ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยุทธการที่ไซ่ง่อน (พ.ศ. 2498)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kelos omos1 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 6:
| caption =
| date = 27 เมษายน - พฤษภาคม พ.ศ. 2498
| place = [[ไซ่ง่อน]], [[เวียดนามใต้]]
| casus =
| territory =
| result = ชัยชนะของรัฐเวียดนาม
| combatant1 = [[File:Flag of South Vietnam.svg|22px]] [[กองทัพแห่งชาติเวียดนาม]]<br>'''หนุนหลังโดย'''<br>[[CIA]]
| combatant2 = [[บินห์เซียน]]<br>'''หนุนหลังโดย'''<br>[[หน่วยเอกสารนอกและต่อต้านจารกรรม (ฝรั่งเศส)|SDECE]]
| commander1 =
บรรทัด 22:
}}
 
'''ยุทธการไซ่ง่อน'''เป็นการรบนานหนึ่งเดือนระหว่าง[[กองทัพแห่งชาติเวียดนาม]] (VNA) ของ[[รัฐเวียดนาม]] (ซึ่งต่อมากลายเป็น[[กองทัพสาธารณรัฐเวียดนาม]] ของ[[สาธารณรัฐเวียดนาม]]) กับกองกำลังส่วนตัวขององค์กรอาชญากรรม[[บินห์เซียน]] ในตอนนั้น องค์กรบินห์เซียนได้รับโองการอนุญาตจากจักรพรรดิ[[เบ๋าได๋จักรพรรดิเบาได๋แห่งเวียดนาม]]ให้มีอำนาจควบคุมตำรวจทั้งประเทศ และนายกรัฐมนตรี[[โง ดินห์ เดียม]]ยื่นคำขาดให้พวกเขายอมมาอยู่ใต้อำนาจรัฐ การสู้รบกันเริ่มขึ้นในวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2498 และกองทัพ VNA สามารถบดขยี้กองกำลังบินห์เซียนได้ภายในหนึ่งสัปดาห์ การสู้รบส่วนใหญ่เกิดขึ้นภายในย่าน[[โชลอง]] ซึ่งเป็นย่านการค้าของคนจีนภายในเมือง[[ไซ่ง่อน]] การรบทำให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 500-1,000 คน และทำให้ประชาชนกว่า 20,000 คนต้องไร้บ้านที่อยู่ ท้ายที่สุดแล้วกองกำลังบินห์เซียนก็พ่ายแพ้ กองกำลังถูกยุบและขบวนการอาชญากรรมก็หยุดลง
 
== การสู้รบประปรายในช่วงแรก ==
ในเวลา 0.00 น. ของวันที่ 30 มีนาคม เกิดระเบิดขึ้นในไซ่ง่อน ซึ่งการวางระเบิดนี้เป็นการตอบโต้ขององค์กรบินห์เซียนต่อการที่นายเดียมปลดผู้บัญชาการตำรวจที่อยู่ใต้ควบคุมของบินห์เซียนออกจากตำแหน่ง ต่อมา กองกำลังบินห์เซียน 200 นายเปิดฉากโจมตีกองบัญชาการของ VNA การปะทะครั้งนี้ผลแพ้ชนะไม่แน่ชัด โดยฝ่าย VNA มีผู้เสียชีวิต 6 นาย ในขณะที่กองกำลังบินห์เซียนมีผู้เสียชีวิต 10 นาย แต่เมื่อรุ่งสาง ปรากฎว่าฝ่ายที่เสียชีวิตมากที่สุดคือฝ่ายพลเรือน โดยมีร่างพลเรือนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตอยู่เกลื่อนถนน
 
