ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Poompong1986 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 40:
}}
 
'''การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519''' จัดเป็น '''การเลือกตั้งเป็นครั้งที่ 13 ของประเทศไทย''' [[การเลือกตั้งในประเทศไทย|การเลือกตั้ง]]ครั้งนี้เกิดเนื่องจาก [[หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช]] [[นายกรัฐมนตรีไทย|นายกรัฐมนตรี]] ได้ตรา[[พระราชกฤษฎีกา]][[การยุบสภาผู้แทนราษฎรไทย|ยุบสภาสภาผู้แทนราษฎร]]ขึ้น เมื่อวันที่ [[12 มกราคม]] [[พ.ศ. 2519]] เนื่องจากรัฐบาลประสบปัญหาหลายประการทั้ง[[การเมืองไทย|การเมือง]]และการเรียกร้องต่าง ๆ ของประชาชนทั่วประเทศ โดยให้มีการเลือกตั้งขึ้นเมื่อวันที่ [[4 เมษายน]] ปีเดียวกัน
 
ผลการเลือกตั้ง ปรากฏว่า [[พรรคประชาธิปัตย์]] โดยการนำของ ม.ร.ว.[[เสนีย์ ปราโมช]] หัวหน้าพรรค ซึ่งเป็นอดีตนายกรัฐมนตรีและเป็นพี่ชายของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก โดยได้รับเลือกมาเป็นอันดับหนึ่ง ได้[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]] (ส.ส.) ทั้งหมดถึง 114 คน จากจำนวน ส.ส.ทั้งหมดที่จะมีได้ คือ 279 คน นับว่ามากที่สุดเท่าที่เคยมีมา โดยเฉพาะในพื้นที่[[กรุงเทพมหานคร]] ซึ่งเป็น[[เมืองหลวง]] พรรคประชาธิปัตย์ได้ ส.ส.มากถึง 24 คน<ref>[http://www.democrat.or.th/th/about/history/ ประวัติพรรคประชาธิปัตย์]</ref> ถือว่าได้ยึดครองพื้นที่ทั้งหมดของกรุงเทพฯไว้ได้ ขณะที่[[พรรคกิจสังคม]] ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ได้ ส.ส.มาทั้งหมด 45 คน ถือเป็นอันดับสาม โดยที่[[พรรคชาติไทย]]ได้เป็นอันดับสอง คือ 56 ที่นั่ง <ref>Sangchai, Somporn (1979), "Some Observations on the Elections and Coalition Formation in Thailand, 1976", Modern Thai Politics (Transaction Publishers): p. 378, http://books.google.com/books?id=Gqk9_jozvRcC&pg=PA378&lpg=PA378&dq=social+action+party+thailand+centre+left&source=bl&ots=N7zKxXAlDd&sig=OieZDawsUM1CyukQwM6m3fBn8nU&hl=en&sa=X&ei=JbUhT_HfFcyxhAfxsOn5BA&redir_esc=y#v=onepage&q=social%20action%20party%20thailand%20centre%20left&f=false</ref>
 
มีการวิเคราะห์กันว่า พรรคกิจสังคมของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ที่ไม่ประสบความสำเร็จในการเลือกตั้งครั้งนี้ เพราะการบริหารราชการที่ผ่านมาจากการยกเลิกความร่วมมือทางการทหารกับทาง[[ประเทศสหรัฐอเมริกา]] โดยไปเปิดสัมพันธ์ทางการทูตกับ[[ประเทศจีน|ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน]] ซึ่งเป็น[[คอมมิวนิสต์]]แทน อีกทั้งตัวของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ เองในครั้งนี้ก็ยังพ่ายแพ้การเลือกตั้งให้แก่ นาย[[สมัคร สุนทรเวช]] [[นักการเมือง]]หนุ่ม ผู้เป็นเสมือนดาวรุ่งในขณะนั้นของพรรคประชาธิปัตย์ ในพื้นที่[[เขตดุสิต]] ซึ่งเป็นพื้นที่ดั้งเดิมของตนเองด้วย
 
การจัดตั้งรัฐบาลเกิดขึ้นโดยเป็นรัฐบาลผสม 4 พรรค คือ พรรคประชาธิปัตย์, พรรคชาติไทย, [[พรรคธรรมสังคม]] และ[[พรรคสังคมชาตินิยม]] รวมกันแล้วมีจำนวนเสียง ส.ส.ทั้งหมด 206 เสียง ถือว่าเกินครึ่งหนึ่งของ[[สภาผู้แทนราษฎร]]
บรรทัด 51:
 
==ดูเพิ่ม==
* [[สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 12]]
* [[เหตุการณ์ 6 ตุลา]]
 
==อ้างอิง==
{{รายการอ้างอิง}}
 
[[en:Thai general election, 1976]]
{{การเลือกตั้งส.ส.ในไทย}}
 
[[หมวดหมู่:การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป]]
[[หมวดหมู่:การเลือกตั้งใน พ.ศ. 2519]]
 
[[en:Thai general election, 1976]]