ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การก่อการร้าย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
คำว่า '''การก่อการร้าย''' ({{lang-en|Terrorism}}) เป็นคำที่ยังไม่มีการจำกัดความในกฎหมายอาญาที่มีผลผูกมัดตามกฎหมายและได้รับการยอมรับอย่างสากล การจำกัดความโดยทั่วไปของการก่อการร้ายนั้นหมายถึงเพียงพฤติการณ์รุนแรงซึ่งมีเจตนาที่จะก่อให้เกิดความกลัว กระทำการเพื่อจุดประสงค์ทางศาสนา การเมืองหรืออุดมการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นการกระทำที่จงใจหรือไม่ใส่ใจต่อความปลอดภัยของผู้ที่ไม่เกี่ยวข้อง (พลเรือน) และกระทำโดยองค์กรที่ไม่ใช่หน่วยงานของรัฐใด ๆ
[[ไฟล์:Number of Terrorist Incidents.png|thumb|left|350px|แผนที่แสดงจำนวนเหตุการณ์ก่อการร้ายทั่วโลก]]
 
"การก่อการร้าย" เป็นข้อกล่าวหาทางการเมืองและอารมณ์ ซึ่งยิ่งเป็นการทำให้การให้คำจำกัดความที่แม่นยำยิ่งยากขึ้นไปอีก การศึกษาได้พบการจำกัดความ "การก่อการร้าย" มากกว่า 100 แบบ แนวคิดของการก่อการร้ายนั้นอาจเป็นหัวข้อโต้เถียงด้วยตัวของมันเอง เนื่องจากมันถูกใช้อย่างบ่อยครั้งโดยหน่วยงานของรัฐเพื่อลดความชอบธรรมของศัตรูการเมืองหรืออื่น ๆ และมีศักยภาพที่จะเพิ่มความชอบธรรมให้แก่รัฐในการใช้กำลังกับผู้ต่อต้าน ซึ่งการใช้กำลังเช่นนี้อาจถูกอธิบายว่าเป็นการสร้าง "ความกลัว" ขึ้นโดยศัตรูการเมืองนั้นด้วย
คำว่า '''การก่อการร้าย''' ({{lang-en|Terrorism}}) เป็นคำที่มีการโต้เถียงอย่างกว้างขวาง และมีนิยามที่หลากหลาย โดยไม่มีความหมายใด ที่ได้รับการยอมรับโดยสมบูรณ์{{อ้างอิง}} วอล์เตอร์ ลาควอร์ แห่ง[[ศูนย์การศึกษายุทธศาสตร์และการต่างประเทศ]] (Center for Strategic and International Studies) ได้กล่าวว่า "ลักษณะเฉพาะที่ยอมรับกันทั่วไปคือการก่อการร้ายนั้น เกี่ยวข้องกับความรุนแรง หรือการข่มขู่ด้วยความรุนแรง"{{อ้างอิง}}
 
ผู้เชี่ยวชาญด้านการก่อการร้ายจำนวนมากมีความเห็นสอดคล้องกันว่า การก่อการร้ายที่เกิดขึ้น จะแฝงไว้ด้วยยุทธศาสตร์ ไม่ว่าจะกระทำโดย การวางระเบิด การใช้ปืนยิง การจี้ (เครื่องบิน หรือ รถโดยสาร) หรือ การลอบสังหาร ไม่ได้เป็นการลงมืออย่างเลือกสุ่ม ไม่เกิดขึ้นเองโดยปราศจากความตั้งใจ และไม่ได้เกิดขึ้นอย่างมืดบอด แต่เป็นการกระทำที่เกิดขึ้นโดยตั้งใจที่จะใช้ความรุนแรง มุ่งประสงค์ต่อพลเรือน เพื่อหวังผลทางการเมือง หรือสนองความเชื่อทางศาสนา
 
อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ ก็ยังคงไม่สามารถจะกำหนดคำจำกัดความที่ตายตัว กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ให้คำจำกัดความการก่อการร้ายไว้ว่า “เป็นการกระทำที่ผ่านการใคร่ครวญพิจารณา เป็นการก่อความรุนแรงพุ่งเป้าต่อบุคคลที่ไม่ใช่ทหาร และแฝงไว้ด้วยวัตถุประสงค์ทางการเมือง กระทำขึ้นโดยกลุ่มองค์กรระดับท้องถิ่นของแต่ละประเทศ หรือองค์กรลับ โดยปกติจะกระทำเพื่อให้เกิดผลกระทบขึ้นแก่ผู้พบเห็น” ขณะที่ นายพอล พิลล่าร์ อดีต รองผู้อำนวยศูนย์ต่อต้านการก่อการร้าย ของสำนักงานข่าวกรองกลางสหรัฐฯ (CIA) ให้ความเห็นในเชิงโต้เถียงว่า การก่อการร้ายจะต้องมีองค์ประกอบรวม 4 ประการ คือ
 
1. ไม่ใช่การกระทำที่เกิดขึ้นจากการตัดสินใจเพียงชั่ววูบ แต่เป็นการกระทำที่ผ่านการใคร่ครวญไตร่ตรอง และวางแผนไว้ล่วงหน้า
 
2. เป็นการกระทำที่หวังผลทางการเมือง ไม่ใช่อาชญากรรม ดังเช่นกลุ่มองค์กรที่ดำเนินธุรกิจผิดกฎหมาย เช่น กลุ่มมาเฟีย ก่อเหตุรุนแรงเพื่อหวังเงินหรือทรัพย์สินเป็นรายได้ แต่เป็นการกระทำเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองจากที่เป็นอย่างในปัจจุบัน ไปสู่แนวทางที่ผู้ก่อการร้ายต้องการ
 
3. ส่วนใหญ่เป็นการกระทำที่มุ่งร้ายต่อเป้าหมายพลเรือน ไม่ได้พุ่งเป้าฝ่ายทหาร หรือหน่วยทหารที่พร้อมรบ
 
4. กระทำโดยกลุ่มองค์กรที่แฝงตัวอยู่ในประเทศ ไม่ใช่กำลังทหารของประเทศต้นกำเนิด
 
 
การใช้คำนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 มักใช้เพื่อเรียกการโจมตีของ "องค์กรลับหรือองค์กรระหว่างประเทศที่มีเป้าหมายเพื่อบังคับรัฐบาล ด้วยการกระทำที่ใช้ความรุนแรงต่อรัฐบาลนั้น หรือสมาชิกของรัฐนั้น" (ตาม [[พจนานุกรมออกซ์ฟอร์ด]]) อย่างไรก็ตาม คำนี้เป็นคำที่ถูกใช้ในทางที่ไม่ดีเสมอ และมีความหมายที่กว้างขึ้นตั้งแต่มีการประกาศ[[สงครามกับการก่อการร้าย]] จนครอบคลุมไปถึงทุก ๆ กิจกรรมที่ใช้[[ความรุนแรง]]ในทางที่[[ผิดศีลธรรม]]
 
คำนี้เป็นคำที่ถูกใช้เฉพาะเพื่อเรียก ''ฝ่ายตรงข้าม'' ซึ่งก่อความรุนแรงตามคำนิยามเท่านั้น ไม่มีกลุ่มใด ๆ ที่เรียกตัวเองว่าเป็น "ผู้ก่อการร้าย"
 
นิยามของคำนี้มีขอบข่ายที่กว้างมาก โดยมักจะมีเงื่อนไขต่อไปนี้
* ''แรงจูงใจ'' เกี่ยวกับการเมือง หรือศาสนา หรือลัทธิความเชื่อ
* ''เป้าหมาย'' คือพลเมือง
* ''จุดประสงค์'' เพื่อข่มขู่
* การข่มขู่มุ่งเป้าไปที่ ''รัฐบาล'' หรือ ''สังคม''
* ''ผู้กระทำ'' นั้นไม่ใช่รัฐ
* การกระทำนั้น ''ผิดกฎหมาย''
 
แต่ไม่มีเงื่อนไขข้อใดได้รับการยอมรับอย่างสมบูรณ์ว่าจำเป็น หรือพอเพียง ในการจัดว่ากิจกรรมใด ๆ เป็นการก่อการร้าย
 
== ดูเพิ่ม ==