ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สนธิสัญญาคานางาวะ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''สนธิสัญญาคะนะงะวะ''' ({{Nihongo|Kanagawa Treaty|神奈川条約|Kanagawa Jōyaku}}) หรือ '''ข้อตกลงคะนะงะวะ''' ({{Nihongo|Convention of Kanagawa|日米和親条約|Nichibei Washin Jōyaku|"สนธิสัญญาสัมพันธไมตรีและมิตรภาพญี่ปุ่น-สหรัฐอเมริกา"}}) เป็นสนธิสัญญาที่ได้ทำขึ้นระหว่างพลเรือจัตวา แมทธิว ซี. เพอร์รี แห่งกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา และ[[รัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะ]] สนธิสัญญาดังกล่าวมีผลให้ญี่ปุ่นต้องเปิดเมืองท่าชิโมดะและ[[ฮาโกดาเตะ]]ให้ค้าขายกับสหรัฐอเมริกาและรับประกันความปลอดภัยของกะลาสีเรือแตกชาวอเมริกัน อย่างไรก็ตาม สนธิสัญญาดังกล่าวมิได้สร้างพื้นฐานสำหรับการตั้งถิ่นฐานถาวรในบริเวณดังกล่าว<ref>[http://query.nytimes.com/gst/abstract.html?res=980DE2D9113CE13BBC4052DFB667838E649FDE "From Washington; The Japanese Treaty-Its Advantages and Disadvantages-The President and Col. Rinney, &c.,"] ''New York Times.'' October 18, 1855.</ref> สนธิสัญญาได้วางรากฐานสำหรับสหรัฐในการรักษากงสุลถาวรในชิโมดะ การมาถึงของกองเรือของเพอร์รีนำมาซึ่งการสิ้นสุดของนโยบายตัดขาดจากโลกภายนอกเป็นเวลา 200 ปีของญี่ปุ่น (ซาโกกุ)<ref>Perry, Matthew Calbraith. (1856). [http://ebook.lib.hku.hk/CTWE/B36599566/ ''Narrative of the expedition of an American Squadron to the China Seas and Japan, 1856.'']</ref>
 
เพอร์รีเดิมปฏิเสธที่จะเจรจากับเจ้าหน้าที่ทางการของญี่ปุ่นและต้องการเจรจากับประมุขแห่งรัฐของญี่ปุ่นโดยตรง ในเวลานั้น [[โชกุน]] [[โทะกุงะวะ อิเอโยชิ]] เป็นผู้ปกครองโดยพฤตินัยของญี่ปุ่น สำหรับจักรพรรดิ ในการที่จะมีปฏิสัมพันธ์ในทางใดกับชาวต่างประเทศเป็นสิ่งที่ปราศจากข้อสงสัย เพอร์รีจึงทำสนธิสัญญากับผู้แทนของโชกุน และได้รับการอนุมัติอย่างไม่ค่อยเต็มใจในเวลาต่อมาโดย[[สมเด็จพระจักรพรรดิเคโมโคเม]]<ref>Cullen, Louis M. (2003). ''A History of Japan, 1582-1941: Internal and External Worlds,'' p. 173-185.</ref>
 
สนธิสัญญาคะนะงะวะ ตามมาด้วยสนธิสัญญาสัมพันธไมตรีและการค้า หรือ "สนธิสัญญาแฮริส" ใน ค.ศ. 1858 ซึ่งอนุญาตให้สัมปทานแก่ชาวต่างประเทศ การมอบ[[สิทธิสภาพนอกอาณาเขต]]ให้แก่ชาวต่างประเทศ และการจำกัดภาษีขาเข้าของสินค้าต่างประเทศ ญี่ปุ่นในเวลาต่อมาจะอยู่ภายใต้ "ระบบสนธิสัญญาอันไม่เป็นธรรม" อันเป็นลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างชาติเอเชียและชาติตะวันตกในยุคสมัยดังกล่าว<ref>Bert Edström, Bert. (2000). [http://books.google.com/books?id=ltmXn9rUGD8C&pg=PA101&dq=unequal+treaty+japan&lr=#PPA101,M1 ''The Japanese and Europe: Images and Perceptions,'' p. 101.]</ref>