ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ดาดา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ZOMM-Fotografa (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ลิงก์ข้ามภาษา +จัดหมวดหมู่
บรรทัด 1:
'''ดาดา''' (อังกฤษ: DADA) หรือ'''ดาดาอิสม์''' (Dadaism) เป็น[[ลัทธิ]]หรือกระแสความเคลื่อนไหวทาง[[ศิลปะ]]ที่เกิดขึ้นในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับศิลปะแบบเซอร์เรียลิสม์ (Surrealism) ลักษณะโดยรวมของกลุ่มดาดานั้นจะมีน้ำหนักไปในแนวทางต่อต้านสังคมและกฎเกณฑ์ความงามของศิลปะแบบเดิมๆ ซึ่งเคยเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป กล่าวได้ว่า ดาดาใช้ศิลปะเป็นเครื่องมือในการกบฏต่อทุกสิ่งที่เคยมีมาในอดีต
 
===ประวัติความเป็นมา===
ในช่วงต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นช่วงเวลาที่มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างมากมาย เนื่องจากเป็นช่วง[[สงครามโลกครั้งที่ 1]] และการปฏิวัติของรัสเซีย และในช่วงนี้เอง ดาดาก็ได้กำเนิดขึ้นมาจากกลุ่มนักกวี นักประพันธ์ต่างๆ ในยุโรป พวกเขาสร้างผลงานแนวใหม่โดยเป็นปฏิปักษ์ศิลปะแบบเก่า และสร้างค่านิยมใหม่ที่มีความเป็นสากล เหตุผลต่างๆ มาจากการเกิดสงครามและมีศิลปินกลุ่มหนึ่งต้องการแสดงออกถึงอาการเยาะเย้ย ถากถางสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมและมองโลกในด้านลบว่าคนเลวทำร้ายทุกอย่างได้ กลุ่มดาดาจึงสร้างผลงานที่ผิดจากหลักการความจริง ทำให้เป็นเรื่องเหลวใหลน่าหัวเราะ
 
ขณะนั้น เมือง[[ซูริค]] ประเทศ[[สวิตเซอร์แลนด์]] เป็นแหล่งรวมคนที่หลบหนีและถูกบีบคั้นทางสังคมจากประเทศต่างๆ เพราะสวิตเซอร์แลนด์นั้นถูกกำหนดให้เป็นประเทศที่เป็นกลางทางสงคราม ที่เมืองซูริคนี้เอง มีร้านเครื่องดื่มร้านหนึ่งชื่อว่า คาบาเรต์ วอลแตร์ (Cabaret Voltaire) ซึ่งมีความสำคัญในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของการเริ่มต้น “ดาดา” เมื่อราวเดือนกุมภาพันธ์ 1916 เพราะเป็นแหล่งชุมนุมรวมตัวของศิลปินและกวีที่มาพบปะพูดคุยกัน โดยมี ฮิวโก บอลล์ นักประพันธ์ชาวเยอรมันผู้ลี้ภัยคนหนึ่งเป็นเจ้าของกิจการ ซึ่งเขาได้จัดสถานที่แห่งนี้ให้เป็นแหล่งชุมนุมสำหรับการปรับปรุงพัฒนาศีลธรรม วัฒนธรรม และคุณค่าทางสังคมที่สูญเสียเพราะสงครามขึ้นใหม่ และเมื่อปี 1927 บอลล์เสียชีวิตลง เขาได้รับการยกย่องให้เป็นดุจนักบุญทางศาสนาประจำเมืองอีกด้วย และถึงแม้ว่าผลงานของกลุ่มดาดาส่วนใหญ่จะล้อเลียนเสียดสีสังคม ทำทุกอย่างให้เป็นเรื่องน่าขำ จุดประสงค์หนึ่งก็เพื่อเตือนให้ผู้คนตระหนักถึงผลลัพธ์ของการทำสงคราม แต่ก็มีกลุ่มดาดาที่รวมเอาศาสนาเข้ามาจับกับงานศิลปะ และก็มีกลุ่มของดาดาต่อต้านดาดาที่เอาศิลปะทางโลกมาต่อต้านเรื่องของศาสนา สำหรับหลายคนอาจมองว่า ดาดาไม่ได้เป็นงาน[[ประวัติศาสตร์ศิลปะ]]ในช่วงศตวรรษที่ 20 แต่มองว่าดาดาเป็นงาน[[ศิลปะสมัยใหม่]]
 
