ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่สอง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ "สนธิสัญญาแวร์ซาย" → "สนธิสัญญาแวร์ซายส์" ด้วยสจห.
บรรทัด 3:
'''สาเหตุ'''เบื้องต้น'''ของสงครามโลกครั้งที่สอง''' คือ ความตึงเครียดเกี่ยวกับชาตินิยม ประเด็นปัญหาที่ไม่ได้รับการแก้ไข และความไม่พอใจอันเป็นผลสืบเนื่องมาจาก[[สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง]] และ[[สมัยระหว่างสงครามโลก]]ในทวีปยุโรป รวมทั้งผลกระทบของ[[ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่]]ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930 เหตุการณ์ต่าง ๆ ได้ลงเอยด้วยการปะทุของสงคราม ซึ่งมักเป็นที่เข้าใจว่าเป็น[[การรุกรานโปแลนด์ (1939)|การรุกรานโปแลนด์]] โดย[[นาซีเยอรมนี]] ความก้าวร้าวทางทหารนี้เป็นผลมาจากการตัดสินใจของผู้นำของเยอรมนีและญี่ปุ่น สงครามโลกครั้งที่สองเริ่มต้นขึ้นจากการปฏิบัติอันก้าวร้าวและบรรจบกับการประกาศสงคราม และ/หรือ การต่อต้านด้วยกำลัง
 
== อุดมการณ์ ลัทธิ และปรัชญา ==
== การต่อต้านคอมมิวนิสต์ ==
 
=== การต่อต้านคอมมิวนิสต์ ===
 
{{บทความหลัก|การต่อต้านคอมมิวนิสต์}}
เส้น 12 ⟶ 14:
ในเยอรมนีและอิตาลี ความเฟื่องฟูของฟาสซิสต์เป็นหนึ่งในสาเหตุของการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สองของประเทศเหล่านั้น ทั้งฟาสซิสต์ในอิตาลีและเยอรมนีต่างก็เป็นส่วนหนึ่งในปฏิกิริยาตอบโต้การจลาจลของคอมมิวนิสต์และพวก[[สังคมนิยม]] กลุ่มเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายขวาและพวก[[ทุนนิยม]] เนื่องจากว่าเป็นขบวนการซึ่งทั้งสองต่างก็อาศัยชนชั้นแรงงานและแยกพวกเขาออกจาก[[ลัทธิมาร์กซิสต์]] ปัจจัยเพิ่มเติมในเยอรมนีคือความสำเร็จของพวก[[ไฟรคอร์พส์]]ฝ่ายขวา ในการทำลาย[[สาธารณรัฐบาวาเรียนโซเวียต]] ในมิวนิก ปี ค.ศ. 1919 ทหารผ่านศึกจำนวนมากเหล่านี้กลายมาเป็นส่วนประกอบของหน่วยเอสเอของ[[พรรคนาซี]] ซึ่งถูกใช้เป็นกองกำลังของพรรคในการสู้รบตามท้องถนนกับชาวบ้านคอมมิวนิสต์ติดอาวุธในช่วงทศวรรษก่อนหน้า ค.ศ. 1933 ความรุนแรงตามท้องถนนจะช่วยเปลี่ยนแปลงความคิดเห็นอนุรักษนิยมสายกลางไปเป็นผู้นำ[[อำนาจนิยม]]ซึ่งต่อต้านคอมมิวนิสต์ ตามความต้องการของเยอรมนี เพื่อที่จะรักษาเสถียรภาพของวิถีชีวิตดั้งเดิมไว้
 
=== แผนการเอาใจเยอรมนีของพันธมิตรตะวันตก ===
 
''ดูเพิ่มที่ [[การเอาใจฮิตเลอร์]]''
เส้น 18 ⟶ 20:
[[สหราชอาณาจักร]]และ[[ฝรั่งเศส]]นั้นได้ดำเนินแผนการของตนเพื่อเอาใจฝ่ายเยอรมนีในตอนปลายทศวรรษ 1930 ภายใต้แผนการการเอาใจฮิตเลอร์ เยอรมนีนั้นได้รับข้อเสนอว่าตนจะสามารถขยายพื้นที่ของตนไปทางทิศตะวันออกได้โดยไม่ต้องเผชิญหน้ากับความขัดแย้งจากทั้งอังกฤษและฝรั่งเศส แต่เหตุการณ์ดังกล่าวได้เพิมความทะเยอทะยานของเขาและหลังจากนั้นก็ได้เริ่มแผนการต่างๆ ซึ่งจะนำไปสู่สงครามในไม่ช้า
 
