ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ซัดดัม ฮุสเซน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 7:
ในฐานะประธานาธิบดี ซัดดัมได้พัฒนาลัทธินิยมตัวผู้นำอย่างบ้าคลั่ง ปกครองรัฐบาลเผด็จการ และกุมอำนาจไว้ได้ในช่วง[[สงครามอิรัก-อิหร่าน]] (ระหว่างปี พ.ศ. 2523 - 2531) ในช่วง[[สงครามอ่าวเปอร์เซีย]] (พ.ศ. 2534) ซึ่งทำให้อิรักทรุดโทรม ทำลายทั้งมาตรฐานการครองชีพและสิทธิมนุษยชน รัฐบาลของซัดดัมได้จัดการกับการเคลื่อนไหวที่มีแนวโน้มเป็นภัยคุกคาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากพวกชนกลุ่มน้อย หรือกลุ่มทางศาสนาที่ต้องการเรียกร้องอิสรภาพ หรือการปกครองตนเอง
 
ในระหว่างที่ยังคงเป็นวีรบุรุษที่ประชาชนชื่นชม โดดเด่นในหมู่ผู้นำอาหรับอื่นๆ ในฐานะผู้ที่ลุกขึ้นต่อต้านสหรัฐ และให้การสนับสนุน[[ปาเลสไตน์]] ภายหลังสงครามอ่าวเปอร์เซีย สหรัฐอเมริกาและชาติอื่นๆ ในประชาคมโลก ยังคงเฝ้าระวังจับตามองซัดดัมด้วยความหวาดระแวงว่ามีอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงไว้ในครอบครอง ซัดดัมได้ถูกถอดถอนโดยสหรัฐและฝ่ายพันธมิตรใน[[การรุกรานอิรัก พ.ศ. 2546|การบุกอิรัก]]เมื่อปี พ.ศ. 2546]] ถูกจับกุมโดยกองกำลังสหรัฐเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2546 ในขณะที่ซ่อนตัวอยู่ในหลุมขนาดเล็ก ในฟาร์มแห่งหนึ่งชานเมือง[[ตีกรีตติกรีต]] เขาขึ้นต่อสู้คดีใน[[ศาลพิเศษอิรัก]]ที่จัดตั้งขึ้นโดย[[รัฐบาลชั่วคราวของอิรัก]]
 
วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ผู้พิพากษาศาลอิรัก สั่งลงโทษ[[การประหารชีวิตซัดดัม ฮุสเซน|ประาหรชีวิต]]ด้วย[[การแขวนคอ]]ซัดดัม ในคดีสังหารหมู่ชาวชีอะห์ 148 คน ที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งในเมือง[[ดูเญล]]เมื่อปี พ.ศ. 2525<ref name="verdict">[http://www.bangkokbiznews.com/viewNews.jsp?newsid=118287 ศาลชั้นต้นอิรัก พิพากษาประหาร "ซัดดัม"] [[กรุงเทพธุรกิจ]] 5 ​พฤศจิกายน​ 2549</ref> โดยเขาถูกประหารชีวิตในวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2549<ref name="execution">[http://www.bangkokbiznews.com/viewNews.jsp?newsid=144243 ปิดฉาก "ซัดดัม ฮุสเซน" อดีตผู้นำอิรัคถูกสั่งแขวนคอ] [[กรุงเทพธุรกิจ]] 31 ​ธันวาคม​ 2549</ref>