ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปีอธิกสุรทิน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{ใช้ปีคศ}}
{{ต้องการอ้างอิง}}
'''ปีอธิกสุรทิน''' ({{lang-en|leap year}}) เป็นปีที่มีการเพิ่มหนึ่งวัน (หรือหนึ่งเดือนในกรณีของ[[ปฏิทินสุริยจันทรคติ]]) เพื่อให้[[ปีปฏิทิน]]สอดคล้องกับ[[ปีดาราศาสตร์]]หรือ[[ปีฤดูกาล]]<ref name="Meeus">{{cite book|last=Meeus|title=Astronomical Algorithms|publisher=Willmann-Bell|isbn=0943396611|pages=62}}</ref> เพราะฤดูกาลและเหตุการณ์ทางดาราศาสตร์มิได้เกิดซ้ำในจำนวนเต็มวัน ปฏิทินซึ่งมีจำนวนวันในแต่ละปีเท่าเดิมจึงต้องเลื่อนให้ตรงกับเหตุการณ์ที่ปฏิทินควรจะติดตามเมื่อเวลาผ่านไป โดยการแทรกวันหรือเดือนเพิ่มเข้าไปในปีนั้น การเลื่อนจึงสามารถทำให้ถูกต้องได้ ปีที่มิใช่ปีอธิกสุรทิน เรียกว่า [[ปีปกติสุรทิน]] (common year)
 
ตัวอย่างเช่น ใน[[ปฏิทินเกรโกเรียน]] (ปฏิทินสุริยคติสามัญ) เดือนกุมภาพันธ์ในปีอธิกสุรทินมี 29 วัน แทนที่จะมี 28 วันตามปกติ ดังนั้น ปีดังกล่าวจึงมี 366 วัน แทนที่จะมี 365 วันตามปกติ คล้ายกัน ใน[[ปฏิทินฮีบรู]] (ปฏิทินสุริยจันทรคติ) เดือนจันทรคติที่ 13 มีการเพิ่มเจ็ดครั้งทุก 19 ปี เข้าไปในเดือนจันทรคติสิบสองเดือนในปีปกติสุรทินเพื่อให้ปีปฏิทินไม่คาดเคลื่อนจากฤดูกาลเร็วเกินไป
บรรทัด 7:
ในปฏิทินเกรโกเรียน ปฏิทินมาตรฐานปัจจุบันในส่วนใหญ่ของโลก ปีอธิกสุรทิน หมายถึง ปีส่วนมากที่หารด้วย 4 ลงตัว ในปีอธิกสุรทินแต่ละปีนั้น เดือนกุมภาพันธ์มี 29 วัน แทนที่จะมี 28 วัน การเพิ่มวันเข้าไปในปฏิทิทุกสี่ปีเพื่อชดเชยตามข้อเท็จจริงที่ว่าระยะเวลา 365 วันนั้นสั้นกว่าปีสุริยคติเกือบ 6 ชั่วโมง
 
ข้อยกเว้นบางประการต่อกฎนี้มีว่า เนื่องจากระยะเวลาของปีสุริยคติน้อยกว่า 365.25 วันเล็กน้อย ปีที่หารด้วย 100 ลงตัวนั้นจึงมิใช่ปีอธิกสุรทิน ยกเว้นปีที่หารด้วย 400 ลงตัว ซึ่งเป็นปีอธิกสุรทิน<ref name="rog">[http://www.nmm.ac.uk/server/show/conWebDoc.349 Royal Observatory, Greenwich.] (2002). ''Leap years''. Author.</ref><ref name="usno">[[United States Naval Observatory]]. (n.d.). [http://www.usno.navy.mil/USNO/astronomical-applications/astronomical-information-center/leap-years ''Leap Years'']. Author. Retrieved August 19, 2010.</ref> ตัวอย่างเช่น ค.ศ. 1600 และ 2000 เป็นปีอธิกสุรทิน แต่ ค.ศ. 1700, 1800 และ 1900 ไม่ใช่ ดังน้น ในระยะเวลาสองสหัสวรรษ จะมีปีอธิกสุรทิน 485 ปี โดยกฎนี้ จำนวนวันเฉลี่ยของแต่ละปีจะเท่ากับ 365 + 1/4 − 1/100 + 1/400 = 365.2425 หรือคือ 365 วัน 5 ชั่วโมง 49 นาที 12 วินาที ปฏิทินเกรโกเรียนถูกออกแบบมาเพื่อรักษา[[วสันตวิษุวัต]]ให้ตรงหรือใกล้เคียงกับวันที่ 21 มีนาคม เพื่อที่[[วันอีสเตอร์]] (ซึ่งมีการเฉลิมฉลองในวันอาทิตย์หลังคืนจันทร์เพ็ญซึ่งตรงกับหรือหลังวันที่ 21 มีนาคม) จะยังถูกต้องโดยสอดคล้องกับวสันตวิษุวัติ<ref>E.G. Richards, E.G. (1998). ''Mapping time: The calendar and its history''. Oxford University Press. p. 240. ISBN 0-19-286205-7.</ref> ปีวสันตวิษุวัตนั้นมีประมาณ 365.242374 วัน (และกำลังเพิ่มขึ้น)
 
{| width=640
บรรทัด 27:
 
กฎนี้ทำให้หนึ่งปีเฉลี่ยมี 365.242222 วัน ซึ่งเป็นการประมาณที่ดีมากสำหรับปีสุริยคติโดยเฉลี่ย แต่เนื่องจากปีวสันตวิษุวัตยาวกว่าเล็กน้อย ปฏิทินจูเลียนปรับปรุงจึงไม่ดีเท่ากับปฏิทินเกรโกเรียนในการรักษาวสันตวิษุวัตในตรงหรือใกล้เคียงกับวันที่ 21 มีนาคม
 
== อ้างอิง ==
{{ต้องการรายการอ้างอิง}}
[[หมวดหมู่:ปฏิทิน]]