ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การหลับ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 36:
|}
 
การอดนอนหรือนอนไม่เพียงพอ ที่เรียกว่า "หนี้การนอนหลับ" (sleep debt) นั้น จะทำให้เกิดความอ่อนล้าทั้งทางร่างกาย จิตใจและอารมณ์ต่าง ๆ ทั้งยัง ทำให้ความสามารถในขบวนการคิดระดับสูงลดลง
ดังนั้นมนุษย์แต่ละคนต้องการการนอนไม่เท่ากัน นอนเท่าไรถึงจะเพียงพอจึงขึ้นอยู่กับความรู้สึก
เฉพาะตัวที่ทำให้สดชื่น และกระปรี้กระเปร่าพร้อมที่จะทำงานในวันใหม่ได้อย่างเต็มที่
การนอนหลับสำคัญกว่าที่เราคิด
ถึงแม้มนุษย์จะนอนหลับคืนแล้วคืนเล่า แต่การนอนหลับเป็น
กิจกรรมที่เข้าใจยากที่สุดอย่างหนึ่งของมนุษย์ ทั้งที่ช่วงการ
นอนหลับเป็นช่วงที่อันตรายที่สุด เพราะการรับรู้โลกภายนอก
และความสามารถในการป้องกันตนเองจะลดลงอย่างมาก
[[ปลาโลมา]]ซึ่งต้องขึ้นมาหายใจที่ผิวน้ำเป็นระยะๆ ยังนอนหลับ
โดยที่มี[[สมอง]]อีกซีกหนึ่งตื่นอยู่เสมอ
การศึกษาของ[[มูลนิธิการนอนหลับแห่งชาติ]] (National
Sleep Foundation) สหรัฐอเมริกาพบว่า 21% ของ
ประชาชนอเมริกันมีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ จนถึงขั้นมีปัญหา
ง่วงนอน และรบกวนความสามารถในการทำงานช่วงกลางวัน
 
ความผิดปกติของการหลับมีหลายอย่าง เช่น [[การนอนไม่หลับ]] (insomnia), [[ภาวะหยุดหายขณะหลับ]] (obstructive sleep apnea) ที่เกิดจากกล้ามเนื้อรอบทางเดินหายใจของผู้ป่วยหย่อนขณะหลับ ทำให้ทางเดินหายใจล้มเหลวและขวางการรับออกซิเจน และผู้ป่วยต้องตื่นขึ้นมาจากภาวะหลับลึกเพื่อหายใจ และ[[ภาวะง่วงเกิน]] (narcolepsy) ที่ผู้ป่วยจะนอนหลับอย่างควบคุมไม่ได้ เป็นต้น
อย่างน้อย 2-3 วัน ต่อ[[สัปดาห์]] และที่น่าตกใจคือ 17% ของชาวอเมริกันเคยงีบหลับขณะขับรถในช่วงปี
ที่ผ่านมา โดยที่ 1-3% ของ[[อุบัติเหตุ]]ทาง[[รถยนต์]]มาจากความง่วงนอนของคนขับ จากหลายสาเหตุทั้ง
การอดนอนจากการเที่ยวกลางคืนของวัยรุ่น การทำงานเป็นผลัดโดยเฉพาะกะกลางคืน การดื่ม[[สุรา]]และ
การใช้[[ยา]]ที่มีส่วนกด[[ระบบประสาท]] เช่น [[ยาแก้หวัด]]บางชนิด และโรคที่รบกวนการนอน
 
เมื่อคนเราอดนอนจะทำให้เกิดปัญหาทาง[[อารมณ์]] เพราะเกิดความไม่สมดุลในร่างกายและจิตใจ เช่น
หงุดหงิด อามรณ์แปรปรวน ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม เกิดปัญหาการมองเห็น เช่นอาการร้อนในลูกตา แสบตา
เห็นภาพผิดปกติ หรือประสาทหลอน (หลังอดนอน 3 วัน) บางคนมีอาการเหมือนเข็มแทงที่มือ และเท้า
และจะไวต่อความเจ็บปวดมาก
 
การอดนอน คือ การนอนไม่เพียงพอทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ จะทำให้เกิด “หนี้การนอน (sleep
debt)” ซึ่งจะได้รับการชดเชยเสมอในการนอนหลับคืนถัดไป ถ้าเราอดนอนมากเกินไปหรืออดนอน
คืนละน้อยแต่หลายคืนติดต่อกัน มันจะสะสมจนเกิดความง่วงจนไม่สามารถฝืน และอาจหลับในได้
ในเวลาต่อมา ช่วงที่เราง่วงหรือหลับใน เป็นช่วงที่ความสามารถในความจำ การตัดสินใจ การทำงาน
ประสานกันของกล้ามเนื้อลดลงจนขาดหายไป และนำไปสู่อุบัติเหตุต่างๆ ได้ง่ายที่สุด
 
ปัญหาที่อาจพบได้ในขณะนอนหลับ
สำหรับบางคนจะมีการเปลี่ยนแปลงทาง[[สรีระวิทยา]]ภายในร่างกายขณะนอนหลับ ซึ่งอาจจะเกิดการ
ขาดลมหายใจ หรือมีลม[[หายใจ]]ลดลงเป็นระยะในช่วงการนอนหลับ (sleep apnea-hypopnea
syndrome) ขึ้นได้ ทำให้ร่างกายได้รับ[[ออกซิเจน]]ไม่เพียงพอ รวมถึงทำให้คุณภาพและปริมาณการ
นอนหลับไม่ดีพอด้วย ในระยะยาวมีโอกาสจะทำให้บุคคลนั้นเสี่ยงต่อการเกิด[[ความดันโลหิตสูง]] [[โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด]] และ[[อัมพฤกษ์]]อีกด้วย ประเด็นนี้ยังรวมถึง[[โรคไหลตาย]]ที่พบมากในคน[[อีสาน]]
และในต่างประเทศที่เป็นกันมาก โดยยังไม่มีผู้พิสูจน์สาเหตุได้แจ่มชัดจนวันนี้
 
== อ้างอิง ==