=== การล่าอาณานิคมใหม่ ===
 
{{บทความหลัก|เลเบนซราอุม}}
เส้น 24 ⟶ 26:
[[ไฟล์:Japanese Empire2.png|thumb|right|200px|การขยายตัวของ[[จักรวรรดิญี่ปุ่น]]]]
 
การล่าอาณานิคม คือ หลักการการผนวกดินแดนหรืออำนาจทางเศรษฐกิจ โดยส่วนใหญ่แล้วจะต้องใช้กำลังทหารเข้าช่วย ใน[[อิตาลี]] [[เบนิโต มุสโสลินี]]นั้นมีความต้องการที่จะสร้าง[[จักรวรรดิโรมันใหม่]]ขึ้นรอบๆ [[ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน]] กองทัพอิตาลีได้โจมตี[[อัลเบเนีย]] เมื่อต้นปี 1939 ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นของสงคราม และต่อมาก็[[กรีซ]] ก่อนหน้านั้น เขาได้ออกคำสั่งให้โจมตี[[เอธิโอเปีย]] เมื่อปี 1935 มาก่อนแล้ว แต่ว่าการกระทำดังกล่าวนี้ ได้รับการตอบสนองน้อยมากจาก[[สันนิบาตชาติ]]และฝ่ายพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยการสร้างอาณาจักรของเขานั้นจะเกิดขึ้นระหว่างช่วงที่ผู้คนไม่ปรารถนาสงคราม และช่วงเศรษฐกิจตกต่ำของโลกในช่วงทศวรรษ 1930 ทางด้านเยอรมนีนั้นก็ได้เข้ามาช่วยเหลืออิตาลีหลายครั้ง อิตาลีนั้นได้รับความขมขื่นจากดินแดนเพียงน้อยนิดซึ่งได้รับหลังจาก[[สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง]] ระหว่าง[[สนธิสัญญาแวร์ซายส์แวร์ซายส์ส์|การประชุมที่เมืองแวร์ซายส์]] อิตาลีนั้นหวังจะได้ดินแดนจำนวนมากจากจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี แต่กลับได้เพียงดินแดนสองสามเมืองเท่านั้น และคำสัญญาที่ขอ[[อัลเบเนีย]]และ[[เอเชียไมเนอร์]]ก็ถูกผู้นำฝ่ายพันธมิตรอื่นๆ ละเลย
 
ทางด้านเยอรมนี หลังจากสิ้นสุด[[สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง]] เยอรมนีต้องสูญเสียดินแดนให้แก่[[ลิทัวเนีย]] [[ฝรั่งเศส]] [[โปแลนด์]] และ[[เดนมาร์ก]] โดยดินแดนที่เสียไปที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีก็คือ [[ฉนวนโปแลนด์]] [[นครเสรีดานซิก]] [[ไคลเปดา|แคว้นมาเมล]] (รวมกับ[[ลิทัวเนีย]]) [[มณฑลโปเซน]] และแคว้น[[อัลซาซ-ลอเรน]]ของฝรั่งเศส และดินแดนที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจมากที่สุด คือ [[แคว้นซิลิเซียตอนบน]] ส่วนดินแดนที่มีค่าทางเศรษฐกิจอีกสองแห่ง คือ [[ซาร์แลนด์]]และ[[ไรน์แลนด์]] นั้นอยู่ใต้การยึดครองของฝรั่งเศส และดินแดนที่ถูกฉีกออกไปจำนวนมากนี้ คนที่ไม่ใช่ชาวเยอรมันก็เข้ามาอาศัยเป็นจำนวนมาก
เส้น 30 ⟶ 32:
ผลของการสูญเสียดินแดนดังกล่าวก่อให้เกิดความขมขื่นแก่ชาวเยอรมัน และมีความสัมพันธ์อันเลวร้ายกับประเทศเพื่อนบ้าน ภายใต้การปกครองของ[[พรรคนาซี]] เยอรมนีก็เริ่มต้นการแสวงหาดินแดนเพิ่มเติม ตั้งใจที่จะฟื้นฟูดินแดนอันชอบธรรมของ[[จักรวรรดิเยอรมนี]] โดยที่สำคัญก็คือ แคว้นไรน์แลนด์และฉนวนโปแลนด์ ซึ่งอาจจะนำไปสู่สงครามที่หลีกเลี่ยงไม่ได้กับโปแลนด์ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการเอาใจของฝ่ายสัมพันธมิตร ทำให้ฮิตเลอร์มั่นใจได้ว่าสงครามกับโปแลนด์จะราบรื่นไปด้วยดี และถึงแม้จะแย่กว่านั้น ก็เพียงแค่เจรจากับฝ่ายสัมพันธมิตรเท่านั้น
 
