ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฟรีดริช เวอเลอร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: '''ฟรีดริช เวอเลอร์''' ({{lang-de|Friedrich Wöhler}}, 31 กรกฎาคม ค.ศ. 1800 - 23 กันยายน ค.ศ. 1882) เป...
 
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
 
== ชีวประวัติ ==
เวอเลอร์เกิดในเอสแชร์ไชม์ ในปี ค.ศ. 1823 เวอเลอร์สำเร็จการศึกษา[[แพทยศาสตร์]]ในไฮเดลเบิร์กที่ห้องปฏิบัติการของเลโอโปลด์ กเมลิน ผู้ซึ่งจัดการให้เขาทำงานกับเยินส์ ยาคอบ แบร์เซลิอุสใน[[สตอกโฮล์ม]] เขาสอนวิชาเคมีตั้งแต่ ค.ศ. 1826 ถึง 1831 ที่โรงเรียนโปลิเทคนิคใน[[เบอร์ลิน]]จนกระทั่ง ค.ศ. 1839 เมื่อเขาประจำอยู่ที่โรงเรียนโปลิเทคนิคที่คัสเซล[[คัสเซิล]] หลังจากนั้น เขาได้เป็นศาสตราจารย์เคมีสามัญในมหาวิทยาลัยกอตติงเกน ที่ซึ่งเขาทำงานอยู่จนกระทั่งเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1882 ในปี ค.ศ. 1834 เขาได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกต่างชาติของราชสมาคมวิทยาศาสตร์สวีเดน
 
== การพัฒนาความรู้วิชาเคมี ==
เวอเลอร์ได้ชื่อว่าเป็นผู้บุกเบิก[[เคมีอินทรีย์]]หลังจากที่เขาสามารถสังเคราะห์ยูเรียขึ้นโดยอุบัติเหตุใน[[การสังเคราะห์เวอเลอร์]]ในปี ค.ศ. 1828 การสังเคราะห์ดังกล่าวถือเป็นจุดสำคัญในประวัติศาสตร์ของวิทยาศาสตร์ซึ่งพิสูจน์แย้งทฤษฎีพลังชีวิตซึ่งเคยเชื่อกันมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ โดยการแสดงให้เห็นว่า[[สารประกอบอินทรีย์]]สามารถถูกสังเคราะห์ขึ้นได้จากสารตั้งต้นที่เป็นสารอนินทรีย์
 
== งานสำคัญ การค้นพบและงานวิจัย ==
เวอเลอร์ยังเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นผู้ค้นพบร่วมของ[[เบริลเลียม]], [[ซิลิกอน]] และซิลิกอนไนเตรด เช่นเดียวกับการสังเคราะห์แคลเซียมคาร์ไบน์ และอื่น ๆ ในปี ค.ศ. 1834 เวอเลอร์และยุสตุส ไลบิกได้ตีพิมพ์การสำรวจน้ำมันของอัลมอนด์ขม พวกเขาพิสูจน์จากการทดลองที่ว่ากลุ่มอะตอมคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจนสามารถแสดงคุณสมบัติเหมือนกับธาตุ เข้าแทนที่ธาตุ และสามารถแลกเปลี่ยนธาตุในสารประกอบเคมีกันได้
 
นับตั้งแต่การค้นพบโพแทสเซียมโดยฮัมฟรี เดวี ได้มีการสันนิษฐานว่าอลูมินา ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของ[[ดินเหนียว]] ประกอบด้วยโลหะอยู่รวมกับออกซิเจน เดวี โอแอร์สเทดท์ และแบร์เซลิอุสพยายามที่จะสกัดเอาโลหะนี้ออกมา แต่ไม่สำเร็จ ในภายหลัง เวอเลอร์ได้ทำงานในหัวข้อนี้ และค้นพบโลหะ[[อลูมิเนียม]]ในปี ค.ศ. 1827 สำหรับเขามีการแยกธาตุ[[อิตเทรียม]] เบริเลียมและ[[ไทเทเนียม]] การสังเกตที่ว่า "ซิลิเซียม" (ซิลิกอน) สามารถพบได้ในผลึก และหินสะเก็ดดาวบางชิ้นที่มีสารอินทรีย์ เขาวิเคราะห์อุกกาบาตจำนวนหนึ่ง และใช้เวลาอีกหลายปีในการเขียนหนังสือรวบรวมวรรณกรรมเกี่ยวกับอุกกาบาตใน Jahresberichte über die Fortschritte der Chemie เขาเป็นผู้ถือครองอุกกาบาตสะสมส่วนตัวที่ดีที่สุดและเหล็กที่มีอยู่
 
{{Birth|1800}}{{Death|1882}}
[[หมวดหมู่:นักเคมีชาวเยอรมัน]]
[[หมวดหมู่:ภาคีสมาชิกราชสมาคมแห่งลอนดอน]]
 
[[en:Friedrich Wöhler]]