ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สงครามอังกฤษ–พม่าครั้งที่หนึ่ง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Ponpan (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 34:
 
==สิ่งที่ส่งผลตามมา==
*นอกจากนี้แล้ว สงครามครั้งนี้ ยังได้ส่งอิทธิพลถึงระบอบจารีตการปกครองของชนชั้นปกครองต่าง ๆ ในภูมิภาคแถบนี้ เช่น [[กรุงรัตนโกสินทร์]] เนื่องจากนับได้ว่าเป็นการล่าอาณานิคมครั้งแรกของชาติตะวันตกในภูมิภาคแถบนี้อย่างชัดเจนที่สุด เพราะได้มีความปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งตรงกับรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ความว่า พม่าสู้อังกฤษไม่ได้เลย ต้องยอมทำสัญญาและไถ่เมืองคืนคิดเป็นเงินตราได้แสนชั่ง และเสียเมืองต่าง ๆ ให้แก่อังกฤษ ซึ่งครั้งนั้น เงินในท้องพระคลังหลวงของพม่ามีไม่พอใช้ ต้องเรี่ยรายเรี่ยไรจากราษฎรใช้หนี้อยู่นานถึง 30 ปี ซึ่งนำไปสู่การผ่อนปรนท่าทีจากเคยแข็งกร้าวเป็นประนีประนอมต่อชาติตะวันตกในเวลาต่อมา<ref>[[เจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค)|เจ้าพระยาทิพากรวงศ์]], พระราชพงศาสดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ พ.ศ. ๒๓๖๗-๒๓๙๔, พิมพ์แจกเป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลองศพ ท่านผู้หญิงวงษานุประพันธ์ (ตาด สนิทวงศ์ ณ อยุธยา) (พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2481) หน้า 25</ref><ref>The Crawfurd Papers (Bangkok, 1915) p. 20; Burney Papers Vol.1, pp. 1-7, 17-18, 28-37</ref>
*ยุทธวิธีการรบของอังกฤษ ที่ใช้ปืนเรือและหอรบริมฝั่งน้ำทั้งยิงจริงและข่มขู่ ถือเป็นต้นแบบให้ชาติตะวันตกชาติอื่นได้ใช้ในเวลาต่อมา อาทิ [[สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3|ฝรั่งเศส]] ใน[[วิกฤตการณ์ปากน้ำ]] หรือ [[วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112]]<ref>The Burney Papers, Vol.1, pp. 1-6, 23-26, D.G.E. Hall, Burma, pp. 97-105.</ref>