== การสู้รบหลัก ==
การสู้รบครั้งสุดท้ายระหว่างกองทัพแห่งชาติของนายกฯ เดียม กับกองกำลังบินห์เซียนเริ่มขึ้นในวันที่ 27 เมษายน เวลา 12.00 น. หลังจากที่มีการยิงอาวุธเล็กและปืนครกต่อสู้กัน ฝ่าย VNA ก็เปลี่ยนไปใช้ปืนใหญ่ที่หนักที่สุดที่มีอยู่ การตัดสินใจครั้งนี้พอดีกับเสียงเรียกร้องจากรัฐบาล[[สหรัฐฯ]] ของ[[ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา|ประธานาธิบดี]][[ดไวท์ ดี. ไอเซนฮาวร์]] ให้นายกฯ เดียมลงจากตำแหน่ง เนื่องจากไม่สามารถควบคุมบินห์เซียนและรวมประเทศเวียดนามเป็นปึกแผ่นได้ เมื่อมาถึงตอนเย็น พื้นที่เมืองส่วนในส่วนมากกลายเป็นสนามรบ และในตอนเช้าของวันที่ 28 เมษายน ก็มีประชาชนเป็นพันๆ คนหนีมาบนถนนเนื่องจากเกิดการระเบิดขึ้นหลายครั้ง และการต่อสู้ได้ลามจากข้างถนนไปยังบ้านต่อบ้าน จตุรัสกลางเมืองที่มีย่านโชลองล้อมรอบอยู่ ซึ่งเป็นฐานที่มั่นของบินห์เซียน ได้กลายเป็นเขตยิงไม่เลือกฝ่าย มีการยิงปืนใหญ่และปืนครกใส่เขตยากจนของเมือง สังหารพลเรือนไปกว่า 500 นาย และทำให้คนกว่า 20,000 คนต้องไร้บ้าน ผู้สังเกตการณ์อธิบายว่าทั้งสองฝ่ายนั้นต่างก็ไม่มีแผนการรบ และอาศัยการใช้กำลังล้วนๆ เพื่อเข้าสู้กับอีกฝ่าย หนึ่งในไม่กี่กลยุทธที่ถือว่ามีแผนการรบคือความพยายามของฝ่าย VNA ที่จะตัดการป้อนกำลังเสริมของกองกำลังบินห์เซียนด้วยการระเบิดสะพานที่พาดผ่านคลองที่อยู่ระหว่างไซ่ง่อนกับโชลอง ซึ่งไม่เป็นผลเนื่องจากฝ่ายบินห์เซียนโยนสะพาน[[โป๊ะ]]เพื่อข้ามคลอง สุดท้ายแล้ว ผลแพ้ชนะก็ขึ้นอยู่กับว่าฝ่ายไหนจะแบกรับจำนวนผู้เสียชีวิตได้มากกว่ากัน ในวันแรกเพียงวันเดียว ทหารทั้งสองฝ่ายก็เสียชีวิตไปแล้วกว่า 300 นาย
 
ในตอนเช้าของวันที่ 28 เมษายน นาย[[จอห์น ฟอสเตอร์ ดัลส์]] [[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งสหรัฐอเมริกา|รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ]] โทรศัพท์ไปหา[[เจ. ลอว์ตัน คอลลินส์]] ตัวแทนพิเศษของสหรัฐฯ ในเวียดนาม ให้ยกเลิกการเรียกร้องให้เปลี่ยนนายกฯ เนื่องจากปธน. อาเซนฮาวร์ต้องการให้เหตุการณ์ที่ไซ่ง่อนมีผลชี้ชัดแน่นอนก่อน คอลลินส์และดัลส์โต้คารมกันในการประชุม[[สภาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐอเมริกา|สภาความมั่นคงแห่งชาติ]] โดยคอลลินส์เสียงแข็งในเรื่องการให้เดียมออกจากตำแหน่ง โดยอ้างเหตุผลว่าความพยายามที่จะทำลายกองกำลังบินห์เซียนจะนำไปสู่สงครามกลางเมือง หากแต่สภาฯ สนับสนุนท่าทีของดัลส์
 
== บทสรุป ==
บรรทัด 37:
เป่ยเวียดหลบหนีไปใช้ชีวิตที่เหลือที่[[ปารีส]]โดยอาศัยเงินที่ได้จากขบวนการอาชญากรรม ในขณะที่กองทัพแห่งชาติเวียดนามตามล่ากองกำลังที่เหลือของบินห์เซียนไปยัง[[สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง]] ใกล้ชายฝั่ง[[ประเทศกัมพูชา]]
 
ส่วนประชาชนนั้นออกมาเฉลิมฉลองกับการล่มสลายขององค์กรบินห์เซียนด้วยความยินดี และมีบางส่วนที่มารวมตัวกันหน้าที่พักของนายเดียมและส่งเสียงโห่ร้องว่า "''ดาเดาเบ๋าได๋''" (แปลว่าเบ๋าได๋จงพินาศ)
 
== แหล่งอ้างอิง ==