ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อาโอกิงาฮาระ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 8:
== ภูมิศาสตร์ ==
พื้นป่าส่วนใหญ่เป็นหินภูเขาไฟและมีความแข็งยากที่จะเจาะทะลุได้ด้วยเครื่องมืออย่างพลั่วหรือเสียม นอกจากนี้ ยังมีเส้นทางอย่างไม่เป็นทางการหลายเส้นทางซึ่งถูกใช้กึ่งปกติสำหรับ "การตามหาศพ" ประจำปีซึ่งกระทำโดยอาสาสมัครท้องถิ่น ผู้ซึ่งทำเครื่องหมายพื้นที่ค้นหาด้วยเทปพลาสติก<ref>{{Cite web|url=http://www.asahi.com/english/Herald-asahi/TKY200805020328.html|title=Intruders tangle 'suicide forest' with tape|work=[[Asahi Shimbun]]|date=2008-05-03|accessdate=2008-05-03 |archiveurl = http://web.archive.org/web/20080506060315/http://www.asahi.com/english/Herald-asahi/TKY200805020328.html <!-- Bot retrieved archive --> |archivedate = 2008-05-06}}</ref> เทปพลาสติกนี้ไม่เคยถูกนำออก ดังนั้นเทปพลาสติกจำนวนมากจึงพบดาษดื่นในกิโลเมตรแรกของป่า พ้นจากเส้นทางที่กำหนดไว้นั้นนำไปสู่แหล่งท่องเที่ยว อย่างเช่น ถ้ำน้ำแข็งและถ้ำลม หลังจากกิโลเมตรแรกเข้าสู่ป่าอาโอคิกาฮาระในทิศทางมุ่งไปยังภูเขาไฟฟูจินั้น ป่าอยู่ในสภาพ "ดึกดำบรรพ์" มากขึ้น โดยมีสัญลักษณ์ให้เห็นว่ามนุษย์เข้ามาย่างกรายเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย
 
== การท่องเที่ยวและการฆ่าตัวตาย ==
อาโอคิกาฮาระเป็นสถานที่ยอดนิยมที่จะมีผู้มาฆ่าตัวตาย โดยมีรายงานว่าเป็นสถานที่ฆ่าตัวตายที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลกเป็นอันดับสองรองจาก[[สะพานโกลเดนเกต]]ใน[[ซานฟรานซิสโก]] จนกระทั่งมีการดัดแปลงเป็นนวนิยายในปี ค.ศ. 1960 ชื่อ "ทะเลป่าดำ" (波の塔) โดยไซโซ มัตสึโมโตะ ที่เรื่องราวจบลงที่คู่รักทั้งสองที่เป็นตัวเอกของเรื่องฆ่าตัวตายในป่า อย่างไรก็ตาม ประวัติศาสตร์การฆ่าตัวตายในอาโอคิกาฮาระมีมาตั้งแต่ก่อนตีพิมพ์นวนิยายดังกล่าว และสถานที่แห่งนี้ยังเกี่ยวของกับความตายมาเป็นเวลาช้านานแล้ว มีการกล่าวว่าอุบาซุเตะได้กระทำในสถานที่แห่งนี้ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 และป่าเป็นที่เลื่องลือว่ามีผีสิงซึ่งเป็นผู้ที่ถูกทิ้งให้ตายในป่า
 
นับตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1950 มีผู้เสียชีวิตในป่ามากกว่า 500 คน ซึ่งส่วนใหญ่ฆ่าตัวตาย โดยเฉลี่ยแล้วมีผู้เสียชีวิตราว 30 คนต่อปี ในปี ค.ศ. 2002 พบร่างผู้เสียชีวิต 78 ศพอยู่ในป่า ทำลายสถิติ 73 ศพ เมื่อปี ค.ศ. 1998 ในปี ค.ศ. 2003 จำนวนผู้เสียชีวิตในปีนั้นเพิ่มขึ้นเกิน 100 ศพ และปัจจุบัน รัฐบาลท้องถิ่นได้หยุดการเผยแพร่จำนวนผู้เสียชีวิตในความพยายามที่จะลดความสัมพันธ์ระหว่างอาโอคิกาฮาระกับการฆ่าตัวตาย อัตราการฆ่าตัวตายที่สูงทำให้เจ้าหน้าที่ทางการติดป้ายในป่า ทั้งในภาษาญี่ปุ่นและอังกฤษ โดยกระตุ้นให้ผู้ที่มาฆ่าตัวตายเปลี่ยนใจเสีย คณะค้นหาศพ ซึ่งประกอบด้วยตำรวจ อาสาสมัครและสื่อจำนวนหนึ่ง เริ่มต้นตั้งแต่ ค.ศ. 1970
 
==อ้างอิง==