ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตัวอ่อน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 7:
 
ตัวอ่อนมักมีการปรับเปลี่ยนเพื่ออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ต่างจากของตัวเต็มวัย ตัวอ่อนบางชนิดเช่นลูกอ๊อดอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำแทบจะตลอด แต่สามารถอาศัยอยู่นอกแหล่งน้ำได้เมื่อเจริญเป็นกบตัวเต็มวัย ตัวอ่อนจะได้รับที่หลบภัยจากผู้ล่าและลดการแข่งขันแย่งทรัพยากรกับประชากรตัวเต็มวัย จากการที่อาศัยในสิ่งแวดล้อมที่ต่างกัน
 
สัตว์ในระยะตัวอ่อนจะกินอาหารเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนผ่านไปสู่ตัวเต็มวัย สิ่งมีชีวิตบางชนิดเช่นโพลีคีตและเพรียงมีตัวเต็มวัยที่ไม่สามารถเคลื่อนที่แต่มีตัวอ่อนที่เคลื่อนที่ได้ และใช้ระยะตัวอ่อนเพื่อแพร่กระจายตัว
 
ตัวอ่อนบางชนิดต้องอาศัยตัวเต็มวัยคอยป้อนอาหารให้ แมลงพวก Hymenoptera ที่มีกลุ่มสังคมแท้หลายชนิดมีตัวอ่อนที่ตัวเมียวรรณะคนงาน (worker) คอยป้อนอาหารให้ Ropalidia marginata (ต่อกระดาษ) ตัวผู้สามารถทำหน้าที่ป้อนอาหารตัวอ่อนได้ แต่ประสิทธิภาพด้อยกว่า โดยใช้เวลามากกว่าในการหาอาหารแต่กลับได้อาหารปริมาณน้อยกว่า
 
 
 
[[หมวดหมู่:ชีววิทยาการเจริญ]]