นอกจากนี้ ฮิตเลอร์ยังมีแนวคิดที่จะสร้าง[[เยอรมนีอันยิ่งใหญ่]] ซึ่งเขาเห็นว่าประชาชนเยอรมันควรที่จะรวมกันเป็นชาติเดียวกัน และรวมไปถึงแผ่นดินที่ชาวเยอรมันได้อาศัยอยู่นั้น โดยในตอนแรก ฮิตเลอร์ได้เพ่งเล็งไปยัง[[ออสเตรีย]]และ[[เชโกสโลวาเกีย]] หลังจาก[[สนธิสัญญาแวร์ซายส์แวร์ซายส์ส์]] เยอรมนีพยายามที่จะรวมตัวกับ[[ออสเตรีย]] แต่ก็ถูกห้ามปรามโดยฝ่ายพันธมิตร เพราะว่าในอดีต ก็เคยมีการรวมตัวเป็นรัฐเยอรมนีในปี 1871 มาก่อน เนื่องจาก[[จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี]]ประกอบด้วยหลายเชื้อชาติ ดังที่เห็นได้จาก[[ปรัสเซีย]]และออสเตรียแข่งขันกันเพื่อแย่งชิงความเป็นใหญ่ในทวีป ภายหลังจาก[[สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง]] ชาวออสเตรียส่วนใหญ่ก็เห็นด้วยที่จะสร้างสหภาพดังกล่าวขึ้น
 
ด้านสหภาพโซเวียตได้สูญเสียพื้นที่จำนวนมากจากดินแดนของ[[จักรวรรดิรัสเซีย]]เดิม โดยสูญเสีย[[โปแลนด์]] [[ฟินแลนด์]] [[เอสตัวเนีย]] [[แลตเวีย]] [[ลิทัวเนีย]]และ[[โรมาเนีย]] ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและ[[สงครามกลางเมืองรัสเซีย]] รวมไปถึงดินแดนบางส่วนซึ่งสูญเสียให้แก่[[ญี่ปุ่น]] และสหภาพโซเวียตมีความต้องการอย่างยิ่งที่จะเอาดินแดนที่สูญเสียไปทั้งหมดกลับคืน
เส้น 48 ⟶ 50:
ในหลายกรณี แนวคิดการล่าอาณานิคมได้นำไปสู่สงครามโลกครั้งที่สอง โดยมีเป้าหมายไปในทางชาตินิยมในการรวมเอาดินแดนดั้งเดิมของตนคืน หรือวาดฝันถึงแผ่นดินอันยิ่งใหญ่ในวันข้างหน้า
 
