ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาษาถิ่นพิเทน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
ภาษาพิเทน ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น สำเนียงพิเทน
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงพิเทน''' เป็นภาษาถิ่นย่อยของ[[สำเนียงตากใบ|ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงตากใบ]]ที่ใช้อยู่ใน[[ตำบลพิเทน]] [[อำเภอทุ่งยางแดง]] และ[[ตำบลกะรุบี]] [[อำเภอกะพ้อ]] [[จังหวัดปัตตานี]] โดยสำเนียงพิเทนมีระบบวรรณยุกต์แตกต่างไปจากกลุ่มตากใบ และมีแนวโน้มว่า[[ภาษามลายูปัตตานี]]จะเข้าใช้แทนที่ในที่สุด<ref>http://dc.oas.psu.ac.th/dcms/files//01558/Chapter2 (25-60).pdf</ref> จากการศึกษาพบว่าภาษาถิ่นพิเทนและภาษามลายูปัตตานีมีคำยืมและคำใช้ด้วยกันถึง 97%<ref>http://soreda.oas.psu.ac.th/show_detail.php?research_id=64</ref>
 
== ลักษณะของของสำเนียงพิเทน ==
สำเนียงพิเทนเป็นรอยต่อระหว่าง[[ภาษาไทยถิ่นใต้]] กับสำเนียงตากใบ พร้อมกับอิทธิพลของภาษามลายูปัตตานีที่รายล้อม ทำให้สำเนียงพิเทนเกิดการผสมผสานระหว่างภาษาไทยถิ่นใต้กับภาษาตากใบ และได้นำคำมลายูปัตตานีมาใช้ จนภาษามลายูปัตตานีมีอิทธิพลมากต่อภาษาถิ่นพิเทน<ref>http://soreda.oas.psu.ac.th/show_detail.php?research_id=63</ref>
 
 
# ลักษณะโครงสร้างของคำ และการสร้างคำในภาษาไทยถิ่นใต้ตำบลพิเทนเพื่อนำมาเปรียบเทียบกับภาษาไทยมาตรฐาน จะเห็นได้ว่า
## ภาษาไทยถิ่นใต้ตำบลพิเทน มีโครงสร้างของคำพยางค์เดียว และคำสองพยางค์เหมือนกับภาษาไทยมาตรฐาน