ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พญายอดเชียงราย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
เด่ะมาต่อ
เด่ะมาต่อ อีกที ^0^
บรรทัด 13:
|พระมเหสี = [[มหาเทวีสิริยศวดี]] (นางโป่งน้อย หรืออโนชาเทวี)<ref>สรัสวดี อ๋องสกุล. '''ประวัติศาสตร์ล้านนา'''. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:อมรินทร์, 2552. หน้า 168</ref>
|พระราชสวามี =
|พระราชโอรส/ธิดา = [[พญาแก้ว|พญาแก้วภูตาธิปติราชาเจ้า]]
|ราชวงศ์ = [[ราชวงศ์มังราย]]
|ทรงราชย์ =
บรรทัด 19:
|ระยะเวลาครองราชย์ = [[พ.ศ. 2030]] - [[พ.ศ. 2038|2038]]
|รัชกาลก่อนหน้า = [[พระเจ้าติโลกราช]]
|รัชกาลถัดมา = [[พญาแก้ว|พญาแก้วภูตาธิปติราชาเจ้า]]
|}}
 
'''พญายอดเชียงราย''' หรือ '''ท้าวยอดเมือง''' กษัตริย์[[ล้านนา]]แห่งราชวงศ์มังราย (ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2030 - 2038) พระโอรสใน[[ท้าวบุญเรือง]]ซึ่งเป็นพระโอรสใน[[พระเจ้าติโลกราช]]
 
==พระราชประวัติ==
พญายอดเชียงราย หรือ ท้าวยอดเมือง พระโอรสในท้าวบุญเรือง ในฐานะพระราชนัดดาใน[[พระเจ้าติโลกราช]] ท้าวยอดเมืองเคยร่วมทำสงครามกับท้าวบุญเรือง และพระเจ้าติโลกราชหลายครั้ง ท้าวยอดเมืองเคยครองเมืองแช่สัก ขณะที่ท้าวบุญเรืองผู้เป็นบิดาครองเมืองเชียงรายในฐานะเจ้าราชบุตรซึ่งเป็นอุปราช โดยในปี [[พ.ศ. 2005]] ท้าวยอดเมืองได้รับคำสั่งให้ขยายอำนาจไปสู่[[รัฐฉาน|ดินแดนไทใหญ่]] โดยเฉพาะ[[เมืองนาย]]และเมืองใกล้เคียง<ref>'''ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่''', หน้า 78</ref> และท้าวยอดเมืองก็มีบทบาทร่วมรบกับท้าวบุญเรืองผู้เป็นบิดา
 
ในปลายรัชสมัยของพระเจ้าติโลกราช ได้การประหารชีวิตบุคคลสำคัญหลายคนที่เคยร่วมศึกกันมา ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ ท้าวบุญเรืองที่ถูกประหารชีวิตโดยไม่มีความผิด เนื่องจากการใส่ร้ายของพระสนมคนโปรดของพระเจ้าติโลกราช ซึ่งเรื่องดังกล่าวถือเป็นเรื่องร้ายแรงที่บิดาฆ่าบุตรของตน ถือเป็นสิ่งผิดปกติหรือกาลกิณี ผู้ที่เสียใจมาที่สุดคือท้าวยอดเมือง พระองค์จึงได้สร้างวัดบริเวณตำแหน่งกาลกิณีเมืองทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองเชียงใหม่<ref>สมโชติ อ๋องสกุล และสรัสวดี อ๋องสกุล. '''วัดในทักษาเมือง''', หน้า 42</ref>
 
==ครองราชย์==
หลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าติโลกราช ท้าวยอดเมืองจึงสืบราชสมบัติต่อมา ในช่วงดังกล่าวได้เกิดความขัดแย้งระหว่างกษัตริย์กับขุนนาง โดยหลักฐานของจีนทำให้สันนิษฐานได้ว่าพญายอดเมืองทรงตอบสนองความต้องการของจีนหรือกรมการเมืองของยูนนานมาก จนไม่สนใจความต้องการของท้องถิ่น<ref>วินัย พงศ์ศรีเพียร. '''ปาไป่สีฟู-ปาไป่ต้าเตี้ยน''', หน้า 149</ref> ซึ่งเรื่องราวดังกล่าวสอดคล้องกับหลักฐานท้องถิ่นคือ ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ และตำนานพื้นเมืองลำพูน ที่กล่างถึงท้าวยอดเมืองไม่รักเจ้าแก้ว ราชบุตรของพระองค์ที่เกิดจาก[[มหาเทวีสิริยศวดี|นางโป่งน้อย]] แต่กลับเอาใจใส่ลูก[[ฮ่อ]] ซึ่งเลี้ยงเป็นลูกและให้ไปครอง[[อำเภอพร้าว|เมืองพร้าว]] <ref>'''ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่''', หน้า 83</ref> และมีการกล่าวถึงเจ้าแก้วถูกบังคับให้ไหว้ลูกฮ่ออีกด้วย<ref>ตำนานเมืองลำพูน (สังเขป), หน้า 78-79</ref> ด้วยการที่พระองค์สนิทสนมกับฮ่อมากเกินไป จึงสร้างความไม่พอใจแก่เหล่าขุนนางเนื่องจากพระองค์ไม่ทรงรับฟังขุนนาง ท้ายที่สุดพระองค์ก็ถูกขุนนางปลดออก หลังจากครองราชย์ได้ 8 ปี โดยพระองค์ให้ไปครองเมืองซะมาดใน[[จังหวัดแม่ฮ่องสอน|เขตแม่ฮ่องสอน]] พร้อมกับยกเจ้าแก้วขึ้นครองราชย์สืบมา<ref>สรัสวดี อ๋องสกุล. '''พื้นเมืองเชียงแสน''', หน้า 157</ref>
 
==อ้างอิง==