=== ฟาสซิสต์ ===
{{บทความหลัก|ฟาสซิสต์}}
 
เส้น 55 ⟶ 57:
ฟาสซิสต์ได้มองกองทัพว่าเป็นสัญลักษณ์ของปวงชน ซึ่งประชาชนควรจะเอาเป็นเยี่ยงอย่าง หลายประเทศฟาสซิสต์จึงมีนักการทหารเป็นจำนวนมาก และการให้ความสำคัญแก่วีรบุรุษนี่เองที่เป็นอุดมคติของฟาสซิสต์ ในหนังสือ ''The Doctrine of Fascism'' ซึ่งเขียนโดยเบนิโต มุสโสลินี เขาประกาศว่า "ฟาสซิสต์ไม่ได้มีความเชื่อในความเป็นไปได้และประโยชน์ใดๆ ในสันติภาพนิรันดรแต่อย่างใด"<ref>[http://www.worldfuturefund.org/wffmaster/Reading/Germany/mussolini.htm]</ref> ฟาสซิสต์เชื่อว่าสงครามจะเป็นการทำให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมใหม่ และเริ่มเสาะแสวงหาสงคราม ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการุรกรานประเทศจาก[[ฝ่ายอักษะ]] ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง
 
=== ลัทธิโดดเดี่ยว ===
 
{{บทความหลัก|ลัทธิโดดเดี่ยว}}
เส้น 63 ⟶ 65:
ความรู้สึกของประชาชนในอังกฤษและฝรั่งเศสก็มีแนวคิดที่จะโดดเดี่ยวเช่นกัน และเบื่อหน่ายสงคราม นายเนวิล เชมเบอร์แลนด์ กล่าวถึงเชโกสโลวะเกียว่า: "โอ้ ช่างเลวร้ายและมหัศจรรย์เหลือเกินที่เราชาวอังกฤษไปขุดสนามเพลาะและพยายามใส่หน้ากากกันก๊าซพิษที่นั่น เพราะว่าความขัดแย้งอยู่ไกลจากตัวเรานัก ระหว่างคนสองจำพวกที่เราไม่รู้จัก ข้าพเจ้านั้นเป็นบุคคลแห่งสันติภาพมาจากส่วนลึกของวิญญาณของข้าพเจ้า" ภายในไม่กี่ปี โลกก็เข้าสู่[[สงครามเบ็ดเสร็จ]]
 
=== ลัทธินิยมทหาร ===
 
ความนิยมทางการทหารของผู้นำเยอรมนี ญี่ปุ่นและอิตาลี ได้นำไปสู่ความก้าวร้าวรุนแรง ประกอบกับที่กองทัพของทั้งสามประเทศนั้นถูกประเทศอื่นมองข้ามไป ดังที่เห็นได้จาก เยอรมนีประกาศเกณฑ์ทหารอีกครั้งในปี 1935 ด้วยเป้าหมายที่จะสร้างกำลังทหารขึ้นมาใหม่ และเป็นการขัดต่อ[[สนธิสัญญาแวร์ซายส์แวร์ซายส์ส์]]
 
=== ลัทธิชาตินิยม ===
 
ลัทธิ[[ชาตินิยม]] มีความเชื่อว่า คนชาติพันธุ์เดียวกันควรจะอยู่รวมกันทั้งในดินแดนเดียวกัน วัฒนธรรมเดียวกันและอยู่ร่วมกันทางมนุษยชาติ ผู้นำของเยอรมนี อิตาลีและญี่ปุ่นมักจะใช้แนวคิดดังกล่าวเพื่อให้ได้รับแรงสนับสนุนจากปวงชนในประเทศ ลัทธิฟาสซิสต์นั้นตั้งอยู่บนรากฐานของลัทธิชาตินิยม และคอยมองหา "รัฐชาติ" ที่รวมกันเป็นหนึ่งเดียวกัน ฮิตเลอร์และพรรคนาซีนำลัทธิชาตินิยมไปในเยอรมนี ซึ่งประชาชนเยอรมันได้มีศรัทธาอย่างแรงกล้า ในอิตาลี แนวคิดที่จะสร้างจักรวรรดิโรมันใหม่ขึ้นมาได้ดึงดูดชาวอิตาลีจำนวนมาก และในญี่ปุ่น ด้วยความทระนงในหน้าที่และเกียรติยศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง องค์จักรพรรดิ ได้ถูกเผยแพร่ในญีปุ่นมาเป็นเวลาหลายศตวรรษแล้ว
 
