ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 20:
'''รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560''' เป็น[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย]] ฉบับที่ 20 มีที่มาจากการตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2558 เพื่อจัดทำร่างฯ ฉบับใหม่ ประกอบด้วยสมาชิก 21 คน มี[[มีชัย ฤชุพันธุ์]] เป็นประธาน<ref name="Laws15"/> เมื่อร่างเสร็จแล้ว มี[[การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญไทย พ.ศ. 2559|การลงประชามติ]]ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2559 ซึ่งผู้มาใช้สิทธิร้อยละ 61.35 เห็นชอบ [[พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ทรงลงพระปรมาภิไธยในร่างรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2560 หลังมีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับผ่านประชามติตามพระบรมราชวินิจฉัย
 
รัฐธรรมนูญฉบับนี้ถูกวิจารณ์ว่าเป็นการสืบทอดอำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีสมาชิกวุฒิสภาจำนวน 250 คนที่มาจากการแต่งตั้งหรือคัดเลือกโดย คสช. ทั้งหมด การรณรงค์ให้ความรู้และให้ลงมติคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญถูกปิดกั้น และคำถามพ่วงในประชามติมีความซับซ้อนเข้าใจยาก ซึ่งมีผลให้สมาชิกวุฒิสภามีอำนาจร่วมลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีได้เช่นเดียวกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ส่วนเนื้อหาอื่น เช่น การแก้ไขให้ "สิทธิ" หลายประการของประชาชนกลายเป็น "หน้าที่" ของรัฐ ตลอดจนบทเฉพาะกาลที่รับรองบรรดาประกาศและคำสั่งของ คสช.
 
รัฐธรรมนูญฉบับนี้ถูกวิจารณ์และมีการเรียกร้องให้แก้ไขเพิ่มเติมอยู่หลายครั้ง แต่จนถึงปัจจุบันยังมีการแก้ไขเพิ่มเติมเพียงครั้งเดียวเพื่อเปลี่ยนระบบการเลือกตั้ง ส่วนประเด็นยกเลิกวุฒิสภาจากการแต่งตั้งซึ่งเป็นข้อเรียกร้องสำคัญข้อหนึ่งของ[[การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564]] ไม่ผ่านการพิจารณาของรัฐสภา
ในช่วง[[การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563]] มีข้อเรียกร้องให้ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ ในเดือนกันยายน 2563 มีการเสนอญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญรวม 6 ญัตติ และในวันที่ 24 กันยายน 2563 รัฐสภามีมติตั้งคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อนรับหลักการ
 
== ประวัติ ==
บรรทัด 141:
 
== ความพยายามแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ==
การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นข้อเรียกร้องของผู้ประท้วงใน[[การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 25632563–2564]] ตั้งต่อข้อเรียกร้องสามประการที่เสนอต่อรัฐบาลในวันที่ 18 กรกฎาคม 2563 มีการเสนอญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจำนวน 6 ญัตติทั้งจากรัฐบาลผสมและพรรคร่วมฝ่ายค้าน มีการอภิปรายร่วมของรัฐสภาและลงมติในวันที่ 24 กันยายน 2563 ในวันดังกล่าว รัฐสภามีมติตั้งคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อนรับหลักการ อันเป็นผลให้เลื่อนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญออกไปอย่างน้อย 1 เดือน<ref>{{cite news |title=รัฐสภายืด “เปิดสวิตช์แก้ รธน.” |url=https://www.bbc.com/thai/thailand-54278557 |accessdate=25 September 2020 |work=BBC ไทย |language=th}}</ref> หลังจากนั้นมีการลงมติรับร่างรัฐธรรมนูญในวาระหนึ่ง ซึ่งเป็นร่างของพรรคเพื่อไทยและพรรคพลังประชารัฐ ซึ่งจะไม่แก้ไขรัฐธรรมูญหมวด 1 และหมวด 2 และไม่ยุ่งเกี่ยวกับอำนาจของสมาชิกวุฒิสภาในการร่วมเลือกตั้งนายกรัฐมนตรี ส่วนร่างที่ไอลอว์รวบรวมรายชื่อกว่า 1 แสนรายชื่อถูกตีตก
 
{{pquote|ขออวยพรให้ท่านอายุยืนเพียงพอที่จะเห็นความพยายามของท่านล่มสลายไม่มีชิ้นดี เห็นความต้องการของท่านถูกบดขยี้ด้วยกงล้อของเวลาที่เดินหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง และได้มีโอกาสรับรู้ด้วยตา ด้วยหู ของท่านเอง ว่าผู้คนและยุคสมัยจะตราหน้าพวกท่าน ว่าอย่างไรไว้ในประวัติศาสตร์ของชาติเรา|[[พิธา ลิ้มเจริญรัตน์]]<ref>{{cite news |title=“พิธา” ปลุกปิดสวิตช์ ส.ว.รื้อระบอบ “บิ๊กตู่” ชี้ นักการเมืองแค่เด็กขี่ม้า เจ้าของสั่งได้ทุกเมื่อ |url=https://mgronline.com/politics/detail/9640000061149 |accessdate=25 June 2021 |work=ผู้จัดการ |date=24 June 2021 |language=en-th}}</ref>}}
 
ในเดือนมีนาคม 2564 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะต้องผ่านการลงประชามติ 2 ครั้ง เพื่อให้ความเห็นชอบว่าจะให้มีการแก้ไข และให้ความเห็นชอบต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่เสนอ<ref>{{cite news |title=ศาลรัฐธรรมนูญชี้สภามีอำนาจร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่ต้องทำประชามติ |url=https://www.bbc.com/thai/thailand-56345791 |accessdate=25 June 2021 |work=BBC ไทย |language=th}}</ref> หลังจากนั้น รัฐสภาลงมติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญในวาระสาม (ซึ่งมีเรื่องการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ)<ref>{{cite news |title=มติรัฐสภาโหวตคว่ำร่างแก้ไข รธน. วาระ 3 |url=https://www.bbc.com/thai/thailand-56425371 |accessdate=25 June 2021 |work=BBC ไทย |language=th}}</ref>