ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ลัทธิขงจื๊อ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
[[ไฟล์:Lotusconfuciustemple2.jpg|thumbnail|200px|วัดในลัทธิขงจื้อ]]
'''ลัทธิขงจื๊อ''' หรือ'''ศาสนาขงจื๊อ''' ({{lang-en|Confucianism}}) เป็นระบบด้านจริยธรรมและปรัชญาของจีน ซึ่งพัฒนาจากการสอนของ[[ขงจื๊อ]] (551 - 479 ปีก่อน ค.ศ.) นักปรัชญาชาวจีน ลัทธิขงจื๊อถือกำเนิดขึ้นเป็น "งานสอนด้านจริยธรรม-สังคมการเมือง" ใน[[ยุคชุนชิว]] แต่ภายหลังพัฒนาส่วนที่เป็น[[อภิปรัชญา]]และ[[จักรวาลวิทยา]]ในสมัย[[ราชวงศ์ฮั่น]]<ref name="craig">{{Harvnb|Craig|1998|p=550}}.</ref> หลังการละทิ้ง[[ลัทธิฟาเฉีย]]ในประเทศจีนหลัง[[ราชวงศ์ฉิน]] ลัทธิขงจื๊อได้กลายมาเป็นอุดมการณ์แห่งรัฐอย่างเป็นทางการของจีน กระทั่งถูกแทนที่ด้วย "[[หลัก 3 ประการแห่งประชาชน]]" เมื่อมีการสถาปนา[[สาธารณรัฐจีน]] ตามด้วย[[คอมมิวนิสต์]]ลัทธิเหมาหลังสาธารณรัฐจีนถูกแทนที่ด้วย[[สาธารณรัฐประชาชนจีน]]ในจีนแผ่นดินใหญ่
 
[[มนุษยนิยม]]เป็นแก่นของลัทธิขงจื๊อ<ref name="juergensmeyer">{{cite book |title=Religion in global civil society |last= Juergensmeyer|first= Mark|year= 2005|publisher= Oxford University Press|location= |isbn=9780195188356|page=70|quote= }}</ref> ซึ่งเป็นความเชื่อที่ว่า มนุษย์สามารถสอน พัฒนาและทำให้สมบูรณ์ได้ผ่านความพยายามส่วนตนและร่วมกับสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การฝึกตนและการเกิดขึ้นเอง (self-creation) ลัทธิขงจื๊อมุ่งเน้นการพัฒนาคุณธรรมและการธำรงรักษาจริยธรรม โดยมีหลักพื้นฐานที่สุด คือ เหริน (''rén'') ยี่ (''yì'') และหลี่ (''lǐ'')<ref name="craig2"/> เหรินเป็นข้อผูกมัดปรัตถนิยมและความมีมนุษยธรรมแก่ปัจเจกบุคคลอื่นภายในชุมชน ยี่เป็นการค้ำจุนความชอบธรรมและอุปนิสัยทางศีลธรรมในการทำดี และหลี่เป็นระบบ[[จารีต]]และความเหมาะสมซึ่งตัดสินว่า บุคคลควรปฏิบัติตนอย่างไรให้เหมาะสมภายในชุมชน<ref name="craig2">{{Harvnb|Craig|1998|p=536}}.</ref> ลัทธิขงจื๊อถือว่า บุคคลควรยอมถวายชีวิตให้ หากจำเป็น เพื่ออุทิศแก่การค้ำจุนค่านิยมทางศีลธรรมหลัก เหรินและยี่<ref>{{citation|url=http://arts.hkbu.edu.hk/~pclo/e5.pdf|author=Lo, Ping-cheung|title=Confucian Ethic of Death with Dignity and Its Contemporary Relevance|year=1999|publisher=Society of Christian Ethics}}</ref> ผู้นับถือลัทธิขงจื๊ออาจเป็นผู้เชื่อในศาสนาพื้นบ้านของจีนด้วยก็ได้ เพราะลัทธิขงจื๊อเป็นอุดมการณ์มนุษยนิยมและ[[อเทวนิยม]] และไม่ข้องเกี่ยวกับความเชื่อในสิ่งเหนือธรรมชาติหรือใน[[พระเจ้า]]ที่มีตัวตน<ref name="Yang">{{Harvnb|Yang|1961|p=26}}.</ref>
 
หลายวัฒนธรรมและประเทศได้รับอิทธิพลอย่างมากจากลัทธิขงจื๊อ รวมทั้ง จีนแผ่นดินใหญ่ [[ไต้หวัน]] [[เกาหลี]] [[ญี่ปุ่น]]และ[[เวียดนาม]] เช่นเดียวกับอีกหลายดินแดนที่ชาวจีนเข้าไปตั้งรกรากจำนวนมาก เช่น [[สิงคโปร์]] แม้แนวคิดลัทธิขงจื๊อจะแพร่หลายในพื้นที่เหล่านี้ มีคนส่วนน้อยนอกแวดวงวิชาการที่ระบุว่าตนเองเป็นผู้นับถือลัทธิขงจื๊อ<ref>{{cite book |title=The Oxford handbook of global religions |last= Juergensmeyer|first= Mark|year= 2006|series=Oxford Handbooks |publisher= Oxford University Press|location= |isbn=9780195137989|page=116|quote=Few people self-identify as Confucian, yet fewer still will deny the vital importance of promoting filiality and family cohesion}}</ref><ref>{{cite book |title= Education About Asia |publisher= Association for Asian Studies |page=75 |volume= 6-7 |year= 2001}}</ref> และกลับเห็นว่าจริยศาสตร์ขงจื๊อเป็นแนวปฏิบัติเติมเต็มสำหรับอุดมการณ์และความเชื่ออื่นมากกว่า ซึ่งมีทั้ง[[ประชาธิปไตย]] [[มากซิสต์]] [[ทุนนิยม]] [[ศาสนาคริสต์]] [[ศาสนาอิสลาม]] และ[[ศาสนาพุทธ]]
 
== ประวัติและพัฒนาการ ==
บรรทัด 16:
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
* "Confucianism," Microsoft® Encarta® Online Encyclopedia 2008
{{โครงศาสนา}}