ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บันทึกเหตุการณ์ของชาวแองโกล-แซกซัน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mattis (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{ป้ายเตือนปีคศ}}
[[ภาพ:Peterborough.Chronicle.firstpage.jpg|thumb|270px|หน้าหนึ่งจากพงศาวดารแองโกล-แซ็กซอนฉบับ[[พงศาวดารปีเตอร์เบรอ]]]]
'''พงศาวดารแองโกล-แซ็กซอน''' ([[ภาษาอังกฤษ]]: Anglo-Saxon Chronicle) เป็นบันทึกหลายฉบับเขียนด้วยภาษา[[ภาษาอังกฤษโบราณ]]ที่บันทึกประวัติศาสตร์ของชน[[แองโกล-แซ็กซอน]] พงศาวดารขียนเขียนขึ้นราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 9 อาจจะที่เวสเซ็กซ์ในรัชสมัยของ[[พระเจ้าอัลเฟรดมหาราช]] หลังจากนั้นต้นฉบับก็ถูกส่งไปตามสำนักสงฆ์ต่างๆ ทั่วอังกฤษ แต่ละสำนักสงฆ์ต่างก็แก้ไขเพิ่มเติมต่อมาเรื่อยๆ ในกรณีหนึ่งบันทึกถูกเพิ่มเติมมาจนถึงปี [[ค.ศ. 1154]]
 
ในปัจจุบันพงศาวดารแองโกล-แซ็กซอนมีเหลืออยู่ 9 ฉบับทั้งสมบูรณ์และเหลือแต่บางส่วน คุณค่าของแต่ละฉบับก็ต่างกันใน 9 ฉบับนี้ไม่มีฉบับใดที่เป็นฉบับดั้งเดิมแท้ๆ ฉบับที่เก่าที่สุดสันนิษฐานกันว่าเริ่มเขียนราวปลายรัชสมัยของพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช และฉบับล่าสุดเป็นฉบับที่เขียนที่[[มหาวิหารปีเตอร์เบรอห์|แอบบีปีเตอร์เบรอห์]]หลังจากไฟใหม้แอบบีในปี [[ค.ศ. 1116]] เนึ้อหาของพงศาวดารเป็นการบันทึกเหตุการณ์ประจำปี เหตุการณ์ปีแรกที่สุดที่บันทึกคือปี 60 ก่อนคริสต์ศักราชมาจนถึงปีที่เขียน ต่อจากนั้นเนื้อหาก็เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยของการเขียน บันทึกต่างๆ เหล่านี้เรียกรวมกันว่า “พงศาวดารแองโกล-แซ็กซอน”
 
เนื้อหาของพงศาวดารไม่เป็นกลางนักในบางบันทึกเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับเอกสารจากสมัยกลางอื่นๆ จะพบว่าผู้เขียนละเว้นเหตุการณ์บางเหตุการณ์ หรือเขียงจากมุมมองของผู้เขียน หรือบางฉบับก็จะแตกต่างจากฉบับอื่นเมื่อกล่าวถึงเหตุการณ์เดียวกันหรือข้อมูลที่บันทึกขัดแย้งกันเอง แต่เมื่อพิจารณาโดยทั่วไปแล้วพงศาวดารเป็นหลักฐานชิ้นที่สำคัญที่สุดทางประวัติศาสตร์ระหว่างสมัยโรมันหมดอำนาจในอังกฤษไปจนถึง[[ชัยชนะของชาวนอร์มันต่ออังกฤษ|นอร์มันรุกรานอังกฤษ]] ข้อมูลที่บันทึกในพงศาวดารไม่พบในเอกสารอื่นใด นอกจากนั้นพงศาวดารยังเป็นเอกสารชิ้นสำคัญของประวัติศาสตร์ภาษาอังกฤษโดยเฉพาะฉบับที่เขียนที่ปีเตอร์เบรอซึ่งเป็นตัวอย่างแรกที่สุดของ[[ภาษาอังกฤษสมัยกลาง]]
 
เจ็ดในเก้าฉบับปัจจุบันเก็บรักษาไว้[[หอสมุดแห่งชาติอังกฤษ]] (British Library) อึกสองฉบับอยู่ที่หอสมุดบอดเลียนของ[[มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด]]และวิทยาลัยคอร์พัสคริสติของ[[มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ]]
บรรทัด 13:
 
พงศาวดารฉบับที่เก่าที่สุด--พงศาวดารวินเชสเตอร์--ที่คัดโดยผู้คัดคนเดียวจนกระทั่งปี ค.ศ. 891 บรรทัดต่อมาผู้คัดบันทึกปีว่าเป็น “DCCCXCII” บนขอบหน้า หลังจากนั้นเนื้อหาก็ได้รับการบันทึกโดยผู้เขียนหลายคน<ref name=MS_xxi>Swanton, ''The Anglo-Saxon Chronicle'', pp. xxi–xxviii.</ref> ซึ่งทำให้เชื่อว่าเนื้อหาเขียนก่อนปี ค.ศ. 892 เนื้อหาต่อมาเขียนโดยสังฆราช[[แอสเซอร์]]ในงานชื่อ “พระราชประวัติของพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช” ที่เขียนในปี ค.ศ. 893.<ref name=KL_55>Keynes & Lapidge, ''Alfred the Great'', p. 55</ref> เป็นที่ทราบกันว่าพงศาวดารวินเชสเตอร์เป็นฉบับที่ห่างจากฉบับดั้งเดิมมาสองทอด ฉะนั้นจึงไม่มีหลักฐานที่พิสูจน์ได้ว่าเป็นพงศาวดารที่รวบรวมในวินเชสเตอร์<ref name=CampbellTAS158>See P. Wormald, "Alfredian Manuscripts", p. 158, in Campbell ''& al.'', ''The Anglo-Saxons''.</ref> และยากที่จะบ่งเป็นที่แน่นอนว่าเขียนเมื่อใดแต่เชื่อกันว่าเขียนขึ้นในรัชสมัยของ[[พระเจ้าอัลเฟรดมหาราช]] เพราะการทรงพยายามฟื้นฟูการศึกษาและวัฒนธรรม และการทรงส่งเสริมการเผยแพร่การใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาเขียน
 
 
== อ้างอิง ==
เส้น 22 ⟶ 21:
* [[ราชวงศ์เวสเซ็กซ์]]
* [[เจ็ดอาณาจักร]]
 
 
{{โครงประวัติศาสตร์}}