ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การแผลงเป็นไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 3:
== เหตุจูงใจ ==
การแผลงเป็นไทยเป็นผลกระทบข้างเคียงของนโยบาย[[ชาตินิยม]]ที่สอดคล้องกันของรัฐไทยหลังจาก[[การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475]] ผู้นำการปฏิวัติ ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจโดยแนวคิดรัฐชาติของตะวันตก มุ่งเพิ่มอำนาจของชาวไทยภาคกลาง ธุรกิจที่กระจายไปเป็นของชนกลุ่มน้อย อย่างเช่น พ่อค้าชาวไทยเชื้อสายจีนดั้งเดิม ถูกขับออกไปจากรัฐอย่างก้าวร้าว ซึ่งให้สิทธิประโยชน์แก่ชาวไทย เอกลักษณ์ไทยถูกเสริมทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ภาคกลางของประเทศได้มีภาวะครอบงำทั้งทางเศรษฐกิจและการเมือง ตลอดจนภาษากลางยังกลายมาเป็นภาษาของสื่อ ธุรกิจ และการศึกษา ค่านิยมของภาคกลางได้ถูกทำให้เท่ากันกับค่านิยมของทั้งประเทศด้วย วัฒนธรรมไทยกลางที่เป็นวัฒนธรรมแห่งความมั่งคั่งและสถานภาพ ทำให้เป็นที่ดึงดูดอย่าสงมากต่อผู้ที่อยู่ ณ ชายขอบทางเศรษฐกิจและสังคม
 
== เป้าหมาย ==
เป้าหมายหลักของการแผลงเป็นไทยเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ตามชายขอบของราชอาณษจักร ทั้งทางภูมิศาสตร์และวัฒนธรรม ซึ่งได้แก่ [[ชาวลาว]]ใน[[ภาคอีสาน]] ชาวไทยภูเขาทางภาคเหนือและตะวันตก ชาวมุสลิมมาเลย์ทางภาคใต้ นอกจากนี้ ยังมีการแผลงเป็นไทยกับประชากรอพยพชาวจีนและอินเดียเป็นจำนวนมาก
 
== นโยบาย ==
การแผลงเป็นไทยโดยรัฐบาลสามารถแบ่งออกได้เป็นนโยบายสี่ชุด ได้แก่
 
=== การพัฒนาชนบท ===
รัฐบาลกำหนดนโยบายและการกระทำที่ชัดเจนไปยังกลุ่มที่อยู่บริเวณชายขอบของประเทศ ตัวอย่างเช่น โครงการเร่งการพัฒนาชนบท พ.ศ. 2507 ซึ่งมีการดำเนินงานในภาคอีสาน โดยมีจุดประสงค์ให้เพิ่มความจงรักภักดีกับ[[กรุงเทพมหานคร]]และส่วนที่เหลือของประเทศ
 
=== การศึกษา ===
เป็นนโยบายที่มีผลทั่วประเทศ แต่ได้มีผลกระทบต่อพวกที่อยู่บริเวณชายขอบอย่างไม่สมส่วน ตัวอย่างหนึ่งของนโยบายนี้ ได้แก่ การบังคับให้ใช้ภาษาไทยในโรงเรียน ซึ่งมีผลกระทบเพียงเล็กน้อยต่อชาวไทยกลางที่ได้ใช้ภาษาไทยในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว แต่มีผลกระทบต่อผู้พูดภาษาถิ่นในภาคอีสาน [[คำเมือง]]ในภาคเหนือ และ[[ภาษายะวี]]ในภาคใต้
 
{{โครงส่วน}}
 
[[หมวดหมู่:วัฒนธรรมไทย]]