ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ค่าปฏิกรรมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 31:
 
== ผลกระทบต่อเศรษฐกิจเยอรมนี ==
ปัญหาทางเศรษฐกิจที่มีต่อการจ่ายค่าปฏิกรรมสงคราม และความไม่พอใจของชาวเยอรมันที่มีต่อการลงโทษดังกล่าว มักจะถูกพิจารณาว่าเป็นสาเหตุที่นำไปสู่จุดสิ้นสุดของ[[สาธารณรัฐไวมาร์]] และการเริ่มต้นของการปกครองแบบเผด็จการในเยอรมนี ที่เรียกว่า [[นาซีเยอรมนี]] ส่วนบางคนได้ทำนายเอาไว้ล่วงหน้าแล้วว่าการลงนามในสนธิสัญญาแวร์ซายส์จะก่อให้เกิดผลกระทบเช่นนี้<ref>{{Gutenberg | no=15776 | name=The Economic Consequences of the Peace | author=[[จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์]]}}</ref> โดยมีนักประวัติศาสตร์ผู้โด่งดังเป็นส่วนน้อยเท่านั้นที่ไม่เห็นด้วยกับการอ้างเหตุผลดังกล่าว อย่างเช่น [[มาร์กาเรต แมกมิลแลน]] โดยความเสียหายที่เกิดขึ้นกับระบบสาธารณูปโภคระหว่างช่วงการถอยทัพของทหารเยอรมันก็ได้นำมาพูดถึงด้วย จากที่ได้กล่าวไว้ในหนังสือ ''Peacemakers: The Paris Peace Conference of 1919 and Its Attempt to End War'' อธิบายถึงการอ้างสิทธิ์ของฝรั่งเศสและเบลเยี่ยม "จากจุดเริ่มต้น [[ประเทศฝรั่งเศส|ฝรั่งเศส]]และ[[ประเทศเบลเยี่ยม|เบลเยี่ยม]] อ้างสิทธิ์ให้มีการกระจายค่าปฏิกรรมสงครามามลำดับของผลกระทบจากความเสียหาย ในเขตอุตสาหกรรมหนักทางตอนเหนือของฝรั่งเศส เยอรมนีได้ลำเลียงเอาสิ่งที่ต้องการออกไปเป็นจำนวนมากและทำลายส่วนที่เหลืออยู่ทั้งหมด แม้ว่ากองทัพเยอรมันจะล่าถอยในปี [[ค.ศ. 1918]] แต่ก็ยังสามารถเจียดเวลาออกไประเบิดเหมืองถ่านหินซึ่งมีความสำคัญของฝรั่งเศสได้อยู่ดี"<ref>MacMillan, Margaret. (2001) ''Peacemakers: The Paris Peace Conference of 1919 and Its Attempt to End War.'' ISBN 0-7195-5939-1 (UK), 2001; ISBN 0-375-50826-0, 9 (US), 2002.</ref> อย่างไรก็ตาม เบลเยี่ยมไม่ได้รับค่าปฏิกรรมสงครามตามที่เคยสัญญาเอาไว้ในสนธิสัญญาแวร์ซายส์ เนื่องจากฝรั่งเศสและอังกฤษเองต่างก็มีหนี้ที่ตนต้องชำระอยู่เช่นเดียวกัน นักประวัติศาสตร์ชาวอเมริกัน แซลลี มาร์กส์ ให้ความเห็นว่า เคนส์ได้ตกหลุมรักคาร์ล เมนชีออร์ สมาชิกคณะผู้แทนเยอรมัน และระบุว่ามุมมองเกี่ยวกับค่าปฏิกรรมสงครามนั้น "... ก่อตัวขึ้นจากความหลงใหลในตัวคาร์ล เมนชีออร์ นักการเงินชาวเยอรมันและผู้เชี่ยวชาญด้านค่าปฏิกรรมสงครามที่เขาพบระหว่างการเจรจาที่สปาไม่นานหลังจากมีการสงบศึก"<ref name= "Kagan p. 418">{{harvnb|Kagan|1996|p=418}}</ref>
 
นักเศรษฐศาสตร์อย่างเช่นเคนส์อ้างว่าการจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามจำนวนมหาศาลดังกล่าวเป็นไปไม่ได้ในทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ตามที่วิลเลียม อาร์. เคย์เลอร์ระบุไว้ใน ''Versailles and International Diplomacy'' ว่า "การเพิ่มปริมาณภาษีและการลดการบริโภคในสาธารณรัฐไวมาร์ ทำให้เกิดความจำเป็นที่จะนำรายได้จากการส่งออกเพื่อก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนกับต่างประเทศ และนำมาชำระหนี้ค่าปฏิกรรมสงคราม" อย่างไรก็ตาม รายได้จากการส่งออกและผลของการขาดดุลในการส่งออกทำให้เกิดเป็นสถานการณ์ทางการเมืองอันยากยิ่ง ซึ่งอันที่จริงแล้ว มันก็เป็นสาเหตุของการประท้วงหยุดงานทั่วประเทศในสหราชอาณาจักร ค.ศ. 1926