ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จารีตและวิถีประชา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 12:
อันศีลธรรมนั้น หากเป็นของที่คนหมู่ซึ่งประกอบอาชีพลักษณะเดียวกันถือร่วมกัน ศีลธรรมของวิชาชีพนั้นจะเรียก '''"จริยธรรม"''' ({{lang-en|ethics}}) เช่น จริยธรรมของแพทย์ จริยธรรมของนักกฎหมาย
 
เมื่อศีลธรรมนั้นได้รับการประพฤติปฏิบัตินานเข้า ๆ และเกิดความรู้สึกร่วมกันว่าจะต้องปฏิบัติเช่นนั้น ก็กลายเป็นกฎเกณฑ์ควบคุมความประพฤติที่เรียกว่า '''"จารีตประเพณี"''' ดังกล่าวมาแล้ว จารีตประเพณีนี้มีสภาพบังคับสำหรับกรณีที่มีการฝ่าฝืน คือ สมาชิกในสังคมนั้นจะร่วมกันประณามหรือเกิดความรู้สึกเป็นผิดเป็นชั่วสำหรับผู้ฝ่าฝืนจารีตประเพณี ซึ่งสภาพบังคับเช่นนี้บางทีก็ไม่ชัดเจน กระนั้น จารีตประเพณีเป็นเรื่องอันครอบคลุมทุกมิติของสังคมมากกว่ากฎหมาย กฎหมายจึงใช้จารีตประเพณีอุดช่องว่างของกฎหมาย เช่น ที่กำหนดใน[[ประมวลกฎหมากฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทย]] ว่า ในกรณีที่กฎหมายไม่ครอบคลุม ก็ให้เอาจารีตประเพณีมาใช้<ref>มานิตย์ จุมปา. (2548). "สังคมและความประพฤติ". ''ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมาย''. มานิตย์ จุมปา, บรรณาธิการ. (พิมพ์ครั้งที่หก) กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หน้า 17.</ref>
 
== วิถีประชา ==