ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สถานะนครในสหราชอาณาจักร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
บริการเปลี่ยนหมวดหมู่อัตโนมัติด้วยบอต
Manop (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{ขาดอ้างอิง}}
{{ใช้ปีคศ|width=280px}}
 
[[ไฟล์:York Minster.jpg|thumbnail|right|280px|เมืองที่มีฐานะเป็นนครในอังกฤษและเวส์มักจะเป็นเมืองที่เป็นที่ตั้งของ[[มหาวิหารในสหราชอาณาจักร|มหาวิหาร]]เช่น[[นครยอร์ค]]ที่เป็นที่ตั้งของ[[มหาวิหารยอร์ค]]]]
 
'''เมืองที่มีฐานะเป็นนครในสหราชอาณาจักร''' ([[ภาษาอังกฤษ]]: '''City status in the United Kingdom''') เป็นเมืองที่ได้รับพระราชทานฐานะจาก[[พระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร]] (British monarch) ให้แก่ชุมชนที่ทรงเลือก การได้รับพระราชทานฐานะเป็นนครเป็นแต่การได้รับสิทธิที่จะเรียกตนเองเป็น “นคร” โดยไม่มีสิทธิพิเศษใดใดนอกไปจากนั้น แต่กระนั้นก็ยังเป็นสิ่งที่เป็นที่ต้องการกันเป็นอย่างแพร่หลายเพราะเป็นการนำมาซึ่งความมีหน้ามีตาของเมือง นอกจากนั้นการมอบสิทธิก็มิได้มีหลักเกณฑ์มาตรฐานแต่อย่างใด แต่ใน[[อังกฤษ]]และ[[เวลส์]]ฐานะการเป็น “นคร” มักจะมอบให้แก่เมืองที่เป็นที่ตั้งของ[[มหาวิหารในสหราชอาณาจักร|มหาวิหาร]] ประเพณีการตั้งเมืองที่มีมหาวิหารขึ้นเป็น “นคร” เริ่มมาตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1540 เมื่อ[[สมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ|สมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8]] ทรงก่อตั้งสังฆมลฑล (ซึ่งก็หมายถึงการมีมหาวิหาร) ในเมืองแปดเมืองและพระราชทานฐานะเมืองต่างๆ เหล่านั้นให้เป็น “นคร” โดยทรงมอบ[[พระราชเอกสารสิทธิ]] (letters patent) ให้<ref>Beckett, J V (2005). City status in the British Isles, 1830–2002. Historical urban studies. Aldershot: Ashgate. ISBN 0-7546-5067-7.</ref>
 
การมอบฐานะการเป็นนครให้เมืองใน[[ไอร์แลนด์]]และใน[[เวลส์]]มีจำนวนน้อยกว่าในอังกฤษมาก ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในบริเวณที่ปัจจุบันเป็น[[ไอร์แลนด์เหนือ]]มีเมืองที่มีฐานะเป็นนครมีเพียงสองเมือง ส่วนใน[[สกอตแลนด์]]ฐานะนครไม่มีให้กันอย่างเป็นทางการจนในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งในเวลานั้นก็เริ่มมีการฟื้นฟูการมอบฐานะการเป็นนครโดยเริ่มในอังกฤษ ที่การมอบฐานะจะตามด้วยการก่อตั้งมหาวิหาร และต่อมาการมอบฐานะก็เกิดขึ้นในสกอตแลนด์