ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ค่าปฏิกรรมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 9:
ต่อมา [[แผนการดอวส์]] ในปี [[ค.ศ. 1924]] ได้ปรับเปลี่ยนการจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามของเยอรมนีใหม่ ซึ่ง [[โอเวน ดี. ยัง]] และ [[ซีย์มูร์ พาร์กเกอร์ กิลเบิร์ต]] ได้รับมอบหมายให้มาดูแลแผนการดังกล่าว ในเดือนพฤษภาคม [[ค.ศ. 1929]] [[แผนการยัง]]ได้ลดปริมาณค่าปฏิกรรมสงครามลงอีกเหลือ 112,000 ล้านมาร์ก (คิดเป็น 28,350 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ) ภายในเวลา 58 ปี นอกจากนั้น แผนการยังกำหนดให้แบ่งการจ่ายประจำปีลงเหลือปีละ 2,000 ล้านมาร์ก (คิดเป็น 473 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ) โดยหนึ่งส่วนให้ต้องจ่ายให้หมดอย่างไม่มีเงื่อนไข ส่วนอีกสองส่วนเป็นส่วนที่สามารถยืดเวลาชำระออกไปได้
 
อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ตลาดหุ้นวอลสตรีทล่มและ[[ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่]] ทำให้มีการประกาศพักชำระหนี้ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 1931 เนื่องจากเห็นว่าเยอรมนีและออสเตรียใกล้จะประสบกับภาวะเศรษฐกิจล่มสลาย ประธานาธิบดีฮูเวอร์จึงได้เลื่อนการชำระค่าปฏิกรรมสงครามและหนี้ระหว่างรัฐบาลออกไปเป็นเวลาหนึ่งปี ซึ่งอังกฤษยอมรับข้อเสนอดังกล่าว แต่ได้รับการต่อต้านอย่างแข็งขันและการผัดเวลาออกไปสิบเจ็ดวัน โดย[[อันเดร ตาร์ดีเยอ]]แห่งฝรั่งเศส ระหว่างช่วงพักชำระหนี้ ในเยอรมนีได้ประสบกับสภาวะเงินเฟ้ออย่างหนัก ทำให้สูญเงินไปกว่า 300 ล้านดออล่าร์สหรัฐ ส่งผลให้ธนาคารทุกแห่งปิดตัวลงในช่วงเวลาหนึ่ง
 
== มุมมองของชาวเยอรมัน ==