ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอบางระจัน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 24:
อำเภอบางระจัน เดิมชื่อ "อำเภอสิงห์" ที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่บ้านเชิงกลัด ทางฝั่งขวาของแม่น้ำน้อย ห่างจากที่ว่าการอำเภอบางระจันในปัจจุบันไปทางทิศเหนือ ประมาณ 6 กิโลเมตร ต่อมาทางราชการได้พิจารณาเห็นว่า ที่ตั้งที่ว่าการอำเภอค่อนไปทางเหนือมากเกินไป มิได้ตั้งอยู่จุดศูนย์กลาง ประชาชนมาติดต่อราชการไม่สะดวก ประกอบกับขณะนั้นลำแม่น้ำน้อย ตรงที่ตั้งที่ว่าการอำเภอบางระจัน ก็ตื้นเขินขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง จึงได้พิจารณาหาที่ตั้งที่ ว่าการอำเภอ เสียใหม่
 
ต่อมาเมื่อ ปี พ.ศ. 2442 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งบนฝั่งซ้ายของแม่น้ำน้อย ณ หมู่ที่ 4 ตำบลสิงห์ ซึ่งเป็นที่ตั้งในปัจจุบัน ในชั้นแรกเป็นเสาไม้แก่น พื้นฝากระดาน หลังคามุงจาก เป็นที่ทำการ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2461 อาคารหลังนี้ได้ชำรุดทรุดโทรมเป็นอย่างมาก ไม่สามารถที่จะซ่อมแซมให้มั่นคงแข็งแรงได้ ทางราชการจึงได้ตั้งอาคารที่ว่าการอำเภอขึ้นใหม่ ตามแบบแปลนของทางราชการ เป็นอาคารไม้ ใต้ถุนสูง ทรงปั้นหยา เสาก่ออิฐถือปูน พื้นฝาไม้สัก หลังคามุงกระเบื้อง ทำการก่อสร้างอยู่ 1 ปี จึงแล้วเสร็จ การก่อสร้างได้ดำเนินไปในสมัยที่ ขุนประสิทธิ์นรกรรม (เจียน หงษ์์ประภาสหงษ์ประภาส) ดำรงตำแหน่งนายอำเภอ ต่อมาทางราชการ ได้พิจารณาเห็นว่า ชื่ออำเภอสิงห์ เป็นชื่อพ้องกับจังหวัดสิงห์บุรี อีกประการหนึ่งสมัยนั้นทางราชการ ได้ฟื้นฟูสถานที่หรือกิจกรรมสำคัญทางประวัติศาสตร์ จึงเล็งเห็นว่า ในท้องที่อำเภอเป็นที่ตั้งของค่ายบางระจันในอดีต ซึ่งเป็นวีรกรรมอันยิ่งใหญ่ ที่ประชาชนได้สมัครสมานกลมเกลียว เสียสละชีวิต และเลือดเนื้อ ทำการสู้รบกับพม่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ชาวบ้านบางระจันผู้กล้าหาญ จึงได้เปลี่ยนชื่ออำเภอสิงห์ มาเป็นอำเภอ "บางระจัน" ตั้งแต่ พ.ศ. 2482 จนถึงปัจจุบัน
 
อนึ่ง อำเภอค่ายบางระจันในปัจจุบัน ซึ่งแต่เดิมขึ้นกับอำเภอบางระจัน และเป็นที่ตั้งของค่ายประวัติศาสตร์ "วีรชนชาวบ้านบางระจัน" นั้น ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ เป็นพระราชกฤษฎีกาแยกเป็นเอกเทศ เป็นอำเภอค่ายบางระจัน เมื่อ 9 กันยายน 2519{{อ้างอิง}}
บรรทัด 87:
 
{{อำเภอจังหวัดสิงห์บุรี}}
{{โครงจังหวัด}}
 
[[หมวดหมู่:อำเภอในจังหวัดสิงห์บุรี|บาง]]
{{โครงจังหวัด}}
 
[[bpy:আম্ফোয়ে ব্যাং রাচান]]