ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วันงดสูบบุหรี่โลก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 97:
|| เตือน! ควันบุหรี่ฆ่าคุณ
|}
 
ความเป็นมา : เริ่มมีการจัดงานวันงดสูบบุหรี่โลกในวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ.1988 โดยองค์การอนามัยโลก เนื่องจากเล็งเห็นอันตรายของบุหรี่ต่อสุขภาพ ของผู้สูบบุหรี่และผู้ไม่สูบบุหรี่แต่ได้รับควันบุหรี่ การจัดงานวันงดสูบบุหรี่โลก ก็เพื่อกระตุ้นให้ผู้สูบบุหรี่เลิกสูบ และให้รัฐบาลชุมชนและประชากรโลก ตระหนักถึงความสำคัญและเข้าร่วมกิจกรรม
 
การสูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่เป็นประจำเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด ถุงลมโป่งพอง และโรคระบบทางเดินหายใจอื่น ๆ นอกจากนี้ยังส่งผลทำให้มีโอกาสเกิดโรคบางโรค มากกว่าผู้ที่ไม่ได้รับควันบุหรี่ เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง และโรคอื่น ๆ อีกหลายโรค บุหรี่ยังทำให้เสียทรัพย์โดยไม่จำเป็นอีกด้วย
 
องค์การอนามัยโลกระบุชัดเจนว่า การสูบบุหรี่ เป็นสาเหตุสำคัญของการป่วยและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ที่สามารถป้องกันได้ และกำหนดให้ วันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปีเป็นวันงดสูบบุหรี่โลก ( World No Tobacco Day) ซึ่งในปีนี้ ได้กำหนดประเด็นการรณรงค์เพื่อให้ทุกภาคส่วนดำเนินการไปในทิศทางเดียวกัน และให้บุคลากรสาธารณสุขมีส่วนร่วมในการรณรงค์ควบคุมการบริโภคยาสูบ ภายใต้คำขวัญว่า “Health Professionals Against Tobacco” หรือ “ ทีมสุขภาพร่วมใจ ขจัดภัยบุหรี่” โดยกระทรวงสาธารณสุขและเครือข่ายได้กำหนดให้ใช้ดอกลีลาวดีเป็นสัญลักษณ์ในการรณรงค์
 
โทษของการสูบบุหรี่
 
1. โรคมะเร็ง ในอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น มะเร็งที่ปาก ที่ลิ้น ที่กล่องเสียง แต่ที่เป็นมากที่สุดคือ มะเร็งปอด สมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา และกระทรวงสาธารณสุขแห่งสหรัฐอเมริกาได้รายงานผลวิจัย เมื่อ พ.ศ. 2521 ว่าผู้ที่สูบบุหรี่จัด มีโอกาสตายด้วยโรคมะเร็งมากกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ 20 เท่า
 
2. โรคทางเดินหายใจ ผู้สูบบุหรี่จัดมีอาการไอเรื้อรัง บางครั้งไอถี่มากจนไม่สามารถหลับนอนได้ แต่เมื่อหยุดสูบอาการจะบรรเทาและหายไปในที่สุด นอกจากนี้ทาร์ในควันบุหรี่จะสะสมอยู่ในปอด วันละเล็กวันละน้อย จนในที่สุดถุงลมปอดโป่งพองจนไม่สามารถหดตัวกลับได้ มีผลทำให้ปอดไม่สามารถแรกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนได้มากเท่าเดิมจึงทำให้หายใจขัด หอบ และหากเป็นเรื้อรังอาจทำให้ถึงแก่ความตายได้ง่ายเช่นเดียวกัน
นอกจากนี้ยังพบว่าการสูบบุหรี่ทำให้เป็นโรคอื่นได้อีกหลายอย่าง เช่น โรคกระเพาะอาหารเป็นแผล โรคความดันเลือดสูง โรคตับแข็ง โรคปริทนต์ โรคโพรงกระดูกอักเสบ เป็นต้น และยังส่งผลต่อบุคลิกภาพของผู้สูบบุหรี่อีกด้ว
 
== อ้างอิง ==