=== ลัทธิการแบ่งแยกเชื้อชาติ ===
 
{{บทความหลัก|นโยบายแบ่งแยกเชื้อชาติของพรรคนาซี}}
เส้น 79 ⟶ 81:
== ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและสภาพเศรษฐกิจของโลก ==
 
=== สนธิสัญญาแวร์ซายแวร์ซายส์ ===
 
{{บทความหลัก|สนธิสัญญาแวร์ซายแวร์ซายส์}}
 
สนธิสัญญาแวร์ซายแวร์ซายส์มิได้ประนีประนอมให้แก่เยอรมนีแต่อย่างใด ฝ่ายพันธมิตรผู้ชนะสงครามโลกครั้งที่หนึ่งได้พยายามทุกวิถีทางเพื่อป้องกันมิให้เยอรมนีกลับขึ้นมาท้าทายอำนาจในทวีปยุโรปอีกครั้ง
 
สนธิสัญญาแวร์ซายแวร์ซายส์ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนาหูว่าเป็นมลทินของสงคราม เพราะเป็นการโยนความผิดให้แก่[[จักรวรรดิเยอรมนี]]และ[[จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี]]เดิม และลงโทษอย่างหนักเพื่อเรียกร้องให้พวกเขารับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสงคราม โดยผู้ชนะสงครามได้หวังว่าสนธิสัญญานี้จะได้กลายเป็นสิ่งที่สามารถธำรงสันติภาพให้เกิดขึ้นในโลกได้ ผลที่ตามมมา คือ เยอรมนีจำเป็นต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามเป็นจำนวนมหาศาล การสูญเสียดินแดนอาณานิคมทั้งหมด การจัดระเบียบทางเชื้อชาติขนานใหญ่ หลังจากนั้น เศรษฐกิจเยอรมันก็ร่วงดิ่งลงไปอย่างหนัก อัตราเงินเฟ้อสูงลิบ [[สาธารณรัฐไวมาร์]]จำเป็นต้องพิมพ์ธนบัตรกว่าล้านล้านฉบับออกมาและต้องกู้ยืมเงินจำนวนมหาศาลจากสหรัฐอเมริกา เพื่อใช้หนี้แก่สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสซึ่งเป็นผู้ชนะในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
 
สนธิสัญญาแวร์วายนั้นก่อให้เกิดความขมขื่นแก่ประชาชนผู้แพ้สงคราม แม้ว่าฝ่ายพันธมิจตรผู้ชนะสงครามจะให้สัญญาแก่ประชาชนชาวเยอรมันว่าแนวทาง [[หลักการสิบสี่ข้อ]] ของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา [[วูดโรว์ วิลสัน]] จะเป็นแนวทางที่จะนำไปสู่สันติภาพ ชาวเยอรมันส่วนมากเข้าใจว่ารัฐบาลเยอรมันได้ตกลงในสนธิสัญญาสงบศึกตามความเข้าใจนี้ ขณะที่ส่วนอื่นได้เข้าใจว่า [[การปฏิวัติเยอรมนี]] ได้ถูกก่อขึ้นโดย "กลุ่มอาชญากรเดือนพฤศจิกายน" ผู้ซึ่งต่อมาในมีตำแหน่งในสภาของสาธารณรัฐไวมาร์ วิลสันนั้นไม่สามารถเชิญชวนให้ฝ่ายพันธมิตรยอมปฏิบัติตามข้อเสนอของเขา และไม่สามารถชักจูงให้[[รัฐสภาคองเกรสแห่งสหรัฐอเมริกา]]ให้ลงมติยอมเข้าร่วมกับ[[สันนิบาตชาติ]]
เส้น 91 ⟶ 93:
ฝ่ายพันธมิตรมิได้ครอบครองส่วนใดๆ ของเยอรมนี แม้ว่าจะมีการรบในแนวรบด้านตะวันตกมาเป็นเวลาหลายปี มีเพียงแต่อาณานิคมโพ้นทะเลของเยอรมนีเท่านั้นที่ถูกยึดครอง และอิตาลีก็ได้แคว้นทีรอลตอนใต้ไปหลังจากการเจรจาเริ่มต้น สงครามในแนวรบด้านตะวันออกทำให้[[จักรวรรดิรัสเซีย]]ล่มสลาย และทำให้เยอรมนีได้รับดินแดนมหาศาลทางยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก
 