===ที่มาของคำว่า “ดาดา”===
ชื่อ “ดาดา” นี้เกิดขึ้นมาจากกลุ่มศิลปินหลายคน อาทิเช่น ทรีสตัน ซาร่า, ฮิวโก้ บอลล์, ริชาร์ด ฮูลเซนเบค, เคิร์ท ชวิตเตอร์ส, ฮานส์ อาร์ป โดยพวกเขาใช้มีดพับสอดเข้าไปในพจนานุกรมภาษาเยอรมัน-ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นคู่รบกันในสงคราม ผลก็คือพวกเขาสุ่มได้คำว่า “ดาดา” (DADA) เป็นคำแสลงในภาษาฝรั่งเศสแปลว่า ม้าโยก คำนี้จึงกลายเป็นชื่อกลุ่มนับแต่นั้นมา ที่สำคัญ คำว่า ดาดา นี้ยังสอดคล้องกับบุคลิกลักษณะของศิลปินกลุ่มนี้ที่พยายามเยาะเย้ยสังคมอย่างสนุกราวกับเป็นเด็กๆ ที่ทำตัวไม่มีสาระและยุ่งเหยิง
 
===ดาดาในปารีส (ปารีส ดาดา)===
ทรีสตัน ซาร่าเป็นผู้ที่นำแนวคิดดาดาไปเผยแพร่ยังกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส โดยกลุ่มดาดาในปารีสนั้น ได้รับอิทธิพลจากการอ่านหนังสือ “การแปลความฝัน” ของ[[ซิกมันต์ ฟรอยด์]] ซึ่งพวกเขาใช้แนวคิดเรื่องจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์มาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานเพื่อแสดงถึงความปรารถนาในจิตใต้สำนึก
 
===ดาดาในสหรัฐอเมริกา===
ดาดาในสหรัฐอเมริกา พบว่าเริ่มมีบทบาทเมื่อราวปี 1913 โดย มาร์เซล ดูชองป์ และ ฟรานซิส พิคาเบีย มีศูนย์กลางที่ใช้เคลื่อนไหวอยู่ที่ร้านถ่ายภาพของ อัลเฟรด สติกลิทซ์ ซึ่งเป็นช่างภาพ อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาดังกล่าวนั้น สหรัฐอเมริกาก็เริ่มมีความวุ่นวายอันสืบเนื่องมาจากการทำสงครามโลกครั้งที่ 1
 
===ผลกระทบต่อสังคม===
ดาดา กลายเป็นกระแสลัทธิทางศิลปะที่เคลื่อนไหวไปในยุโรปอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นในปารีส เบอร์ลิน โคโลญจ์ อิตาลี ไอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ รวมไปถึงทางฝั่งสหรัฐอเมริกา ด้วยเหตุที่ว่า ดาดาเป็นรูปแบบที่ไร้กฎข้อบังคับ มีอิสระเสรีในการสร้างผลงาน และต่อต้านขนบเดิมที่เคยมีอยู่ อีกทั้งยังมีปัจจัยเรื่องการต่อต้านสงคราม การต่อต้านสังคมและการเมืองการปกครองมาเกี่ยวข้อง เหล่านี้ส่งผลให้ “ผลงานศิลปะ” ในแบบของดาดาถูกสร้างสรรค์ขึ้นจากวัสดุและวิธีคิดที่หลากหลาย ไม่จำกัดอยู่ในกรอบเดิมๆ รวมไปถึงเรื่องของความงามหรือสุนทรียภาพของผลงานก็ถูกสร้างความหมายใหม่ขึ้น เรียกได้ว่า วัตถุธรรมดาๆ ในชีวิตประจำวันกลายเป็นผลงานศิลปะได้เพียงแค่ตั้งชื่อและจัดแสดงมันในนิทรรศการศิลปะเท่านั้นเอง หรือในอีกทางหนึ่ง ศิลปะอาจเกิดจากความบังเอิญ คำพูด จินตภาพ หรือแม้กระทั่งความคิดต่อต้านศิลปะก็ได้
 
===เทคนิคทางศิลปะที่ได้รับการพัฒนา===
เทคนิคคอลลาจ ([[:en:Collage]]), เทคนิคโฟโต้มอนทาจ ([[:en:Photomontage]]), เทคนิคแอสเซมเบลจ ([[:en:Assemblage]] และเทคนิคเรดดี้เมดส์ ([[:en:Readymades]]) ของมาร์เซล ดูชองป์
 
บรรทัด 29:
* ฟรานซิล พิคาเบีย ([[:en:Francis Picabia]])
* แมน เรย์ ([[:en:Man Ray]])
 
===ตัวอย่างผลงานศิลปะในกระแสดาดา===
 
===หนังสือที่เกี่ยวข้อง===
* Ileana B. Leavens. From "291" to Zurich : the birth of Dada. Mich.: UMI Research Press, 1983.
* William A. Camfield. Max Ernst : dada and the dawn of surrealism. Munich: Prestel, 1993.
 
===อ้างอิง===
เส้น 52 ⟶ 46:
* http://chroniquart.craym.eu/mapage3/index.html
* http://www.nga.gov/education/classroom/pdf/dada_student_guide.pdf
 
[[หมวดหมู่:สมัยใหม่นิยม]]
 
[[en:Dada]]
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ดาดา"