ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกฤตการเงิน ค.ศ. 1907"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Nini (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 42:
 
เมื่อข่าวกระจายออกไป ธนาคารและทรัสต์อื่น ๆ จึงเริ่มกลัวที่จะปล่อยเงินให้ยืม อัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับโบรกเกอร์ที่ตลาดหลักทรัพย์พุ่งสูงขึ้น ทำให้โบรกเกอร์ไม่สามารถยืมเงินได้ และทำให้ราคาหุ้นตกลงไปอยู่ระดับต่ำอย่างที่ไม่เคยปรากฏตั้งแต่เดือนธันวาคม 1900<ref>{{Harvnb|Bruner|Carr|2007|p=85}}</ref> ความตระหนกลุกลามไปยังทรัสต์ขนาดใหญ่อีกสองแห่ง (บริษัททรัสต์แห่งอเมริกาและลินคอนทรัสต์) อย่างรวดเร็ว จนถึงวันที่ 24 ตุลาคม มีสถาบันทางการเงินหลายแห่งโดนผลกระทบเป็นลูกโซ่ อันได้แก่ Twelfth Ward Bank, Empire City Savings Bank, Hamilton Bank of New York, First National Bank of Brooklyn, International Trust Company of New York, Williamsburg Trust Company of Brooklyn, Borough Bank of Brooklyn, Jenkins Trust Company of Brooklyn and the Union Trust Company of Providence.<ref>{{Harvnb|Bruner|Carr|2007|p=101}}</ref>
 
=== เจ. พี. มอร์แกน ยื่นมือช่วย ===
ขณะที่ความโกลาหลเริ่มทำให้ความน่าเชื่อถือของธนาคารในนิวยอร์กสั่นคลอน [[เจ. พี. มอร์แกน]]ซึ่งเป็นนายธนาคารที่มีชื่อเสียงที่สุดและเป็นประธานของ[[เจ.พี. มอร์แกน แอนด์ โค]] อยู่ระหว่างการเดินทางไป[[ริชมอนด์]] รัฐเวอร์จิเนีย มอร์แกนไม่ได้เป็นเพียงนายธนาคารที่ร่ำรวยและมีเครือข่ายกว้างขวางที่สุด แต่เขายังเคยมีประสบการณ์รับมือกับวิกฤต โดยช่วย[[กระทรวงการคลังสหรัฐอเมริกา]]ในช่วง[[วิกฤต ค.ศ. 1893]] เมื่อได้ข่าวปัญหาในครั้งนี้ เขาจึงกลับมาที่วอลล์สตรีทในคืนวันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม เช้าวันรุ่งขึ้น[[ห้องสมุดและพิพิธภัณฑ์มอร์แกน|ห้องสมุด]]ของเขาบนถนนแมดิสันและถนนหมายเลข 36 ก็กลายเป็นที่รวมตัวของประธานธนาคารและประธานบริษัททรัสต์ในนิวยอร์กเพื่อมาแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร (และขอความช่วยเหลือเพื่อเอาตัวรอดจาก) วิกฤตที่กำลังก่อตัวขึ้น.<ref>{{Harvnb|Bruner|Carr|2007|pp=83–86}}</ref><ref>{{Harvnb|Chernow|1990|p=123}}</ref>
 
== อ้างอิง ==