ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หอยเบี้ยจักจั่น"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 48:
เปลือกหอยของหอยเบี้ยชนิดนี้ มีความสำคัญต่อมนุษย์มาตั้งแต่ยุคโบราณ โดยใช้เป็นเครื่องแลกเปลี่ยนสิ่งของแทนเงินตราในปัจจุบัน สันนิษฐานว่าคำว่า "เบี้ย" ใน[[ภาษาไทย]]ก็เรียกเพี้ยนมาจากคำว่า "[[รูปี]]" ซึ่งเป็นหน่วยเงินตราของ[[อินเดีย]]มาตั้งแต่สมัย[[พุทธกาล]]<ref name="ap">คอลัมน์ Aqua Pets โดย จอม สมหวัง ปัทมคันธิน "สุดยอดแฟนพันธุ์แท้เปลือกหอย 2 สมัย" หน้า 107 นิตยสาร Aquarium Biz Vo.1 issue 6 ฉบับเดือน[[ธันวาคม]] [[ค.ศ. 2010|2010]]</ref>
 
นอกจากนี้แล้ว เปลือกหอยเบี้ยจักจั่นยังใช้เป็น[[เครื่องราง]]ของขลังในวัฒนธรรมไทย โดยมักนำไปบรรจุ[[ปรอท]]แล้วเปิดทับด้วย[[ชันโรง]]ใต้ดิน อาจจะมีแผ่นทองแดงลงอักขระ[[ยันต์]]หรือไม่ก็ได้ เชื่อกันว่า ถ้าพกเปลือกหอยเบี้ยชนิดนี้ไว้กับตัวเวลาเดินทางสัญจรในป่า จะช่วยป้องกัน[[มาลาเรีย|ไข้ป่า]] รวมถึงป้องกันและแก้ไขภยันอันตรายจากร้ายให้กลายเป็นดีได้{{อ้างอิง}} หรือนำไปตกแต่ง[[พลอย]]เรียกว่า "ภคจั่น" ใน[[เด็ก]] ๆ เชื่อว่าช่วยให้ทำให้ฟันผุ หรือพกใส่กระเป๋าสตางค์ เชื่อว่าทำให้เงินทองไหลเทมาและโชคดี <ref>[http://www.ounamilit.com/b28_arkhom.htm ภคจั่น เครื่องรางโภคทรัพย์]</ref>
 
ปัจจุบัน เปลือกหอยเบี้ยจักจั่นยังนิยมสะสมกันเป็นของประดับและของสะสมกันอีกด้วย โดยชนิดของเปลือกหอยชนิดนี้ที่มีราคาสูงที่สุด เรียกว่า "โรสเตรท" (Rostrated) หรือ หอยเบี้ยจักจั่นงวง คือ เป็นหอยเบี้ยจักจั่นในตัวที่ส่วนท้ายของเปลือกมิได้กลมมนเหมือนเช่นปกติ แต่สร้าง[[แคลเซี่ยม]]เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในเวลาหลายปี จนกระทั่งยาวยืดออกมาและม้วนขึ้นเป็นวงอย่างสวยงามเหมือนงวงช้าง ซึ่งหอยในรูปแบบนี้จะพบได้เฉพาะแถบอ่าวด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของ[[หมู่เกาะนิวแคลิโดเนีย]]ที่เดียวในโลกเท่านั้น มีการประเมินราคาของเปลือกหอยลักษณะนี้ไว้ถึง 25 ล้านบาท<ref name="ap"/>