ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 121:
นอกจากนี้ แม้รัฐธรรมนูญกำหนดให้พรรคการเมืองเปิดเผยชื่อบุคคลที่จะเสนอเป็นนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 88 แต่มาตรา 272 เปิดช่องให้รัฐสภาพิจารณาบุคคลนอกบัญชีที่พรรคการเมืองเสนอมาได้ อีกทั้ง ส.ว. ชุดแรกซึ่งมีวาระ 5 ปียังมีอำนาจลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 272 ได้ หมายความว่า ส.ว. ดังกล่าวจะมีอำนาจลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีได้ 2 คน (หากคิดวาระคนละ 4 ปี)<ref name="bbc"/>
 
=== ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ===
การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้แผนระยะยาวและมีสภาพบังคับทางกฎหมายเป็นครั้งแรกที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในรัฐธรรมนูญฉบับใดถูกกล่าวหาว่าเป็นเครื่องมือในการสืบทอดอำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์พบว่า ตัวยุทธศาสตร์ชาติต้องการแก้ปัญหาความไม่ต่อเนื่องของนโยบายของรัฐจากความไร้เสถียรภาพทางการเมือง แต่การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติดังกล่าวเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ถูกจุดเนื่องจากปัญหาทางการเมืองไทยล้วนเกิดจากการแทรกแซงจากกองทัพและชนขั้นนำ<ref>อภิชาติ คุณวัฒน์บัณฑิต. [http://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:165890 อภิชาติ คุณวัฒน์บัณฑิต.“ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติของประเทศไทย.] วิทยานิพนธ์ศิลปศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2561.] </ref> ตัวยุทธศาสตร์ชาติต้องการแก้ปัญหาความไม่ต่อเนื่องของนโยบายของรัฐอันมีสาเหตุจากการที่รัฐบาลมักจะอยู่วาระไม่ครบเทอม แต่การแก้ปัญหาด้วยวิธีการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติดังกล่าวเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ถูกจุดเนื่องจากปัญหาทางการเมืองไทยล้วนเกิดจากการแทรกแซงจากกองทัพและชนขั้นนำ และในทางทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองย่อมหมายถึงการเปลี่ยนแปลง[[เจตจำนงแห่งรัฐ]]ที่ประชาชนแสดงความต้องการเปลี่ยนไปในแต่ละห้วงเวลา ในทางกลับกัน การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติจึงเป็นผลสะท้อนจากความไม่เข้าใจในหน้าที่ของตัวเองของข้าราชการประจำที่มีบทบาทในการสร้างความต่อเนื่องในตัวนโยบาย ขณะที่บทบาทของข้าราชการการเมืองคือการพัฒนานโยบายให้ทันต่อความต้องการของประชาชนอยู่เสมอ
 
{{โครงส่วน}}