ยังมีผู้ที่มองสนธิสัญญาแวร์ซายแวร์ซายส์ตรงกันข้ามว่าสนธิสัญญาดังกล่าวไม่ได้ทำให้เยอรมนีต้องประสบกับความยากลำบากมากแต่ประการใด เพราะว่าเยอรมนียังคงสามารถกลับมาเป็นชาติมหาอำนาจที่คอยท้าทายมหาอำนาจตะวันตกอีกครั้ง ซึ่งไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของฝ่ายพันธมิตร อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามมาภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ทำให้ผลของสนธิสัญญาแวร์ซายแวร์ซายส์ไม่กระจ่างชัด โดยเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุด คือ การแพร่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์ และสนธิสัญญาแวร์ซายแวร์ซายส์ก็เป็นหนึ่งในตัวการของการขึ้นสู่อำนาจของ[[พรรคนาซี]]
 
=== การแข่งขันทางเศรษฐกิจ ===
เส้น 167 ⟶ 169:
หลังจากการเลือกตั้งครั้งใหม่ พรรคนาซีได้ล้มล้าง[[ระบบรัฐสภา]] รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐไวมาร์ และล้มล้างรัฐสภาอย่างเต็มรูปแบบผ่าน [[ร่างกฎอนุมัติปี 1933]] เมื่อวันที่ [[23 มีนาคม]] ซึ่งพรรคนาซีวางแผน [[เกลอิชซชาลทุง]] และทำให้ถูกต้องตามกฎหมายในเยอรมนี ทำให้อำนาจการปกครองถูกรวมเข้าสู่ศูนย์กลาง คือ พรรคนาซี ใน "[[คืนแห่งมีดเล่มยาว]]" สมาชิกพรรคนาซีได้สังหารศัตรูทางการเมืองของฮิตเลอร์ หลังจากฮินเดนเบิร์กถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ [[2 สิงหาคม]] [[ค.ศ. 1934]] ตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งเยอรมนีตกเป็นของฮิตเลอร์ โดยไม่เกิดการต่อต้านจากผู้บัญชาการระดับสูง คำสาบานของเหล่าทหารนั้นหมายความว่า ทหารเยอรมันจะยอมเชื่อฟังอดอล์ฟ ฮิตเลอร์โดยสมบูรณ์
 
ต่อมา ฮิตเลอร์ได้ฝ่าฝืนสนธิสัญญาแวร์ซายและแวร์ซายส์และ[[สนธิสัญญาโลคาร์โน]] เยอรมนีได้[[การส่งทหารกลับเข้าประจำการในแคว้นไรน์แลนด์|ส่งทหารกลับเข้าประจำการในแคว้นไรน์แลนด์]] เมื่อวันที่ [[7 มีนาคม]] [[ค.ศ. 1936]] ซึ่งก็ได้รับความสำเร็จอย่างงดงาม กองทหารเยอรมันเดินทางโดยรถจักรยาน และสามารถถูกยับยั้งอย่างง่ายดายถ้าหากฝ่ายสัมพันธมิตรยกเลิกแผนการเอาใจฮิตเลอร์ ฝรั่งเศสไม่สามารถทำอะไรได้ในเวลานั้น เนื่องจากขาดเสถียรภาพทางการเมือง และอีกประการหนึ่ง คือ การส่งทหารกลับเข้าประจำการนั้นเกิดขึ้นในวันสุดสัปดาห์ และรัฐบาลอังกฤษยังไม่สามารถประชุมหารือกันได้จนกว่าจะถึงวันจันทร์ ผลที่ตามมา คือ อังกฤษก็มิได้ห้ามปรามเยอรมนีแต่อย่างใด
 
