ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คราวน์โคโลนี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 4:
 
จนกระทั่งกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 คำดังกล่าวมักจะหมายถึงอาณานิคมซึ่งอังกฤษได้มาจากสงคราม อย่างเช่น [[ตรินิแดด]] และ[[บริติชกินี]] แต่หลังจากจุดนี้ คราวน์โคโลนีได้มีการใช้อย่างแพร่หลายโดยหมายความถึงอาณานิคมใด ๆ ก็ตามที่ไม่ใช่[[บริติชราช]] และอาณานิคมซึ่งเป็นถิ่นฐานของอังกฤษ อย่างเช่น [[ออสเตรเลีย]] [[แคนาดา]] และ[[นิวซีแลนด์]] ซึ่งในภายหลังกลายมาเป็น[[ดินแดนในปกครอง]]
 
คำดังกล่าวได้มีการใช้เรื่อยมาจนกระทั่ง ค.ศ. 1981 เมื่อ[[พระราชบัญญัติสัญชาติอังกฤษ ค.ศ. 1981]] จัดระดับอาณานิคมอังกฤษที่เหลืออยู่เป็น "ดินแดนขึ้นกับอังกฤษ" และนับตั้งแต่ ค.ศ. 2002 เป็นต้นมา อาณานิคมเหล่านี้ได้เป็นที่รู้จักกันว่า[[อาณานิคมโพ้นทะเลสหราชอาณาจักร]]
 
== ประเภทของคราวน์โคโลนี ==
 
คราวน์โคโลนีสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ในปี ค.ศ. 1918 โดยแตกต่างกันในระดับของอิสรภาพในการปกครองตนเอง คราวน์โคโลนีที่มีสภาผู้แทนราษฎร เช่น [[เบอร์มิวดา]] [[จาไมกา]] [[ซีลอน]] และ[[ฟิจิ]] ซึ่งมีสภานิติบัญญัติ 1-2 สภา ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์หรือได้รับเลือกมาจากท้องถิ่น อาณานิคมเหล่าที่มีสภาซึ่งสมาชิกได้มาจากการเสนอชื่อ อย่างเช่น [[บริติชฮอนดูรัส]] [[เซียร์ราลีโอน]] [[เกรนาดา]] และ[[ฮ่องกง]] ซึ่งสมาชิกสภาทั้งหมดได้รับเลือกจากพระมหากษัตริย์ โดยบางส่วนได้รับแต่งตั้งผู้แทนจากประชาชนท้องถิ่น คราวน์โคโลนีประเภทที่สาม ซึ่งมีจำนวนน้อยที่สุด คือ อาณานิคมซึ่งปกครองโดยข้าหลวงโดยตรง อย่างเช่น [[ยิบรอลตาร์]] [[เซนต์เฮเลนา]] และ[[สิงคโปร์]]
 
[[หมวดหมู่:จักรวรรดิอังกฤษ]]