ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วงแหวนไฟ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Pacific_Ring_of_Fire.png|thumb|right|250px|แผนที่วงแหวนแห่งไฟ]]
[[ไฟล์:MSH80 st helens eruption plume 07-22-80.jpg|thumb|200150px|right|การปะทุของ[[ภูเขาไฟเซนต์เฮเลนส์]] เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1980]]
 
'''วงแหวนแห่งไฟ''' ({{lang-en|Pacific Ring of Fire หรือ the Ring of Fire}}) เป็นบริเวณใน[[มหาสมุทรแปซิฟิก]]ที่เกิด[[แผ่นดินไหว]]และ[[ภูเขาไฟ]]ระเบิดบ่อยครั้ง มีลักษณะเป็นเส้นเกือกม้า ความยาวรวมประมาณ 40,000 กิโลเมตร และวางตัวตามแนว[[ร่องสมุทร]] แนวภูเขาไฟและบริเวณขอบ[[แผ่นเปลือกโลก]] โดยมีภูเขาไฟที่ตั้งอยู่ภายในวงแหวนแห่งไฟทั้งหมด 452 ลูก และเป็นพื้นที่ที่มีภูเขาไฟคุกกรุ่นอยู่กว่า 75% ของภูเขาไฟคุกกรุ่นทั้งโลก<ref>http://geography.about.com/cs/earthquakes/a/ringoffire.htm</ref> ซึ่งบางครั้งจะเรียกว่า circum-Pacific belt หรือ circum-Pacific seismic belt
 
[[แผ่นดินไหว]]ประมาณ 90% ของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นทั่วโลกและกว่า 80% ของแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ เกิดขึ้นในบริเวณวงแหวนแห่งไฟ นอกจากวงแหวนแห่งไฟ ยังมีแนวแผ่นดินไหวอีก 2 แห่ง ได้แก่ แนว[[เทือกเขาอัลไพน์]] ซึ่งมีแนวต่อมาจาก[[เกาะชวา]]สู่[[เกาะสุมาตรา]] ผ่าน[[เทือกเขาหิมาลัย]] และ[[ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน]] แนวแผ่นดินไหวแห่งนี้มีแผ่นดินไหวเกิดขึ้น 17% ของทั้งโลก และอีกแห่งคือ แนวกลาง[[มหาสมุทรแอตแลนติก]] ซึ่งมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้น 5-6% ของทั้งโลก<ref>[http://earthquake.usgs.gov/faq/hist.html#1 U.S. Geological Survey Earthquakes FAQ].</ref><ref>[http://earthquake.usgs.gov/image_glossary/ringoffire.html U.S. Geological Survey Earthquakes Visual Glossary].</ref>
 
[[ไฟล์:Mt.Mayon tam3rd.jpg|thumb|200px|left|[[ภูเขาไฟมายอน]] ประเทศฟิลิปปินส์]]
[[ไฟล์:MSH80 st helens eruption plume 07-22-80.jpg|thumb|200px|right|การปะทุของ[[ภูเขาไฟเซนต์เฮเลนส์]] เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1980]]
วงแหวนแห่งไฟเป็นผลมาจากการเคลื่อนที่และการชนกันของแผ่นเปลือกโลก<ref>[http://pubs.usgs.gov/publications/text/slabs.html <nowiki>Moving slabs [This Dynamic Earth, USGS]</nowiki>].</ref> แบ่งเป็นส่วนวงแหวนทางตะวันออก มีผลมาจาก[[แผ่นนาซคา]]และ[[แผ่นโคคอส]] ที่มุดตัวลงใต้แผ่น[[อเมริกาใต้]] ส่วนของ[[แผ่นแปซิฟิก]]ที่ติดกับแผ่นฮวนดีฟูกา ซึ่งมุดตัวลงแผ่น[[อเมริกาเหนือ]] ส่วนทางตอนเหนือที่ติดกับทางตะวันตกเฉียงเหนือของแผ่นแปซิฟิก มุดตัวลงใต้บริเวณเกาะเอลูเชียนจนถึงทางใต้ของประเทศญี่ปุ่น และส่วนใต้ของวงแหวนแห่งไฟเป็นส่วนที่มีความซับซ้อนของแผ่นเปลือกโลก มีแผ่นเปลือกโลกขนาดเล็กมากมายที่ติดกับแผ่นแปซิฟิก ซึ่งเริ่มตั้งแต่[[หมู่เกาะมาเรียน่า]] ประเทศฟิลิปปินส์ [[เกาะบัวเกนวิลเล]] ประเทศตองกา และประเทศนิวซีแลนด์ แนววงแหวนแห่งไฟยังมีแนวต่อไปเป็น แนวอัลไพน์ ซึ่งเริ่มต้นจากเกาะชวา เกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย รอยเลื่อนที่มีชื่อเสียงที่ตั้งบนวงแหวนแห่งไฟนี้ ได้แก่ [[รอยเลื่อนซานอันเดรียส]] ใน[[รัฐแคลิฟอร์เนีย]] ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีการเกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็กอยู่เป็นประจำ [[รอยเลื่อนควีนชาร์ลอตต์]] ทางชายฝั่งตะวันตกของ[[หมู่เกาะควีนชาร์ลอตต์]] [[รัฐบริติชโคลัมเบีย]] ประเทศแคนาดา ซึ่งทำให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ 3 ครั้ง ได้แก่ แผ่นดินไหวขนาด 7 ริกเตอร์เมื่อ ค.ศ. 1929 แผ่นดินไหวขนาด 8.1 ริกเตอร์ในปี ค.ศ. 1949 (แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่สุดในประเทศแคนาดา) และแผ่นดินไหวขนาด 7.4 ริกเตอร์ในปี 1970<ref>[http://www.litho.ucalgary.ca/publications/newsletter10.1/bird.html Earthquakes in the Queen Charlotte Islands Region 1984-1996] Retrieved on 2007-10-03</ref>
 
