ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การแผลงเป็นไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
 
== เหตุจูงใจ ==
การแผลงเป็นไทยเป็นผลกระทบข้างเคียงของนโยบาย[[ชาตินิยม]]ที่สอดคล้องกันของรัฐไทยหลังจาก[[การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475]] ผู้นำการปฏิวัติ ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจโดยแนวคิดรัฐชาติของตะวันตก มุ่งเพิ่มอำนาจของชาวไทยภาคกลาง ธุรกิจที่กระจายไปเป็นของชนกลุ่มน้อย อย่างเช่น พ่อค้าชาวไทยเชื้อสายจีนดั้งเดิม ถูกขับออกไปจากรัฐอย่างก้าวร้าว ซึ่งให้สิทธิประโยชน์แก่ชาวไทย<ref>{{Cite book|title=Colonial Legacies: Economic and Social Development in East and Southeast Asia|first=Anne|last=Booth|publisher=[[University of Hawaii Press]]|year=2007|page=122}}</ref> เอกลักษณ์ไทยถูกเสริมทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ภาคกลางของประเทศได้มีภาวะครอบงำทั้งทางเศรษฐกิจและการเมือง ตลอดจนภาษากลางยังกลายมาเป็นภาษาของสื่อ ธุรกิจ และการศึกษา ค่านิยมของภาคกลางได้ถูกทำให้เท่ากันกับค่านิยมของทั้งประเทศด้วย วัฒนธรรมไทยกลางที่เป็นวัฒนธรรมแห่งความมั่งคั่งและสถานภาพ ทำให้เป็นที่ดึงดูดอย่าสงมากต่อผู้ที่อยู่ ณ ชายขอบทางเศรษฐกิจและสังคม
 
== เป้าหมาย ==
บรรทัด 14:
 
=== การศึกษา ===
เป็นนโยบายที่มีผลทั่วประเทศ แต่ได้มีผลกระทบต่อพวกที่อยู่บริเวณชายขอบอย่างไม่สมส่วน ตัวอย่างหนึ่งของนโยบายนี้ ได้แก่ การบังคับให้ใช้ภาษาไทยในโรงเรียน ซึ่งมีผลกระทบเพียงเล็กน้อยต่อชาวไทยกลางที่ได้ใช้ภาษาไทยในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว แต่มีผลกระทบต่อผู้พูดภาษาถิ่นในภาคอีสาน [[คำเมือง]]ในภาคเหนือ และ[[ภาษายะวี]]ในภาคใต้ มาตรการรุนแรงได้ถูกใช้กับชาวไทยเชื้อสายจีน หลังจากที่[[สาธารณรัฐประชาชนจีน]]ได้รับการสถาปนาขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2492 รัฐบาลต่อต้าน[[คอมมิวนิสต์]]หลายชุด ซึ่งเริ่มตั้งแต่สมัยจอมพล [[ป. พิบูลสงคราม]] ได้ลดจำนวนผู้อพยพชาวจีนอย่างรุนแรงและสั่งห้ามโรงเรียนมัธยมศึกษาภาษาจีนทั้งหมดในประเทศไทย ชาวไทยเชื้อสายจีนที่เกิดหลังคริสต์ทศวรรษ 1950 มี "โอกาสจำกัดมากที่จะเข้าโรงเรียนภาษาจีน" ชาวไทยเชื้อสายจีนที่มีอันจะกินได้ส่งเสียบุตรไปศึกษาภาษาอังกฤษต่อยังต่างประเทศแทนภาษาจีนด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ ผลที่ตามมาคือ ชาวจีนในประเทซไทย "เกือบจะสูญเสียภาษาของบรรพบุรุษอย่างสิ้นเชิง" และค่อย ๆ สูญเสียเอกลักษณ์ความเป็นจีนของตนไป<ref>{{Cite book|title=Alternate Identities: The Chinese of Contemporary Thailand|author=Tong, Chee Kiong|coauthors=Chan, Kwok Bun|publisher=[[Brill Publishers]]|year=2001|pages=170–177}}</ref>
 
==== การกระตุ้นชาตินิยม ===
บรรทัด 21:
=== การเพิ่มบทบาทของรัฐ ===
เป็นนโยบายซึ่งอาจมิใช่ชาตินิยมอย่างเด่นชัด แต่กระนั้นก็สามารถสนับสนุนความเป็นชาตินิยมขึ้นได้ ตัวอย่างเช่น การเพิ่มการเข้าเรียนในโรงเรียน ซึ่งเมื่อประกอบกับการบังคับห้ามสอนภาษาชนกลุ่มน้อยในโรงเรียน ทำให้มีผลลดการใช้ภาษาเหล่านั้น และหันมาใช้ภาษาไทยแทน
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
 
=== บรรณานุกรม ===
*Thongchai Winichakul. ''Siam Mapped''. University of Hawaii Press, 1994. ISBN 0-8248-1974-8
*Wyatt, David. ''Thailand: A Short History'' (2nd edition). Yale University Press, 2003. ISBN 0-300-08475-7
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
*[http://inetapps.nus.edu.sg/ari/showfile.asp?eventfileid=188 In Defense of the Thai-Style Democracy]. Pattana Kitiarsa. Asia Research Institute. National University of Singapore. October 12, 2006. File Format: PDF/Adobe Acrobat.
 
[[หมวดหมู่:วัฒนธรรมไทย]]