ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฉันทลักษณ์ (กวีนิพนธ์ไทย)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ย้อนด้วยมือ
บรรทัด 1:
{{เพิ่มอ้างอิง}}
{{ฉันทลักษณ์ไทย}}
'''ฉันทลักษณ์''' หมายถึง ลักษณะบังคับของคำประพันธ์ไทย ซึ่ง[[กำชัย ทองหล่อ]]ให้ความหมายไว้ว่า '''ฉันทลักษณ์''' คือตำราที่ว่าด้วยวิธีร้อยกรองถ้อยคำหรือเรียบเรียงถ้อยคำให้เป็นระเบียบตามลักษณะบังคับและบัญญัติที่นักปราชญ์ได้ร่างเป็นแบบไว้ ถ้อยคำที่ร้อยกรองขึ้นตามลักษณะบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์ เรียกว่า ''คำประพันธ์''<ref name=kamchai>กำชัย ทองหล่อ. '''หลักภาษาไทย'''. รวมสาส์น (1977) : กรุงเทพฯ, 2545.</ref> และได้ให้ความหมายของ ''คำประพันธ์'' คือถ้อยคำที่ได้ร้อยกรองหรือเรียบเรียงขึ้น โดยมีข้อบังคับ จำกัดคำและวรรคตอนให้รับสัมผัสกัน ไพเราะ ตามกฎเกณฑ์ที่ได้วางไว้ในฉันทลักษณ์ โดยแบ่งเป็น 7 ชนิด คือ [[โคลง]] [[ร่าย]] [[ลิลิต]] [[กลอน]] [[กาพย์]] [[ฉันท์]] [[กลบท|กล]] ซึ่งก็คือ [[ร้อยกรอง|ร้อยกรองไทย]] นั่นเอง
 
ร้อยกรองไทยมีความหมาย 2 นัย นัยหนึ่งหมายถึงการแต่งหนังสือดีให้มีความไพเราะ อีกนัยหนึ่งหมายถึงถ้อยคำที่เรียบเรียงให้เป็นระเบียบตามบทบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์ ทั้งนี้ ยังมีอีกหลายคำที่มีความหมายทำนองเดียวกัน เช่น [[กวีนิพนธ์]] บทกวี บทประพันธ์ กวีวัจนะ ลำนำ บทกลอน กาพย์กลอน กลอนกานต์ กานต์ รวมทั้งคำว่าฉันท์ กาพย์และกลอนด้วย<ref name=kapkanlon>กรมศิลปากร. ครรภครรลองร้อยกรองไทย. กรุงเทพฯ, 2545.</ref> บทความนี้มุ่งให้ความรู้เรื่องลักษณะบังคับของร้อยกรองไทยเป็นสำคัญ เพื่อเป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจคำประพันธ์ไทยต่อไป
 
== ตำราฉันทลักษณ์ไทย ==
เส้น 17 ⟶ 18:
== การแบ่งฉันทลักษณ์ ==
 
'''สุภาพร มากแจ้ง'''<ref name=supaporn>สุภาพร มากแจ้ง. กวีนิพนธ์ไทย 1. กรุงเทพฯ, โอเดียนสโตร์, 2535.</ref> ได้วิเคราะห์ฉันทลักษณ์ร้อยกรองไทยไว้อย่างละเอียดใน ''กวีนิพนธ์ไทย''
 
ซึ่งกล่าวว่าการแบ่งฉันทลักษณ์อย่างแคบและนิยมใช้อยู่ทั่วไปจะได้ 5 ชนิดใหญ่ ๆ แต่หากรวมคำประพันธ์ท้องถิ่นเข้าไปด้วยจะได้ 10 ชนิดใหญ่ ๆ ได้แก่
# [[โคลง]]
# [[ฉันท์]]
# [[กาพย์]]
# [[กลอน]]
# [[ร่าย]]
# [[กานต์]]
# [[ค่าว]]
# [[กาพย์ (เหนือ)]]
# [[กาบ (อีสาน)]]
# [[กอน (อีสาน)]]
 
คำประพันธ์ทั้ง 10 ชนิดนี้ ถ้านำมาแบ่งตามลักษณะบังคับร่วมจะได้ 2 กลุ่มคือ
เส้น 58 ⟶ 59:
=== คณะ ===
* '''คณะ''' กล่าวโดยทั่วไปคือแบบบังคับที่วางเป็นกำหนดกฎเกณฑ์ไว้ว่า คำประพันธ์ชนิดนั้น จะต้องมีเท่านั้นวรรค เท่านั้นคำ และต้องมีเอกโท ครุลหุตรงนั้นตรงนี้
* แต่สำหรับใน '''[[ฉันท์]]''' คำว่า '''คณะ''' มีความหมายแคบ คือหมายถึง ลักษณะที่วางคำเสียงหนัก เสียงเบา ที่เรียกว่า ครุ ลหุ และแบ่งออกเป็น 8 คณะ คณะหนึ่งมีคำอยู่ 3 คำ เรียง ครุ ลหุ ไว้ต่างๆ กัน
 
คณะทั้ง 8 นั้น คือ '''ย ร ต ภ ช ส ม น''' ชื่อคณะทั้ง 8 นี้ เป็นอักษรที่ย่อมาจากคำเต็ม คือ
เส้น 70 ⟶ 71:
: น มาจาก นภ แปลว่า ฟ้า
 
กำชัย<ref name="kamchai">กำชัย ทองหล่อ. '''หลักภาษาไทย'''. รวมสาส์น (1977) : กรุงเทพฯ, 2545.</ref> ได้แต่งคำคล้องจองไว้สำหรับจำ '''คณะ''' ไว้ดังนี้
: ย ยะยิ้มยวน (ลหุ-ครุ-ครุ)
: ร รวนฤดี (ครุ-ลหุ-ครุ)
เส้น 190 ⟶ 191:
 
== ขนาด ==
ฉันทลักษณ์ในงาน[[ร้อยกรอง]] มีขนาดลดหลั่นกัน ดังนี้ คือ บท → บาท → วรรค → คำ เฉพาะในคำประพันธ์ประเภทกลอน มักเรียกว่า ''คำกลอน'' แทนคำว่า บาท
 
คำประพันธ์ส่วนใหญ่ กำหนด 1 บท เป็น 2 บาท และ 1 บาท เป็น 2 วรรค แต่ยังมีคำประพันธ์อีกไม่น้อย ที่กำหนดบาทแตกต่างไปจากนี้ โดยแต่ละบาทจะมีชื่อเรียกกำกับ ว่า '''บาทเอก''' ''' บาทโท''' ''' บาทตรี''' ''' บาทจัตวา''' บางครั้งอาจใช้จำนวนนับแทน เช่น '''บาทที่หนึ่ง''' '''บาทที่สอง''' เป็นต้น
เส้น 196 ⟶ 197:
== อ้างอิง ==
<references/>
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
* http://thaiarc.tu.ac.th/poetry/poemt.html
* http://klon.thailandschool.org/category/ฉันทลักษณ์/ {{Webarchive|url=https://web.archive.org/web/20131030000056/http://klon.thailandschool.org/category/%E0%B8%89%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B9%8C/ |date=2013-10-30 }}
 
[[หมวดหมู่:ฉันทลักษณ์| ]]