ภูเขาไฟที่มีชื่อเสียงที่ตั้งอยู่ในวงแหวนแห่งไฟ เช่น [[ภูเขาไฟวิลลาร์ริกา]] ประเทศชิลี [[ภูเขาไฟเซนต์เฮเลนส์]] ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเคยเกิดการระเบิดครั้งใหญ่เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1980 ได้พ่นเถ้าถ่านออกมากว่า 1.2 ลูกบาศก์กิโลเมตร [[ภูเขาไฟฟูจิ]] ประเทศญี่ปุ่น ระเบิดครั้งล่าสุดเมื่อ ค.ศ. 1707 [[ภูเขาไฟพินาตูโบ]] [[ภูเขาไฟมายอน|มายอน]] [[ภูเขาไฟทาล|ทาล]] และ[[ภูเขาไฟคานลายอน|คานลายอน]] ประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งภูเขาไฟพินาตูโบเคยเกิดระเบิดครั้งใหญ่ที่สุดเมื่อปี ค.ศ. 1991 [[ภูเขาไฟแทมโบรา]] [[ภูเขาไฟเคลูด|เคลูด]] และ[[ภูเขาไฟเมราปี|เมราปี]] ในประเทศอินโดนีเซีย ภูเขาไฟลูอาเปทู ประเทศนิวซีแลนด์ และ[[ภูเขาไฟเอเรบัส]] [[ทวีปแอนตาร์กติกา]]
 
[[ไฟล์:FujiSunriseKawaguchiko2025WP.jpg|thumb|200px|left|[[ภูเขาฟูจิ]] ประเทศญี่ปุ่น]]
แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นในแนววงแหวนแห่งไฟนี้ เช่น แผ่นดินไหวคาสคาเดีย มีขนาด 9 ริกเตอร์ เกิดเมื่อ ค.ศ. 1700 [[แผ่นดินไหวโลมาพรีเอตตา พ.ศ. 2532|แผ่นดินไหวโลมาพรีเอตา]] ในแคลิฟอร์เนีย [[แผ่นดินไหวครั้งใหญ่คันโต พ.ศ. 2466|แผ่นดินไหวภาคคันโต]] ในประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี ค.ศ. 1923 ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 130,000 ศพ [[แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮันชิน พ.ศ. 2538|แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในฮันชิน]]ในปี 1995 และครั้งใหญ่ที่สุดที่เคยบันทึกไว้ คือ[[แผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547|แผ่นดินไหวเมื่อ ค.ศ. 2004]] บริเวณ[[มหาสมุทรอินเดีย]] ขนาด 9.3 ริกเตอร์ ทำให้เกิดคลื่นสึนามิพัดถล่มบริเวณโดยรอบ โดยเฉพาะอินโดนีเซียที่ถูกถล่มด้วยคลื่นขนาด 10 เมตร ทำให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 230,000 ศพ