=== การรุกรานเอธิโอเปีย ===
เส้น 197 ⟶ 199:
=== การผนวกออสเตรีย ===
 
การผนวกออสเตรียเข้าสู่เยอรมนีในปี 1938 ตามประวัติศาสตร์แล้ว แนวคิดในการสร้างเยอรมนีอันยิ่งใหญ่นั้นก็ได้รับความนิยมในประเทศออสเตรียไม่แพ้กับในประเทศเยอรมนี ซึ่งได้ปรากฏว่าเพียงหลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง รัฐธรรมนูญของทั้งสองประเทศได้กำหนดให้ [[แคว้นเยอรมันออสเตรีย]] เป็นส่วนหนึ่งของเยอรมนี แต่ว่าการกระทำดังกล่าวได้รับการขัดขวางโดยสนธิสัญญาแวร์ซายแวร์ซายส์ เมื่อเวลาผ่านไป ชาวออสเตรียจำนวนมากก็ลืมเรื่องนี้ไป ในฐานะเช่นนี้ พรรคชาติสังคมนิยมแห่งออสเตรียและขบวนการชาตินิยมเยอรมนีแห่งออสเตรียได้พึ่งพาประเทศเยอรมนี นาซีเยอรมนีได้ทำให้พรรคนาซีแห่งออสเตรียถูกกฎหมาย ซึ่งพวกเขาได้มีส่วนสำคัญในการลอบสังหารอัครเสนาบดีแห่งออสเตรีย [[เอนเกลเบิร์ต ดอลฟัส]] และให้สมาชิกของพรรคนาซีแห่งออสเตรียหลายคนมีอำนาจในการบริหารประเทศ
 
หลังจากที่ฮิตเลอร์กล่าวสุนทรพจน์ที่รัฐสภาไรซ์ตาร์ก ผู้ที่สืบทอดตำแหน่งจากนายดอลฟัส คือ Kurt Schuschnigg ได้พูดอย่างชัดเจนว่า เขาไม่สามารถผลักดันได้ไกลกว่านี้อีก ท่ามกลางแรงกดดันมหาศาลจากนาซีเยอรมนี เขาจึงได้จัด[[การลงประชามติ]] ด้วยความหวังว่าออสเตรียจะยังรักษาเอกราชของตนไว้ได้ เพียงแต่ว่าหนึ่งวันก่อนหน้า พรรคนาซีแห่งออสเตรียสามารถก่อ[[รัฐประหาร]]สำเร็จ และขึ้นสู่อำนาจในออสเตรีย หลังจากการยึดอำนาจครั้งนี้ ฮิตเลอร์ได้ออกคำสั่งให้ทหารเยอรมันเดินเข้าสู่พื้นที่ และพรรคนาซีแห่งออสเตรียได้ถ่ายโอนอำนาจให้แก่นาซีเยอรมนีอย่างรวดเร็ว ชาวออสเตรียไม่ได้ลุกขึ้นมาต่อต้านเหตุการณ์ในครั้งนี้เลย เนื่องจากพวกเขามีความต้องการเช่นนี้อยู่แล้ว และออสเตรียสิ้นสุดการเป็นรัฐเอกราชอย่างสิ้นเชิง อังกฤษ ฝรั่งเศสและฟาสซิสต์อิตาลีซึ่งเคยมีต่อต้านแนวคิดการรวมชาตินี้อย่างรุนแรง ทว่าในตอนนี้กลับไม่ทำอะไรเลย แต่ที่สำคัญก็คือ ชาติเหล่านี้กลับทะเลาะกันเองและทำลายความมั่นคงของ[[แนวสเตรซา]] และเนื่องจากว่าอิตาลีไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องยอมรับการผนวกดินแดนครั้งนี้ด้วยความไม่ชอบใจ แต่อิตาลีไม่มีความจำเป็นใดที่จะต้องต่อต้านเยอรมนีอีก ต่อมา อิตาลีจึงเริ่มมีความใกล้ชิดกับพรรคนาซี