง, การแบ่งแยกที่ดินระหว่างทายาท หรือการรวมตัวกันเป็น[[รัฐร่วมประมุข]] และอื่นๆ บางตำแหน่งก็เป็นตำแหน่งเลือกตั้งหรือการเลื่อนระดับเช่นตำแหน่งเจ้าผู้ครอง[[ราชรัฐมุขนายก]] แม้ว่าผู้ครองดินแดนเหล่านี้อาจจะไม่เป็นข้าราชการโดยตรงแต่ก็มีหน้าที่รับผิดชอบต่อผู้เหนือกว่า ขุนนางเหล่านี้จะมี[[ที่ดินกรรมสิทธิ์]]เป็นของตนเอง มี[[ข้าที่ดิน]] (serfs) คือสามัญชนที่ทำกินในที่ดินของขุนนาง และต้องจ่ายภาษีให้ขุนนางเจ้าของที่ดินนั้น และขุนนางมีอำนาจตัดสินคดีความในเขตของตน และจะต้องส่ง ทหารที่พร้อมรบ ไปรวมทัพกับกษัตริย์ในกรณีที่มีการระดมพล ในการทำสงคราม ขุนนางจะต้องรับผิดชอบ เกณฑ์คนในเขตของตนไปร่วมกองทัพ
 
{{ประวัติศาสตร์ยุโรป}}